23 พ.ค. 2566 | 17:32 น.
ประโยคที่ว่า “Data is a new oil” ที่ถูกกล่าวโดย ไคลฟ์ ฮัมบี (Clive Humby) นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลว่าข้อมูลถือเป็นขุมทรัพย์แห่งใหม่ที่มีมูลค่าไม่ต่างจากน้ำมัน เมื่อหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา กระทั่ง ไมเคิล พาล์มเมอร์ (Michael Palmer) รองประธานสมาคมโฆษณาแห่งชาติ จากสหรัฐอเมริกาได้ตอกย้ำว่า น้ำมันดิบจะมีค่าก็ต่อเมื่อผ่านการกลั่น เช่นเดียวกับข้อมูลจะมีค่าก็ต่อเมื่อไม่ได้รับการกลั่นกรองจนนำไปใช้ได้จริง ความจริงข้อนี้ได้กลายเป็นการพลิกโฉมหน้าการทำธุรกิจทั่วโลกกระทั่งยุคปัจจุบัน
Data is a new (Oil paint)
“เขาบอกว่า Data is a new oil คือการสื่อความหมายว่า Data มีมูลค่าเหมือนน้ำมัน แต่ต้องไม่ลืมว่าน้ำมันจะมีมูลค่า ต้องผ่านการกลั่นจากน้ำมันดิบเสียก่อน และ Data ก็ไม่ใช่แค่ New oil อย่างเดียว แต่ Data ยังเปรียบได้กับ Oil paint หรือสีน้ำมัน ที่สงวนไว้สำหรับเจ้าของธุรกิจและนักการตลาดที่มีทักษะและความสามารถ ในการนำสีน้ำมันไปเพนต์บนผืนผ้าใบให้เกิดความสวยงาม เอาความคิดสร้างสรรค์เชิงครีเอทีฟเข้าไปผสมผสาน เอากลยุทธ์ไปจับทำให้ Data เหล่านั้นสร้างมูลค่าการตลาดและสร้างธุรกิจใหม่ขึ้นได้อีกด้วย”
จิตติพงศ์ เลิศประดิษฐ์ กับบทบาทนักการตลาดเทคโนโลยีขั้นสูง ได้เล่าให้ฟังถึงการนำ Data มาใช้ในโลกธุรกิจ จากเด็กหนุ่มที่ชื่นชอบการเรียนคณิตศาสตร์ ตัวเลขเป็นสิ่งที่พิสูจน์และวัดผลได้ ทำให้เขาหลงใหลจนได้เป็นตัวแทนไปแข่งขันความรู้ด้านนี้ในระดับประเทศ แม้จะเบนเข็มมาสู่การเรียนสายสื่อสารมวลชนในระดับอุดมศึกษา แต่เมื่อเดินเส้นทางในสายอาชีพการตลาด ก็ได้ปัดฝุ่นนำศักยภาพการวิเคราะห์ การเก็บข้อมูล และวัดผลข้อมูลมาใช้
การนั่งเก้าอี้ตำแหน่ง Marketing Technology Team Lead ในยุค 10 ปีก่อน ทำให้เริ่มรู้จักกับเครื่องมือการตลาดหลายชนิด ผสานกับองค์กรที่เปิดโอกาสทางความคิด ให้พื้นที่ได้ทดลอง เรียนรู้จากการผิดพลาด ทำให้ได้ความคุ้นเคยและทดลองใช้เครื่องมือต่าง ๆ จนหาอาวุธทางการตลาดที่เหมาะสมเพื่อต่อยอดธุรกิจได้
“เมื่อสิบปีที่แล้ว ผู้บริหารระดับสูง ได้มอบหมายงานให้ทํา ณ ตอนนั้นมันมีเครื่องมือซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า MarTech เรียกว่าเป็น SaaS หรือ Software as a Service ผลิตขึ้นมา ให้เราทําการตลาดได้ง่ายขึ้น ปรับเปลี่ยนวิธีการทําการตลาด ปรับเปลี่ยนสินค้า โมเดลธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ทําธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ “ คุณจิตติพงศ์เล่าย้อนถึงการได้เริ่มเข้าสู่วงการ MarTech
ปลาเร็วเท่านั้นที่จะเป็นผู้ชนะ
ในอดีตองค์กรต้องลงทุนในเครื่องมือ Marketing Technology หรือ MarTechหลายล้านบาทต่อปี จนทำให้มีเพียงองค์กรขนาดใหญ่เท่านั้นที่เข้าถึงเครื่องมือเหล่านี้ได้ แต่โลกาภิวัตน์ ได้ย่นย่อให้เครื่องมือเหล่านี้มีราคาต่ำลงเรื่อย ๆ ใครจะคาดคิดว่าวันนี้ผู้คนเข้าถึง AI หรือ ChatGPT ได้ฟรี หรือในราคาเพียงหลักร้อยบาทต่อเดือน
