18 มิ.ย. 2562 | 18:15 น.
ปริมาณของสัตว์จรจัดที่นับวันยิ่งเพิ่มจำนวน กับภาระการดูแลสัตว์จรมาตลอด 14 ปี ทำให้การรับผิดชอบปัญหาสัตว์จรจัดร่วมกันของสังคม กลายเป็นประเด็นสำคัญที่ อนันต์ธรณ์ วินิจเถาปฐม ผู้ดูแลและประชาสัมพันธ์ของบ้านนางฟ้าของสัตว์จรอยากส่งต่อให้แก่คนในสังคม อนันต์ธรณ์เล่าให้ The People ฟังถึงเส้นทางการช่วยเหลือสัตว์จร ตั้งแต่วันที่คุณแม่ของเขา “กวิพร วินิจเถาปฐม” ตัดสินใจก่อตั้งบ้านนางฟ้าขึ้น รวมถึงปัญหาสัตว์จรจัดในเมืองไทยที่ยังขาดวิธีแก้อย่างยั่งยืน The People: จุดเริ่มต้นของบ้านนางฟ้าของสัตว์จร เริ่มมาจากอะไร
อนันต์ธรณ์: เริ่มต้นโดยที่คุณแม่นี่แหละเป็นคนเข้าไปช่วยหมาแมวจรจัดที่เจอข้างถนน ก่อนหน้านี้เราไม่เคยมีสัตว์เลี้ยงเลย จนคุณแม่ซื้อชิสุมาเลี้ยงตัวแรก เราก็ดูแลเขาอย่างดีเพราะเขาก็เป็นหมาในบ้านที่เรารักกัน พอคุณแม่ไปเห็นหมาแมวข้างนอกที่ไม่มีคนดูแล อดอยาก เป็นขี้เรื้อน มีเห็บหมัด โดนคนทำร้าย โดนรถชน เขาก็สงสาร เลยเริ่มที่จะทำอาหารไปแจกน้องหมาน้องแมวตามสถานที่ต่าง ๆ แล้วก็มีการส่งหมาแมวที่ได้รับบาดเจ็บหรือป่วยหนักไปหาหมอ หรือเอามาดูแลเองที่บ้าน ช่วงแรกพอดูแลจนเขากลับมาแข็งแรง เราก็จะทำหมันแล้วส่งกลับที่เดิม ทีนี้มีรอบหนึ่งที่เราเอาเขามาดูแลเกือบเดือนกว่า ๆ หลังส่งเขากลับที่เดิม ผ่านไปดูอีกอาทิตย์หนึ่ง เขาโดนวางยาเบื่อตาย คุณแม่เขาก็เสียใจ หลังจากนั้นเลยเริ่มที่จะดูว่ามันส่งกลับที่เดิมได้ไหม ถ้าไม่ได้ก็ให้อยู่กับเราเลย ก็เลยเริ่มช่วยหมาแล้วก็เอาหมามาไว้ที่บ้าน ตั้งแต่นั้นมาก็มีหมาแมวที่คุณแม่ช่วยเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 100 ตัว
The People: ตอนนี้มีสัตว์อยู่ในความดูแลทั้งหมดกี่ตัว
อนันต์ธรณ์: เรามีน้องหมาประมาณ 1,400 ตัว น้องแมวอีก 500 ตัว มีหมูอีก 3 ตัว แล้วก็มีลิงอีก 1 ตัว
The People: แสดงว่าที่นี่รับสัตว์ทุกประเภทเลย
อนันต์ธรณ์: เราช่วยหมากับแมวเป็นหลัก ส่วนหมูกับลิงมาด้วยความไม่ตั้งใจ เราไปให้อาหารหมาที่โรงเรียน แล้วมีหมูที่อยู่ที่โรงเรียนเขามาทานอาหารของเราด้วย คุณครูเขาก็ห่วงว่าถ้ามันอยู่ที่โรงเรียนไปเรื่อย ๆ มันจะโดนคนจับไปฆ่ากิน เพราะมันเชื่อง แล้วมันก็เป็นที่รักของคนแถวนั้น เขาเลยขอให้เราช่วยรับมันเลี้ยงมาเถอะ เพราะยังไงมันก็กินข้าวจากเราอยู่แล้ว เราก็เลยพามาอยู่ด้วย ส่วนน้องลิงชื่อน้องแจ๊คกี้เนี่ย แม่เขาโดนพรานยิงตกลงมาจากต้นไม้ เราไม่ได้เห็นเหตุการณ์ แต่เดาจากอาการบาดเจ็บของน้องคิดว่าน้องน่าจะเกาะอยู่กับแม่ น้องตาซ้ายบอด แขนซ้ายหัก เข่าขวามีสะเก็ดกระสุน ตัวแม่โดนฆ่าเอาไปกินเรียบร้อยแล้ว แต่ว่าตัวลูกมีชาวบ้านมาขอให้เราช่วย เลยได้น้องลิงมาอีกตัว ซึ่งก็ไม่ได้ตั้งใจ แต่สัตว์ตัวไหนมาเจอเราแล้วไม่มีคนช่วย ถ้าเราช่วยได้เราก็จะช่วย The People: เคยมีหมาหรือแมวที่ดุเกินเยียวยาไหม
