Living Library: "ห้องสมุดพูดได้" กับหนังสือที่อยากเปิดหน้าใหม่แห่งความเข้าใจ

Living Library: "ห้องสมุดพูดได้" กับหนังสือที่อยากเปิดหน้าใหม่แห่งความเข้าใจ

'ห้องสมุดพูดได้' ให้คุณร่วม 'พูดคุย' กับเหล่าอาสาเป็นหนังสือที่พร้อมเปิดใจแบ่งปันเรื่องราวชีวิตของตัวเองให้ 'ผู้อ่าน' ได้เข้าใจ พร้อมตอบทุกคำถามที่ผู้อ่านสงสัยในระหว่างบรรทัด 

ถ้าคุณเคยอ่านหนังสือสักเล่มที่เปิดมุมมองใหม่ๆ แล้วรู้สึกอยากขุดคุ้ยใจความบางอย่างบนหน้ากระดาษให้ลึกลงไป คุณจะทำได้ที่ห้องสมุดแห่งนี้

Global Shapers Bangkok ร่วมกับ C asean, สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (Thailand institute of justice; TIJ), Vulcan Coalition และเพจ Humans of Autism ร่วมกันสร้างสรรค์พื้นที่พิเศษที่เรียกว่า "ห้องสมุดพูดได้" ที่คุณจะได้พบปะพูดคุยกับ "หนังสือพูดได้" หรือเหล่าอาสาสมัครจากหลากหลายขอบมุมสังคม ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นตัวแทนของกลุ่มคนที่มักถูกสังคมมองข้ามหรือเข้าใจผิด 

พวกเขาอาสาเป็นหนังสือที่พร้อมเปิดใจแบ่งปันเรื่องราวชีวิตของตัวเองให้ “ผู้อ่าน” ได้เข้าใจให้ลึกซึ้งลงไปกว่า “หน้าปก” ที่ใครๆ คุ้นชิน พร้อมทั้งตอบทุกคำถามที่ผู้อ่านสงสัยในระหว่างบรรทัด 

Living Library: \"ห้องสมุดพูดได้\" กับหนังสือที่อยากเปิดหน้าใหม่แห่งความเข้าใจ Living Library: \"ห้องสมุดพูดได้\" กับหนังสือที่อยากเปิดหน้าใหม่แห่งความเข้าใจ

"ห้องสมุดพูดได้" เกิดขึ้นกลางเมือง ณ C asean สามย่าน มิตรทาวน์ เป็นเวลา 2 วัน คือวันเสาร์ที่ 21 กันยายน และวันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน 2567 ทั้งชั้นมีหนังสือให้ผู้อ่าน “ฟัง” และ “พูด” ด้วยจำนวน 6 เล่ม 6 เรื่องราวอันเป็นเอกลักษณ์ ได้แก่

  1. คนไทยพุทธผู้เปลี่ยนไปนับถือนิกายมอร์มอน 
  2. คนไร้สัญชาติ ผู้เกิดและโตในเมืองไทย
  3. เควียร์ผู้มีความรักแบบโพลีอะมอรี (Polyamory) 
  4. บุคคลที่อยู่บนสเปกตรัมออทิสซึม
  5. ผู้มีความบกพร่องทางการมองเห็น
  6. อดีตผู้ต้องขังที่กลับมาตั้งต้นดี

ก่อนเข้าไปคุยกับ "หนังสือ" แต่ละเล่ม ผู้ที่มาห้องสมุดจะได้รับของว่างจาก "ครัวตั้งต้นดี" ซึ่งเป็นโครงการฝึกอาชีพให้กับอดีตผู้ต้องขังที่ดำเนินการโดย TIJ ขนมกล่องเล็กช่วยแสดงให้เห็นวัตถุประสงค์ของงานอันเป็นรูปธรรมตั้งแต่หน้าประตู นั่นคือทุกคนสามารถเรียนรู้ที่จะยอมรับความแตกต่างและช่วยสนับสนุนในการสร้างสังคมสำหรับทุกคนได้

Living Library: \"ห้องสมุดพูดได้\" กับหนังสือที่อยากเปิดหน้าใหม่แห่งความเข้าใจ Living Library: \"ห้องสมุดพูดได้\" กับหนังสือที่อยากเปิดหน้าใหม่แห่งความเข้าใจ

เมื่อผู้อ่านได้เข้าไปพบกับเหล่าหนังสือ พวกเขาจะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และโต้ตอบกับอาสาสมัครอย่างเปิดกว้างเป็นเวลา 30 นาที การจัดกิจกรรมพูดคุยกันต่อหน้าช่วยทำให้ผู้เข้าร่วมได้เห็นโลกในมุมที่อาจไม่เคยนึกถึงมาก่อน สร้างความเข้าใจและความเห็นอกเห็นใจต่อเรื่องราวของ "หนังสือพูดได้" อย่างเต็มที่ รวมถึงช่วยลดอคติบางอย่างที่อาจมีให้จางลงไป

เมื่อปิดหนังสือ ลุกขึ้นจากเก้าอี้ ห้องสมุดยังมีพื้นที่ให้ผู้คนได้แสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นการเขียนข้อความแปะบนบอร์ดตามอัธยาศัยของแต่ละคน หรือการมีพื้นที่พูดคุยสำหรับผู้มาร่วมงานด้วยกันเอง

Living Library: \"ห้องสมุดพูดได้\" กับหนังสือที่อยากเปิดหน้าใหม่แห่งความเข้าใจ

Living Library: \"ห้องสมุดพูดได้\" กับหนังสือที่อยากเปิดหน้าใหม่แห่งความเข้าใจ

กิจกรรม "ห้องสมุดพูดได้" ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม โดยได้สร้าง 55 บทสนทนาที่เปี่ยมไปด้วยความหมายให้เกิดขึ้นจริง และอาจกระตุ้นให้มีอีกหลากหลายบทสนทนาจุดประกายขึ้นได้ต่อ ไม่ว่าจะเป็นการนำเรื่องราวไปสนทนาต่อในกลุ่มเพื่อน ครอบครัว หรือนำความเข้าใจใหม่ที่ไม่มีอคติเหล่านี้ไปคิดต่อยอดในงานของผู้เข้าร่วมแต่ละท่าน เพราะผู้อ่านที่มาร่วมงาน มีทั้งคุณครู อาจารย์ นักวิจัย นักออกแบบนโยบาย นักออกแบบผลิตภัณฑ์ นักออกแบบประสบการณ์ ฯลฯ ทุกคนต่างเป็นใครบางคนที่เกี่ยวโยงกับสังคม ที่จะช่วยผลิตสินค้า หรือส่งต่อแนวคิดที่จะออกมาสู่พื้นที่ที่ที่เราใช้ร่วมกัน 

เป็นอีกหนึ่งจุดเริ่มต้นเล็กๆ ของการลดอคติ เปิดใจยอมรับความแตกต่าง และสร้างสังคมที่เข้าใจกันมากขึ้น  

Living Library: \"ห้องสมุดพูดได้\" กับหนังสือที่อยากเปิดหน้าใหม่แห่งความเข้าใจ Living Library: \"ห้องสมุดพูดได้\" กับหนังสือที่อยากเปิดหน้าใหม่แห่งความเข้าใจ Living Library: \"ห้องสมุดพูดได้\" กับหนังสือที่อยากเปิดหน้าใหม่แห่งความเข้าใจ