ปัจจัยด้านราคาจึงไม่ใช่ประเด็นหลักที่ต้องกังวลในการบริหารธุรกิจอีกต่อไป และไม่ว่าองค์กร SMEs หรือองค์กรขนาดใหญ่ก็ไม่อาจมองข้ามเรื่องนี้ได้อีกต่อไปในสมรภูมิการค้าแบบไร้พรมแดน
“ก่อนหน้านี้เราพูดกันว่า ถ้าคุณเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ หรือที่เรียกว่าปลาใหญ่ สามารถที่จะกินปลาเล็กหรือว่าธุรกิจขนาดเล็กได้ ปลาใหญ่กินปลาเล็ก แต่ผมเชื่อว่าทุกวันนี้ ปลาที่เร็วเท่านั้นที่จะเป็นผู้ชนะ ปลาเร็วสามารถจะกินปลาใหญ่ได้ แต่การที่คุณจะเป็นปลาเร็วได้ ตัวเราเล็กกว่า เราก็ต้องมีข้อมูลข่าวสารในการเคลื่อนไหวในน้ำ ก็คือ มี Data ที่ช่วยหา Insight ช่วย Inform ว่าคุณจะเคลื่อนไหวอย่างไร ให้กินปลาใหญ่ได้” นักการตลาดมือเก๋ากล่าว
สิ่งสำคัญคือการที่องค์กรเล็งเห็นถึงคุณค่า ประโยชน์ และแนวทางการปรับใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ องค์กรที่จะอยู่รอดและพัฒนาได้ต่อเนื่องจะต้องปรับตัวในการนำ Data และ MarTech มาใช้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถเปรียบเทียบความต่างขององค์กรสองรูปแบบได้โดยง่าย
“องค์กรหนึ่ง สมมติว่าเป็นองค์กร A ที่เป็น Tradition Business ยังใช้กระบวนการแบบเดิม ใช้ความจำของพนักงานแต่ละคนในการดูแลลูกค้า มันไม่ได้ส่งผ่านเปลี่ยนถ่ายองค์ความรู้ หรือไม่ได้ Transfer Knowledge เรื่องการบริหารจัดการลูกค้า
ในขณะที่องค์กร B มีการนำ Data และ MarTech มาใช้ ข้อแตกต่างแรกเลยคือการวัดผลอย่างละเอียด ถ้าเรามีการใช้ Data หรือ Technology ที่เก็บมาได้จากเครื่องมือ MarTech เพื่อทำธุรกิจหรือการตลาด จะวัดผลการดำเนินงาน ตั้งรับ หรือคิดกลยุทธ์ คิดแคมเปญในการจัดการกับลูกค้าแต่ละกลุ่มได้ รีดประสิทธิภาพข้อมูลที่เก็บไว้เหมือนเรากลั่นน้ำมันออกมา” คุณจิตติพงศ์กล่าว
นอกจากนี้องค์กรที่มีการใช้ Data และ MarTech ยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อีกว่าผลกำไรของบริษัทส่วนใหญ่เกิดจากลูกค้ากลุ่มใด และกลุ่มนั้นอาจเป็น Pareto Model หรือลูกค้าเก่า 20% ที่สร้างรายได้ 80% ให้องค์กร และบริหารจัดการกิจกรรมที่จะดำเนินกับลูกค้ากลุ่มนี้ไปได้
MarTech จึงเป็นกระบวนการตั้งแต่การเก็บข้อมูลลูกค้า การทำโฆษณาเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย การทำคอนเทนต์ วิธีการสื่อสาร การใช้เครื่องมือในการสื่อสารกับลูกค้าผ่านช่องทางหรือช่องทางการตลาดต่าง ๆ นำข้อมูลลูกค้า พฤติกรรมการซื้อสินค้าที่เก็บมาวิเคราะห์พฤติกรรมเพื่อวางแผนการตลาด และมองหาช่องทางทำตลาดและน่านน้ำใหม่ ๆ ต่อยอดให้ธุรกิจเติบโตได้
กลัดกระดุม MarTech ให้ถูกตั้งแต่เริ่มต้น
ทั้งนี้ปัญหาที่องค์กรมักเจอในการเริ่มนำ MarTech มาใช้คือ การมีเครื่องมือทำการตลาด แต่ขาดผู้เชี่ยวชาญที่ปรับแต่งวิธีใช้ได้อย่างเหมาะสม หรือการทุ่มทุนด้วยงบประมาณสูงลิ่ว แต่ไม่ได้ใช้งานเครื่องมืออย่างเต็มประสิทธิภาพ การใช้ทั้ง Data และ Technology ได้ เป็นส่วนหนึ่งของการรีดประสิทธิภาพจาก MarTech ทำให้ธุรกิจสามารถลดต้นทุนในการหาลูกค้า ลดต้นทุนในการดูแลลูกค้า
ความท้าทายในการปรับใช้ MarTech แบ่งเป็น 3 ส่วน เรื่องที่หนึ่งคือ ‘คน’ ต้องมีคนในองค์กรที่มีความเข้าใจ MarTech เรื่องที่สอง คือองค์กรและกระบวนการทำงาน และเรื่องที่สามคือเปลี่ยนกลยุทธ์การทำธุรกิจและการตลาด