อนันต์ธรณ์: มีครับ บางตัวเขาก็ดุ แล้วเราต้องดูแลสัตว์เกือบ 2,000 ตัว เราเลยไม่มีเวลาไปประคบประหงม ไปให้ความรักความอบอุ่นเขาได้ขนาดนั้น มันเลยแก้ไขเขาไม่ได้ ตัวที่ดุเกินจะช่วยได้ก็จำเป็นจะต้องขังแยก ก็สงสารเขานะ แต่เราไม่มีปัญญาจะทำมากกว่านี้ เจ้าหน้าที่แต่ละวันก็งานล้นมือกันอยู่แล้ว แต่ว่ามันก็มีบางตัวที่ดีขึ้น เพราะว่าเจ้าหน้าที่ที่นี่ส่วนใหญ่จะเป็นคนรักสัตว์ พอสัตว์เขาอยู่กับคนที่เมตตา สภาพจิตใจเขาก็จะดีขึ้นเรื่อย ๆ แต่มันก็ไม่ได้แก้ได้ทุกตัว
The People: การดูแลสัตว์จำนวนขนาดนี้ต้องใช้ค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่
อนันต์ธรณ์: สำหรับน้องหมา 1,400 ตัว ถ้าเราเลี้ยงด้วยอาหารเม็ดอย่างเดียว ก็จะตกประมาณวันละ 20 กระสอบ หนึ่งกระสอบหนัก 20 กิโล ก็จะประมาณ 400 กิโลต่อวัน แต่ตอนนี้เราสู้ราคาอาหารเม็ดอย่างเดียวไม่ไหว เราเลยมีการต้มข้าวต้มคลุกโครงไก่บดกับตับที่เราหาได้ บางทีก็มีผักใส่เข้าไปบ้าง นี่ยังไม่รวมค่าอาหารแมวอีก 500 ตัว แมวตัวเล็กกินกันไม่เยอะ แต่ก็ต้องซื้อทุกเดือนเหมือนกัน ยาเห็บหมัดก็ต้องซื้อประจำทุกเดือน ส่วนใหญ่หมาแมวที่เราช่วยมาจะบาดเจ็บหนัก ก็ต้องส่งหาหมอ ถ้าเดือนไหนมีหมาแมวที่เจ็บป่วยเข้ามาเยอะ ๆ หนึ่งเดือนก็อาจจะโดนเป็นล้านเหมือนกัน แต่นี่ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดนะ หนึ่งเดือนไม่ต่ำกว่าเจ็ดแสนอยู่แล้ว เพราะมันต้องมีค่าสถานที่ ค่าจ้างเจ้าหน้าที่ 20 ท่าน ค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ารถ ค่าดูแลสถานที่ ค่ายา ค่าส่งหมอ เดือนไหนส่งหมอเยอะก็โดนเข้าไปอีกเยอะแยะ The People: นำเงินดูแลมาจากไหน ได้ยินว่าเคยถึงขั้นต้องขายรถเลย
อนันต์ธรณ์: เป็นเงินจากบริษัท แต่ช่วงไหนวิกฤตก็ต้องขายรถบรรทุกกับรถโม่ของบริษัทเพื่อเอาเงินมาแก้วิกฤตนั้นก่อน เพราะยังไงก็ต้องหาข้าวให้พวกนี้กิน The
People: ต้องใช้ใจขนาดไหน ถึงขนาดที่ยอมขายรถเพื่อช่วยสัตว์
อนันต์ธรณ์: เราทำเรื่อย ๆ ให้ทั้งครอบครัวเราและชีวิตที่อยู่กับเราอยู่รอด มันก็ต้องใช้ทุกวิถีทาง เพราะหมาแมวพวกนี้เขามาแล้วเราตั้งใจที่จะไม่เอาเขาไปทิ้งที่ไหน ก็ต้องดูแลกันให้ได้ เราก็ยังอยู่ได้ ถึงแม้จะจนลงแต่ก็ยังอยู่ได้ เราเต็มใจที่จะช่วยเขา แต่ต้องขอบอกว่ามันรับเพิ่มไม่ไหวแล้ว เมื่อก่อนที่ทำมาเกือบพันตัว มันมากกว่ามูลนิธิหรือสถานสงเคราะห์บางที่อีก แต่เราไม่ได้ประชาสัมพันธ์เพราะเรายังสู้ค่าใช้จ่ายไหวอยู่ แล้วเรากลัวว่าถ้าประชาสัมพันธ์ออกมาอาจจะต้องรับหมาแมวเพิ่มมากกว่ารับเงินบริจาค แต่พอเราไม่ไหวเราก็จำเป็นจะต้องประชาสัมพันธ์ออกมา พอประชาสัมพันธ์ออกมาเราก็ได้รับความช่วยเหลือ ซึ่งต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยเหลือต่อเนื่องมาโดยตลอด แต่ว่าก็จะมีคนที่ขอให้เราช่วยรับหมาแมวเพิ่มเช่นกัน ซึ่งต้องบอกตามตรงว่าเข้าใจและเห็นใจทุกท่านที่ติดต่อเข้ามา แต่ตรงนี้เราของก็หนักอยู่แล้ว มันรับเพิ่มไม่ไหว
The People: เคยคิดไหมว่าจะมีวันที่เราต้องอดไปพร้อมกับสัตว์
อนันต์ธรณ์: มันก็เป็นไปได้ แต่คิดไปมันก็เท่านั้น เราคิดว่าเราจะแก้ไขตรงนี้ต่อไปยังไงดีกว่า The People: คิดว่าจะวางแผนต่อไปยังไงในอนาคต
