06 ธ.ค. 2566 | 00:00 น.
ความสำเร็จในช่วงแรกของ LPN ที่ทำโครงการแรกจนมีกำไรระดับพันล้านในยุค 30 ปีก่อน อาจเป็นเรื่องหอมหวานเมื่อนึกถึง แต่การยืนระยะได้ยาวนานจนถึงปัจจุบันที่ต้องปรับตัวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงในสมรภูมิการแข่งขันที่ดุเดือดนั้นอาจหวานขมและท้าทายไม่แพ้กัน สู่อีกก้าวใหม่ของ LPN ในการทำบ้าน ‘น่าอยู่’ จนเกิดแคมเปญ #สารภาพว่าติดบ้าน กับบ้านที่ออกแบบมาตอบสนองวิถีชีวิตของผู้คนทุกเจนเนอเรชั่น ไปฟังซีอีโอผู้คร่ำหวอดในวงการเล่าถึงก้าวใหม่ของแบรนด์ LPN ที่เด็กลง และทันสมัยขึ้น เพื่อเป็นแบรนด์ที่นั่งในใจลูกค้า
LPN กับการอยากให้คนไทยมีบ้าน
จากจุดเริ่มต้นของ LPN ในการสร้างคอนโดที่คุ้มค่า คุ้มราคา หากย้อนไปในช่วง 20-30 ปีก่อนหน้านี้จะได้เห็นคอนโด LPN ราคาหลักแสนบาท ผุดขึ้นหลายแห่งทั่วกรุงเทพฯ ทำให้คนชั้นกลาง พนักงานออฟฟิส พ่อค้าแม่ค้า ผู้ประกอบอาชีพอิสระสามารถเข้าถึงการมีที่อยู่อาศัยได้เน้นจุดเด่นในด้านทำเลที่ตั้ง ที่เมื่อถึงวันนี้แทบทุกโครงการมีราคาสูงขึ้นชัดเจนจนเกิดการบอกต่อถึงความคุ้มค่าในการลงทุนระยะยาว ทำให้ชื่อเสียงของ LPN ได้รับการยอมรับทั้งในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ และลูกค้าบอกต่อปากต่อปาก
“สมัยก่อนอย่างตอนที่เราทำลุมพินีเพลส พระราม 9 ตอนนั้น ที่ดินราคาตารางเมตรละ 50,000 บาท เราขายห้อง 30 ตร.ม. ราคา 1.5 ล้าน ก็คิดว่าค่อนข้างสูงแล้วนะ แต่ตอนนี้ถ้าไซส์เท่ากัน ราคาขยับไปที่ประมาณ 4 ล้าน ลูกค้าที่อยู่มา 10 ปีแล้วตอนนี้ขายต่อ ราคาเพิ่ม 2-3 เท่า ก็คุ้มมากครับ”
เขาเล่าถึงการทำคอนโดมิเนียมยุคแรกๆ ของ LPN
เมื่อเห็นอาคารยูนิตขนาดใหญ่ สีเขียว ก็รู้ได้ทันทีว่า นี่คือคอนโดมิเนียมในเครือ LPN ที่กลายมาเป็นซิกเนเจอร์ กับห้องความสูง 2.4 เมตร ตัดทอนสิ่งที่ฟุ่มเฟือยออกไปใช้วัสดุก่อสร้างขนาดมาตรฐาน เพื่อลดของเสียจากการก่อสร้างทำให้แข่งขันด้านคุณภาพและราคาสมเหตุสมผลได้ ถูกใจลูกค้าเจน X ที่มองเรื่องความมั่นคงและความคุ้มค่าเป็นสำคัญประกอบกับการจ่ายค่าส่วนกลางที่ไม่สิ้นเปลืองการบริหารชุมชนหรือนิติบุคคลที่มีความเป็นมืออาชีพ รวมถึงการบำรุงรักษาอาคาร ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนับ 10 ปี จนกระทั่งหมดสัญญาแล้ว แต่บริษัทฯ ก็ยังคงดูแลรับผิดชอบหากเกิดจากความบกพร่องในขั้นตอนการก่อสร้าง โดยไม่ได้ปฏิเสธความรับผิดชอบ ด้วยความเชี่ยวชาญของ LPN ในการทำคอนโดขนาดใหญ่เช่นนี้ ทำให้ LPN เติบโตอย่างรวดเร็ว ในแต่ละปีมีโครงการใหม่ๆ ผุดขึ้นทุกมุมเมืองและกลายเป็นรากฐานสู่บริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ใครๆก็รู้จัก
“เราก็แซวตัวเองนะครับว่า ถ้าปิดตาลูกบ้าน แล้วพาไปคอนโด LPN ของอีกที่ก็แยกไม่ออกครับว่าเป็นที่ไหน เพราะมันเหมือนกันหมด (หัวเราะ) แต่ที่เป็นแบบนี้มันมีที่มาเรามองถึงการลดวัสดุสิ้นเปลือง วัสดุที่เหลือทิ้ง ลูกบ้านไม่ต้องจ่ายในสิ่งที่เขาไม่ได้ใช้แนวคิดแบบนี้ก็ตอบโจทย์ได้ดีในยุคหนึ่ง”