กระดุมเม็ดแรกที่จะขับเคลื่อนเรื่องนี้ได้คือ คนที่จะเข้ามาปรับเปลี่ยนองค์กร ปรับใช้เครื่องมือได้อย่างเหมาะสม เป็น Business Bu Champion มีสกิลการเป็นนักประสานสิบทิศที่จะดึงพลังจากหน่วยงานต่าง ๆ ในองค์กร ผนวกความร่วมมือทั้งจากฟากเทคโนโลยีและการตลาดมาทำงานสอดประสานกันให้ได้
หลักสูตร CMT ปั้นนักการตลาดยุคใหม่
เพนพอยต์ที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้คุณจิตติพงศ์เล็งเห็นว่าการจะใช้ MarTech ได้ ต้องการนักการตลาดเทคโนโลยีตัวจริง ซึ่งยังถือเป็นองค์ความรู้ใหม่ในประเทศไทย จึงคิดค้นหลักสูตร Chief Marketing Technologist (CMT) หลักสูตรผู้นำนักการตลาดเทคโนโลยีระดับสูงแห่งอนาคต
“จากความท้าทายทั้งหมดที่ผมเห็นมาหลายปี ผมเลยร่วมกับ FutureSkill แพลตฟอร์มพัฒนาทักษะแห่งอนาคต ในการออกแบบหลักสูตรที่จะช่วยติดอาวุธปลดล็อกศักยภาพผู้บริหารทั้งสายการตลาดที่เป็น Chief Marketing หรือ Chief Technology ให้ทั้งสองคนมาผลิตกำลังร่วมกันมีองค์ความรู้ทั้งสองด้าน”
หลักสูตรนี้ถือเป็นโปรแกรมแรกในไทยกับการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีการตลาด ด้วยหลักสูตรออฟไลน์ เรียนทุกวันเสาร์ 11 สัปดาห์สุดเข้มข้น กับเนื้อหาตั้งแต่รู้จักและปรับแต่ง Modernize Technology, การใช้ SAS - Software as a Service, การดีไซน์องค์กรยุคใหม่สอดรับกับ MarTech, การใช้ Data การเก็บข้อมูลลูกค้า การวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า และนำ Data ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
นอกจากนี้ยังมีเวิร์กชอปพิเศษ ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคน เอาธุรกิจของตัวเองมาลองเวิร์กชอป พร้อม Assignment หรือการบ้านให้ผู้เรียนได้ทดลองทำ และยังมีความแข็งแกร่งของคอมมูนิตี้ศิษย์เก่าที่พร้อมจะช่วยเป็นพี่เลี้ยงและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้วย
หลักสูตร CMT จึงตอบโจทย์สำหรับเจ้าของกิจการหรือ CEO ตั้งแต่ผู้บริหารธุรกิจ SME หรือผู้บริหารใน Cooperate ตั้งแต่ระดับ Manager, Director, Vice President หรือ C Level เพื่อติดอาวุธด้านเทคโนโลยีและด้าน Data ทำให้สามารถปรับปรุงการทำงาน ปรับปรุงคน ปรับปรุงระบบขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“ผมรับรองว่าองค์ความรู้ที่ได้จะทำให้คุณเปิดโลกทัศน์ใหม่ เห็นมุมมองด้านการตลาด เห็นมุมมองด้านผู้บริโภค สามารถที่จะสร้างธุรกิจใหม่ ทำให้องค์กรของคุณเติบโตได้อย่างรวดเร็วยั่งยืนและขยายออกไปได้ พาองค์กรก้าวข้ามความเปลี่ยนแปลงสู่ยุคเทคโนโลยีเพื่อสร้าง Innovation Business และ Transform เป็น New S-Curve ขององค์กรในทศวรรษนี้” คุณจิตติพงศ์กล่าวทิ้งท้าย
สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมคอร์สเพื่อเป็นผู้นำนักการตลาดเทคโนโลยีระดับสูงแห่งอนาคต สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://page.futureskill.co/chief-marketing-technologist
#ThePeople #หลักสูตรCMT #CMT #FutureSkill #MarTech #การตลาดเทคโนโลยี