อนันต์ธรณ์: ตอนนี้เราใช้การตั้งกล่องบริจาค พร้อมกับประชาสัมพันธ์ทั้งในยูทูบกับเฟซบุค แล้วเราก็ไม่รับน้องหมาน้องแมวเพิ่ม เราพยายามจะลดปริมาณน้อง ๆ ลง ถ้าน้อง ๆ ลดจาก 2,000 ตัวเหลือซัก 600-1,000 ตัวเราก็ไปต่อได้แล้ว ไม่ต้องมาวิกฤตทุกเดือน เพราะอย่างนั้นเลยต้องบอกทุกท่านที่โทรเข้ามาให้ช่วยรับหมาแมวว่าเรารับเพิ่มไม่ไหว เพราะถ้าไม่ลด เราไม่รู้จะอยู่รอดได้ไปอีกนานเท่าไหร่ คนบริจาคส่วนใหญ่เขาบริจาคแค่ครั้งเดียว แต่หมาแมวมันต้องกินตลอด เงินมันต้องใช้ตลอด แต่ว่าคนที่บริจาคต่อเนื่องก็มีเยอะ ตอนนี้มีแฟนเพจที่บริจาคเข้ามาทุกเดือน น่ารักมาก รู้สึกซาบซึ้งในน้ำใจ แล้วก็ต้องขอบพระคุณทุกท่านมาก ๆ เพราะไม่อย่างนั้นป่านนี้คงไปไม่รอดแล้ว
The People: เคยมีคนตั้งคำถามไหมว่าเป็นมูลนิธิจริงหรือเปล่า
อนันต์ธรณ์: ก็มีประมาณว่า รับแต่เงินไม่รับหมาหรือเปล่า แต่เราไม่คิดอะไรมาก เพราะเราทำจริง มีจริง ถ้าเขาสงสัยเราก็ให้เขามาดูที่คอกได้เลย พอเขามาดูเขาจะเข้าใจว่าเราช่วยหมาแมวจริง ๆ บางทีก็มีแฟนเพจที่ติดตามช่วยตอบให้ เขาก็น่ารักกันมาก คนที่เขารู้ว่าเราช่วยจริงก็เห็นใจและมาช่วยเหลือเรา The People: สิ่งที่เปลี่ยนเราไปวันนั้นคือน้องชิสุตัวแรกที่รับมาเลี้ยงหรือเปล่า อนันต์ธรณ์: มันเป็นตัวที่ทำให้ชะตาชีวิตเปลี่ยนเลย เพราะเริ่มมีตัวแรก เลยมี 2,000 ตัวนี้ตามมา ถ้าพูดตามตรง มันทำให้เราไม่มีโอกาสไปทำหลายเรื่องที่เราอยากทำนะ ผมจบมหิดลด้านบริหารธุรกิจการตลาดมา ถ้าไม่มีตรงนี้ เราก็จะมีโอกาสไปทำงานส่วนอื่นอีกหลายอย่าง แต่พอมีเราก็ต้องมาดูแล ถามว่าเราเสียดายไหม ก็นิดหน่อย แต่เราก็ดีใจที่ได้ช่วยเหลือพวกนี้มา ถามว่ากลับไปได้เราจะเปลี่ยนอะไรไหม เราก็คงไม่เปลี่ยน เพราะเราเต็มใจที่จะดูแลช่วยเหลือพวกนี้ต่อไป เพียงแต่ก็จะเครียดเรื่องการหาเงินมาดูแลพวกนี้ให้มันอยู่ได้ เพราะว่าภาระเจ็ดแสนต่อเดือน ครอบครัวเดียวมันไม่ไหวจริง ๆ
The People: ที่ผ่านมาเราได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบ้างไหม
อนันต์ธรณ์: มีบ้าง มาเป็นครั้งเป็นคราว เป็นโปรเจกต์ช่วยฉีดวัคซีน แต่ว่าส่วนใหญ่จะติดต่อเข้ามาให้รับหมาแมวเพิ่มมากกว่า แล้วก็จะมีของท่าน ร.10 ท่านได้ส่งตัวแทนพระองค์มาพระราชทานอาหารสัตว์เลี้ยงสามรอบแล้ว รู้สึกปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์มาก ๆ เราทำของเราไม่ได้อะไรมาก แต่ท่านก็ยังเห็นแล้วก็ยื่นมือลงมาช่วยเหลือ The People: มีความเห็นอย่างไรกับการใช้นโยบาย “เซ็ตซีโร” มาจัดการปัญหาสัตว์จรจัด
อนันต์ธรณ์: เป็นนโยบายแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ที่ขาดความรับผิดชอบ เห็นแก่ตัว และไม่มีศีลธรรม เพราะว่าต่อให้เซ็ตซีโรกันจริง ๆ สุดท้ายถ้าประชาชนยังไม่มีจิตสำนึกในการรับผิดชอบเรื่องสัตว์เลี้ยง ยังไม่มีการควบคุมธุรกิจเพาะพันธุ์สัตว์ที่เป็นเรื่องเป็นราว สุดท้ายมันก็จะกลับมาเป็นปัญหาเหมือนเดิม แล้วเราจะทำยังไง เราจะเซ็ตซีโรกันซ้ำ ๆ ฆ่าสัตว์กันไปเรื่อย ๆอย่างนั้นเหรอ
The People: แล้วคิดว่าการแก้ไขปัญหาสัตว์จรจัดที่แท้จริงควรจะเป็นอย่างไร
อนันต์ธรณ์: อยากให้รัฐบาลเข้าไปเอาจริงเอาจังในการควบคุมดูแลธุรกิจเพาะพันธุ์สัตว์เลี้ยง ขึ้นทะเบียนให้มันรู้เรื่อง สัตว์ที่ถูกเพาะออกมา มันต้องมีระบบอะไรสักอย่าง อาจจะเป็นระบบไมโครชิพหรืออะไรก็แล้วแต่ที่จะติดตามเขาได้ว่าเจ้าของคือใคร ตามไปได้จนถึงโรงเพาะว่ามาจากบริษัทไหน นี่คือมาตรการที่หนึ่ง มาตรการที่สองคือ ตั้งแต่เราเรียนหนังสือมา เราไม่เคยเห็นว่ามีการใส่เรื่องความรับผิดชอบต่อสัตว์เลี้ยงลงในระบบการศึกษาเลย มันควรจะมีตั้งแต่อนุบาล ประถม มัธยม ยันมหาวิทยาลัยเลย เพราะมันเป็นปัญหาของสังคมที่ต้องสร้างจิตสำนึกที่ดี ถ้าไม่มีจิตสำนึก มันก็จะมีวัยรุ่นที่อยากได้สัตว์เลี้ยงเพราะมันน่ารัก หรือซื้อมาให้แฟน พอเบื่อ พอมันเรื่องมาก พอมันค่าใช้จ่ายสูง ก็เอามันมาทอดทิ้ง หรือไม่ทำหมัน ออกลูกออกหลานมาเต็มบ้าน จากตอนแรกมีแค่สองตัวกลายเป็นสิบกว่าตัว พอเขาเลี้ยงไม่ไหว ก็ต้องหาที่ทิ้ง แล้วรัฐก็ต้องเอาจริงเอาจังในการทำหมันสัตว์จรจัด ถ้าทำสามอย่างนี้ได้มันอาจจะไม่ได้แก้ปัญหาทั้งหมด แต่มันจะบรรเทาปัญหาสัตว์จรจัดในเมืองไทยได้อย่างมหาศาล แล้วถ้าปัญหามันบรรเทาลง คนอย่างผม หรือบ้านอื่น ๆ ที่ช่วยเหลือสัตว์จะได้ไปทำอย่างอื่นได้ ไม่ใช่ว่ามาติดอยู่ตรงนี้ มารับภาระสังคมตรงนี้ ถึงแม้ว่าผมจะเต็มใจอยู่ แต่มองอีกด้าน ถ้าผมไม่ได้อยู่ ผมยังทำอย่างอื่นได้อีกเยอะแยะ The People: มีอะไรอยากจะฝากถึงสังคมไทยเกี่ยวกับปัญหาสัตว์จรจัดไหม อนันต์ธรณ์: ก็อยากจะฝากเรื่องการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ คนในสังคมคนอื่นอย่างผมจะได้ไม่ต้องมารับภาระ ผลักดันให้รัฐบาลเอาจริงในการควบคุมธุรกิจเพาะพันธุ์สัตว์ แล้วตำรวจก็ต้องเอาจริงในการจับคนที่ทอดทิ้งสัตว์ กฎหมายมันมีแล้วนะครับเรื่องห้ามทอดทิ้งสัตว์ แต่คุณตำรวจเขาคงมีงานอย่างอื่นเยอะ เขาว่าอย่างนั้น เขาก็เลยไม่ได้จับ คนเลยยังทอดทิ้งสัตว์กันเหมือนเดิม แล้วก็เรื่องการศึกษา สร้างจิตสำนึกให้เยาวชนตั้งแต่เด็กว่าการเลี้ยงสัตว์ มันเป็นการรับผิดชอบต่อชีวิตเขานะ ไม่ใช่ว่าน่ารักถูกใจ ซื้อได้ซื้อเลย แล้วที่ทุกคนช่วยกันทำได้เลยคือทำหมันสัตว์ในชุมชน ตั้งกล่องกองทุนในหมู่บ้านขึ้นมาสำหรับเพื่อทำหมันสัตว์เลยก็ได้ ถ้าทุนยังไม่เยอะก็เลือกทำเฉพาะเพศผู้หรือเพศเมียไปก่อน ดูว่าเพศไหนมีน้อยกว่ากัน มันก็จะช่วยลดจำนวนสัตว์จรจัด บรรเทาปัญหา ไม่อย่างนั้นเวลามันสัตว์จรจัดเพิ่มขึ้นมาเยอะ ๆ ก็เป็นปัญหา ต้องโทรหาผม ผมก็รับไม่ไหว แล้วเขาจะทำยังไง เอาไปทิ้งที่อื่น วางยาเบื่อ มันก็ไปจบที่การทารุณสัตว์ ก็อยากฝากตรงนี้ไว้ ว่าเราต้องผลักดันให้ทั้งสังคมและรัฐบาลช่วยกันแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุให้ได้ ไม่อย่างนั้นมันก็จะมาเป็นภาระของสังคมอย่างนี้ต่อไป ร่วมทำบุญบริจาคสมทบค่าอาหารสุนัข ได้ที่: ธนาคารไทยพานิชย์ สาขาโรบินสัน สระบุรี 419-016-8487 ชื่อบัญชี นายอนันต์ธรณ์ วินิจเถาปฐม รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.facebook.com/watch/?v=1372742216166885 เรื่อง : พัทธมน สินธุวณิชเศรษฐ์ (The People Junior)
The People: จุดเริ่มต้นของบ้านนางฟ้าของสัตว์จร เริ่มมาจากอะไร
อนันต์ธรณ์: เริ่มต้นโดยที่คุณแม่นี่แหละเป็นคนเข้าไปช่วยหมาแมวจรจัดที่เจอข้างถนน ก่อนหน้านี้เราไม่เคยมีสัตว์เลี้ยงเลย จนคุณแม่ซื้อชิสุมาเลี้ยงตัวแรก เราก็ดูแลเขาอย่างดีเพราะเขาก็เป็นหมาในบ้านที่เรารักกัน พอคุณแม่ไปเห็นหมาแมวข้างนอกที่ไม่มีคนดูแล อดอยาก เป็นขี้เรื้อน มีเห็บหมัด โดนคนทำร้าย โดนรถชน เขาก็สงสาร เลยเริ่มที่จะทำอาหารไปแจกน้องหมาน้องแมวตามสถานที่ต่าง ๆ แล้วก็มีการส่งหมาแมวที่ได้รับบาดเจ็บหรือป่วยหนักไปหาหมอ หรือเอามาดูแลเองที่บ้าน ช่วงแรกพอดูแลจนเขากลับมาแข็งแรง เราก็จะทำหมันแล้วส่งกลับที่เดิม ทีนี้มีรอบหนึ่งที่เราเอาเขามาดูแลเกือบเดือนกว่า ๆ หลังส่งเขากลับที่เดิม ผ่านไปดูอีกอาทิตย์หนึ่ง เขาโดนวางยาเบื่อตาย คุณแม่เขาก็เสียใจ หลังจากนั้นเลยเริ่มที่จะดูว่ามันส่งกลับที่เดิมได้ไหม ถ้าไม่ได้ก็ให้อยู่กับเราเลย ก็เลยเริ่มช่วยหมาแล้วก็เอาหมามาไว้ที่บ้าน ตั้งแต่นั้นมาก็มีหมาแมวที่คุณแม่ช่วยเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 100 ตัว
The People: ตอนนี้มีสัตว์อยู่ในความดูแลทั้งหมดกี่ตัว
อนันต์ธรณ์: เรามีน้องหมาประมาณ 1,400 ตัว น้องแมวอีก 500 ตัว มีหมูอีก 3 ตัว แล้วก็มีลิงอีก 1 ตัว
The People: แสดงว่าที่นี่รับสัตว์ทุกประเภทเลย
อนันต์ธรณ์: เราช่วยหมากับแมวเป็นหลัก ส่วนหมูกับลิงมาด้วยความไม่ตั้งใจ เราไปให้อาหารหมาที่โรงเรียน แล้วมีหมูที่อยู่ที่โรงเรียนเขามาทานอาหารของเราด้วย คุณครูเขาก็ห่วงว่าถ้ามันอยู่ที่โรงเรียนไปเรื่อย ๆ มันจะโดนคนจับไปฆ่ากิน เพราะมันเชื่อง แล้วมันก็เป็นที่รักของคนแถวนั้น เขาเลยขอให้เราช่วยรับมันเลี้ยงมาเถอะ เพราะยังไงมันก็กินข้าวจากเราอยู่แล้ว เราก็เลยพามาอยู่ด้วย ส่วนน้องลิงชื่อน้องแจ๊คกี้เนี่ย แม่เขาโดนพรานยิงตกลงมาจากต้นไม้ เราไม่ได้เห็นเหตุการณ์ แต่เดาจากอาการบาดเจ็บของน้องคิดว่าน้องน่าจะเกาะอยู่กับแม่ น้องตาซ้ายบอด แขนซ้ายหัก เข่าขวามีสะเก็ดกระสุน ตัวแม่โดนฆ่าเอาไปกินเรียบร้อยแล้ว แต่ว่าตัวลูกมีชาวบ้านมาขอให้เราช่วย เลยได้น้องลิงมาอีกตัว ซึ่งก็ไม่ได้ตั้งใจ แต่สัตว์ตัวไหนมาเจอเราแล้วไม่มีคนช่วย ถ้าเราช่วยได้เราก็จะช่วย The People: เคยมีหมาหรือแมวที่ดุเกินเยียวยาไหม
อนันต์ธรณ์: มีครับ บางตัวเขาก็ดุ แล้วเราต้องดูแลสัตว์เกือบ 2,000 ตัว เราเลยไม่มีเวลาไปประคบประหงม ไปให้ความรักความอบอุ่นเขาได้ขนาดนั้น มันเลยแก้ไขเขาไม่ได้ ตัวที่ดุเกินจะช่วยได้ก็จำเป็นจะต้องขังแยก ก็สงสารเขานะ แต่เราไม่มีปัญญาจะทำมากกว่านี้ เจ้าหน้าที่แต่ละวันก็งานล้นมือกันอยู่แล้ว แต่ว่ามันก็มีบางตัวที่ดีขึ้น เพราะว่าเจ้าหน้าที่ที่นี่ส่วนใหญ่จะเป็นคนรักสัตว์ พอสัตว์เขาอยู่กับคนที่เมตตา สภาพจิตใจเขาก็จะดีขึ้นเรื่อย ๆ แต่มันก็ไม่ได้แก้ได้ทุกตัว
The People: การดูแลสัตว์จำนวนขนาดนี้ต้องใช้ค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่
อนันต์ธรณ์: สำหรับน้องหมา 1,400 ตัว ถ้าเราเลี้ยงด้วยอาหารเม็ดอย่างเดียว ก็จะตกประมาณวันละ 20 กระสอบ หนึ่งกระสอบหนัก 20 กิโล ก็จะประมาณ 400 กิโลต่อวัน แต่ตอนนี้เราสู้ราคาอาหารเม็ดอย่างเดียวไม่ไหว เราเลยมีการต้มข้าวต้มคลุกโครงไก่บดกับตับที่เราหาได้ บางทีก็มีผักใส่เข้าไปบ้าง นี่ยังไม่รวมค่าอาหารแมวอีก 500 ตัว แมวตัวเล็กกินกันไม่เยอะ แต่ก็ต้องซื้อทุกเดือนเหมือนกัน ยาเห็บหมัดก็ต้องซื้อประจำทุกเดือน ส่วนใหญ่หมาแมวที่เราช่วยมาจะบาดเจ็บหนัก ก็ต้องส่งหาหมอ ถ้าเดือนไหนมีหมาแมวที่เจ็บป่วยเข้ามาเยอะ ๆ หนึ่งเดือนก็อาจจะโดนเป็นล้านเหมือนกัน แต่นี่ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดนะ หนึ่งเดือนไม่ต่ำกว่าเจ็ดแสนอยู่แล้ว เพราะมันต้องมีค่าสถานที่ ค่าจ้างเจ้าหน้าที่ 20 ท่าน ค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ารถ ค่าดูแลสถานที่ ค่ายา ค่าส่งหมอ เดือนไหนส่งหมอเยอะก็โดนเข้าไปอีกเยอะแยะ The People: นำเงินดูแลมาจากไหน ได้ยินว่าเคยถึงขั้นต้องขายรถเลย
อนันต์ธรณ์: เป็นเงินจากบริษัท แต่ช่วงไหนวิกฤตก็ต้องขายรถบรรทุกกับรถโม่ของบริษัทเพื่อเอาเงินมาแก้วิกฤตนั้นก่อน เพราะยังไงก็ต้องหาข้าวให้พวกนี้กิน The
People: ต้องใช้ใจขนาดไหน ถึงขนาดที่ยอมขายรถเพื่อช่วยสัตว์
อนันต์ธรณ์: เราทำเรื่อย ๆ ให้ทั้งครอบครัวเราและชีวิตที่อยู่กับเราอยู่รอด มันก็ต้องใช้ทุกวิถีทาง เพราะหมาแมวพวกนี้เขามาแล้วเราตั้งใจที่จะไม่เอาเขาไปทิ้งที่ไหน ก็ต้องดูแลกันให้ได้ เราก็ยังอยู่ได้ ถึงแม้จะจนลงแต่ก็ยังอยู่ได้ เราเต็มใจที่จะช่วยเขา แต่ต้องขอบอกว่ามันรับเพิ่มไม่ไหวแล้ว เมื่อก่อนที่ทำมาเกือบพันตัว มันมากกว่ามูลนิธิหรือสถานสงเคราะห์บางที่อีก แต่เราไม่ได้ประชาสัมพันธ์เพราะเรายังสู้ค่าใช้จ่ายไหวอยู่ แล้วเรากลัวว่าถ้าประชาสัมพันธ์ออกมาอาจจะต้องรับหมาแมวเพิ่มมากกว่ารับเงินบริจาค แต่พอเราไม่ไหวเราก็จำเป็นจะต้องประชาสัมพันธ์ออกมา พอประชาสัมพันธ์ออกมาเราก็ได้รับความช่วยเหลือ ซึ่งต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยเหลือต่อเนื่องมาโดยตลอด แต่ว่าก็จะมีคนที่ขอให้เราช่วยรับหมาแมวเพิ่มเช่นกัน ซึ่งต้องบอกตามตรงว่าเข้าใจและเห็นใจทุกท่านที่ติดต่อเข้ามา แต่ตรงนี้เราของก็หนักอยู่แล้ว มันรับเพิ่มไม่ไหว
The People: เคยคิดไหมว่าจะมีวันที่เราต้องอดไปพร้อมกับสัตว์
อนันต์ธรณ์: มันก็เป็นไปได้ แต่คิดไปมันก็เท่านั้น เราคิดว่าเราจะแก้ไขตรงนี้ต่อไปยังไงดีกว่า The People: คิดว่าจะวางแผนต่อไปยังไงในอนาคต
อนันต์ธรณ์: ตอนนี้เราใช้การตั้งกล่องบริจาค พร้อมกับประชาสัมพันธ์ทั้งในยูทูบกับเฟซบุค แล้วเราก็ไม่รับน้องหมาน้องแมวเพิ่ม เราพยายามจะลดปริมาณน้อง ๆ ลง ถ้าน้อง ๆ ลดจาก 2,000 ตัวเหลือซัก 600-1,000 ตัวเราก็ไปต่อได้แล้ว ไม่ต้องมาวิกฤตทุกเดือน เพราะอย่างนั้นเลยต้องบอกทุกท่านที่โทรเข้ามาให้ช่วยรับหมาแมวว่าเรารับเพิ่มไม่ไหว เพราะถ้าไม่ลด เราไม่รู้จะอยู่รอดได้ไปอีกนานเท่าไหร่ คนบริจาคส่วนใหญ่เขาบริจาคแค่ครั้งเดียว แต่หมาแมวมันต้องกินตลอด เงินมันต้องใช้ตลอด แต่ว่าคนที่บริจาคต่อเนื่องก็มีเยอะ ตอนนี้มีแฟนเพจที่บริจาคเข้ามาทุกเดือน น่ารักมาก รู้สึกซาบซึ้งในน้ำใจ แล้วก็ต้องขอบพระคุณทุกท่านมาก ๆ เพราะไม่อย่างนั้นป่านนี้คงไปไม่รอดแล้ว
The People: เคยมีคนตั้งคำถามไหมว่าเป็นมูลนิธิจริงหรือเปล่า
อนันต์ธรณ์: ก็มีประมาณว่า รับแต่เงินไม่รับหมาหรือเปล่า แต่เราไม่คิดอะไรมาก เพราะเราทำจริง มีจริง ถ้าเขาสงสัยเราก็ให้เขามาดูที่คอกได้เลย พอเขามาดูเขาจะเข้าใจว่าเราช่วยหมาแมวจริง ๆ บางทีก็มีแฟนเพจที่ติดตามช่วยตอบให้ เขาก็น่ารักกันมาก คนที่เขารู้ว่าเราช่วยจริงก็เห็นใจและมาช่วยเหลือเรา The People: สิ่งที่เปลี่ยนเราไปวันนั้นคือน้องชิสุตัวแรกที่รับมาเลี้ยงหรือเปล่า อนันต์ธรณ์: มันเป็นตัวที่ทำให้ชะตาชีวิตเปลี่ยนเลย เพราะเริ่มมีตัวแรก เลยมี 2,000 ตัวนี้ตามมา ถ้าพูดตามตรง มันทำให้เราไม่มีโอกาสไปทำหลายเรื่องที่เราอยากทำนะ ผมจบมหิดลด้านบริหารธุรกิจการตลาดมา ถ้าไม่มีตรงนี้ เราก็จะมีโอกาสไปทำงานส่วนอื่นอีกหลายอย่าง แต่พอมีเราก็ต้องมาดูแล ถามว่าเราเสียดายไหม ก็นิดหน่อย แต่เราก็ดีใจที่ได้ช่วยเหลือพวกนี้มา ถามว่ากลับไปได้เราจะเปลี่ยนอะไรไหม เราก็คงไม่เปลี่ยน เพราะเราเต็มใจที่จะดูแลช่วยเหลือพวกนี้ต่อไป เพียงแต่ก็จะเครียดเรื่องการหาเงินมาดูแลพวกนี้ให้มันอยู่ได้ เพราะว่าภาระเจ็ดแสนต่อเดือน ครอบครัวเดียวมันไม่ไหวจริง ๆ
The People: ที่ผ่านมาเราได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบ้างไหม
อนันต์ธรณ์: มีบ้าง มาเป็นครั้งเป็นคราว เป็นโปรเจกต์ช่วยฉีดวัคซีน แต่ว่าส่วนใหญ่จะติดต่อเข้ามาให้รับหมาแมวเพิ่มมากกว่า แล้วก็จะมีของท่าน ร.10 ท่านได้ส่งตัวแทนพระองค์มาพระราชทานอาหารสัตว์เลี้ยงสามรอบแล้ว รู้สึกปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์มาก ๆ เราทำของเราไม่ได้อะไรมาก แต่ท่านก็ยังเห็นแล้วก็ยื่นมือลงมาช่วยเหลือ The People: มีความเห็นอย่างไรกับการใช้นโยบาย “เซ็ตซีโร” มาจัดการปัญหาสัตว์จรจัด
อนันต์ธรณ์: เป็นนโยบายแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ที่ขาดความรับผิดชอบ เห็นแก่ตัว และไม่มีศีลธรรม เพราะว่าต่อให้เซ็ตซีโรกันจริง ๆ สุดท้ายถ้าประชาชนยังไม่มีจิตสำนึกในการรับผิดชอบเรื่องสัตว์เลี้ยง ยังไม่มีการควบคุมธุรกิจเพาะพันธุ์สัตว์ที่เป็นเรื่องเป็นราว สุดท้ายมันก็จะกลับมาเป็นปัญหาเหมือนเดิม แล้วเราจะทำยังไง เราจะเซ็ตซีโรกันซ้ำ ๆ ฆ่าสัตว์กันไปเรื่อย ๆอย่างนั้นเหรอ
The People: แล้วคิดว่าการแก้ไขปัญหาสัตว์จรจัดที่แท้จริงควรจะเป็นอย่างไร
อนันต์ธรณ์: อยากให้รัฐบาลเข้าไปเอาจริงเอาจังในการควบคุมดูแลธุรกิจเพาะพันธุ์สัตว์เลี้ยง ขึ้นทะเบียนให้มันรู้เรื่อง สัตว์ที่ถูกเพาะออกมา มันต้องมีระบบอะไรสักอย่าง อาจจะเป็นระบบไมโครชิพหรืออะไรก็แล้วแต่ที่จะติดตามเขาได้ว่าเจ้าของคือใคร ตามไปได้จนถึงโรงเพาะว่ามาจากบริษัทไหน นี่คือมาตรการที่หนึ่ง มาตรการที่สองคือ ตั้งแต่เราเรียนหนังสือมา เราไม่เคยเห็นว่ามีการใส่เรื่องความรับผิดชอบต่อสัตว์เลี้ยงลงในระบบการศึกษาเลย มันควรจะมีตั้งแต่อนุบาล ประถม มัธยม ยันมหาวิทยาลัยเลย เพราะมันเป็นปัญหาของสังคมที่ต้องสร้างจิตสำนึกที่ดี ถ้าไม่มีจิตสำนึก มันก็จะมีวัยรุ่นที่อยากได้สัตว์เลี้ยงเพราะมันน่ารัก หรือซื้อมาให้แฟน พอเบื่อ พอมันเรื่องมาก พอมันค่าใช้จ่ายสูง ก็เอามันมาทอดทิ้ง หรือไม่ทำหมัน ออกลูกออกหลานมาเต็มบ้าน จากตอนแรกมีแค่สองตัวกลายเป็นสิบกว่าตัว พอเขาเลี้ยงไม่ไหว ก็ต้องหาที่ทิ้ง แล้วรัฐก็ต้องเอาจริงเอาจังในการทำหมันสัตว์จรจัด ถ้าทำสามอย่างนี้ได้มันอาจจะไม่ได้แก้ปัญหาทั้งหมด แต่มันจะบรรเทาปัญหาสัตว์จรจัดในเมืองไทยได้อย่างมหาศาล แล้วถ้าปัญหามันบรรเทาลง คนอย่างผม หรือบ้านอื่น ๆ ที่ช่วยเหลือสัตว์จะได้ไปทำอย่างอื่นได้ ไม่ใช่ว่ามาติดอยู่ตรงนี้ มารับภาระสังคมตรงนี้ ถึงแม้ว่าผมจะเต็มใจอยู่ แต่มองอีกด้าน ถ้าผมไม่ได้อยู่ ผมยังทำอย่างอื่นได้อีกเยอะแยะ The People: มีอะไรอยากจะฝากถึงสังคมไทยเกี่ยวกับปัญหาสัตว์จรจัดไหม
อนันต์ธรณ์: ก็อยากจะฝากเรื่องการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ คนในสังคมคนอื่นอย่างผมจะได้ไม่ต้องมารับภาระ ผลักดันให้รัฐบาลเอาจริงในการควบคุมธุรกิจเพาะพันธุ์สัตว์ แล้วตำรวจก็ต้องเอาจริงในการจับคนที่ทอดทิ้งสัตว์ กฎหมายมันมีแล้วนะครับเรื่องห้ามทอดทิ้งสัตว์ แต่คุณตำรวจเขาคงมีงานอย่างอื่นเยอะ เขาว่าอย่างนั้น เขาก็เลยไม่ได้จับ คนเลยยังทอดทิ้งสัตว์กันเหมือนเดิม แล้วก็เรื่องการศึกษา สร้างจิตสำนึกให้เยาวชนตั้งแต่เด็กว่าการเลี้ยงสัตว์ มันเป็นการรับผิดชอบต่อชีวิตเขานะ ไม่ใช่ว่าน่ารักถูกใจ ซื้อได้ซื้อเลย แล้วที่ทุกคนช่วยกันทำได้เลยคือทำหมันสัตว์ในชุมชน ตั้งกล่องกองทุนในหมู่บ้านขึ้นมาสำหรับเพื่อทำหมันสัตว์เลยก็ได้ ถ้าทุนยังไม่เยอะก็เลือกทำเฉพาะเพศผู้หรือเพศเมียไปก่อน ดูว่าเพศไหนมีน้อยกว่ากัน มันก็จะช่วยลดจำนวนสัตว์จรจัด บรรเทาปัญหา ไม่อย่างนั้นเวลามันสัตว์จรจัดเพิ่มขึ้นมาเยอะ ๆ ก็เป็นปัญหา ต้องโทรหาผม ผมก็รับไม่ไหว แล้วเขาจะทำยังไง เอาไปทิ้งที่อื่น วางยาเบื่อ มันก็ไปจบที่การทารุณสัตว์ ก็อยากฝากตรงนี้ไว้ ว่าเราต้องผลักดันให้ทั้งสังคมและรัฐบาลช่วยกันแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุให้ได้ ไม่อย่างนั้นมันก็จะมาเป็นภาระของสังคมอย่างนี้ต่อไป ร่วมทำบุญบริจาคสมทบค่าอาหารสุนัข ได้ที่:
ธนาคารไทยพานิชย์ สาขาโรบินสัน สระบุรี 419-016-8487
ชื่อบัญชี นายอนันต์ธรณ์ วินิจเถาปฐม
รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.facebook.com/watch/?v=1372742216166885
เรื่อง : พัทธมน สินธุวณิชเศรษฐ์ (The People Junior)