โอภาสเล่าถึงภาพจำที่ผู้คนมีต่อ LPN ในอดีต
LPN โฉมใหม่ที่เด็กลงและสนุกขึ้น
วิกฤตโควิดในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาได้ส่งผลกระทบต่อแวดวงอสังหาริมทรัพย์ผู้คนเริ่มชะลอการซื้อทรัพย์สินเพราะความไม่ไว้วางใจต่อสถานการณ์เศรษฐกิจทำให้บริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เองต้องปรับตัวขนานใหญ่ บางแห่งเร่งระบายสต๊อกเพื่อเพิ่มกระแสเงินสด บางแห่งเลือกที่จำศีล Wait and see รอดูสถานการณ์
สำหรับ LPN อาจเรียกได้ว่าเลือกวิธีแบบไฮบริด คือทั้งระบายสต๊อกเพื่อเพิ่มเงินสดควบคู่ไปกับการลดการเปิดตัวโครงการใหม่ๆ และใช้เวลาที่ตลาดชะลอตัวอยู่นี้
ปรับปรุงระบบหลังบ้านวางแผนกลยุทธ์เพื่อการกลับมาที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม ถ้าเป็นคาแรคเตอร์ของคนคือยังเป็นคนที่มีความน่าเชื่อถือแต่อ่อนเยาว์ลง มีเสน่ห์ และสนุกมากขึ้นยกตัวอย่างเช่นบ้านที่สร้างมานานหลายสิบปี แม้จะยังมีโครงสร้างแข็งแรงแต่ก็ยังมีการรีโนเวท แต่งหน้า-ทาปาก ให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ผู้อยู่อาศัยได้ ดังนั้น LPN จึงไม่มีเหตุผลที่จะไม่ลองปรับ - เปลี่ยนและพัฒนาแบรนด์ - เพื่อไปต่อบ้างสเต็ปแรกคือการทำ Customer Insight สำรวจความเห็นของผู้บริโภคทุกช่วงวัยและได้รับคำตอบว่าเป็นคอนโดที่มีคุณภาพ น่าไว้วางใจ ทำเลดี และเดินทางสะดวกแต่อาจยังไม่ตอบโจทย์ความภูมิใจของการอยู่อาศัยกับคนในยุคสมัยนี้ทำให้เกิดเป็นจึงเป็นที่มีของโจทย์ใหม่นั่นคือการสร้างที่อยู่อาศัยที่ทำให้คนอยากอยู่บ้าน เอนจอยโมเมนต์กับช่วงเวลาแห่งการพักผ่อนและตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนยุคนี้มากขึ้น
“LPN คือคอนโดอาหนิง (นิรุตติ์ ศิริจรรยา) เคยมีลูกค้าบอกเราแบบนี้จริงๆ (หัวเราะ) คือภาพลักษณ์ที่ดูน่าเชื่อถือ เป็นคนเรียบง่าย ไว้วางใจได้ แต่มีอายุ ซึ่งเราไม่แปลกใจนะ กลับภูมิใจครับเพราะมีภาพจำที่ดี แต่ก็อาจจะถึงเวลาต้องปรับเพิ่มอะไรใหม่ๆ เข้าไปบ้างให้เข้ากับยุคสมัยและกลุ่มลูกค้าที่เปลี่ยนไป”
โอภาสกล่าวถึงวันที่ตัดสินใจเพิ่มภาพจำใหม่ให้ LPN
น่าอยู่ สู่ #สารภาพว่าติดบ้าน
ที่อยู่อาศัยโฉมใหม่ของ LPN จึงนิยามว่าคือความ “น่าอยู่” ในทุกมิติ และต่อยอดสู่ Corporate Campaign ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘ติดธุระที่บ้าน’ จนทำให้เกิดแคมเปญโฆษณา #สารภาพว่าติดบ้าน ที่ไม่ได้เป็นเพียงแค่โฆษณา 1 ชิ้นที่ถ่ายทอดสู่สายตาผู้บริโภค แต่นั่นหมายถึงการเปลี่ยนโครงสร้างเดิมทั้งระบบของ LPN ด้วย
นับตั้งแต่ทัศนคติของผู้บริหารและพนักงาน กระบวนการออกแบบจากที่เคยออกแบบคอนโดความสูง 2.4 เมตร ก็เพิ่มความสูงขึ้น การออกแบบในสไตล์ที่ต่างออกไปในแต่ละโครงกามตามกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย มีความพรีเมียมยิ่งขึ้น พร้อมเพิ่ม Facilities ที่ตรงใจครบครันทั้งด้านฟังก์ชั่นการใช้งานและความสวยงาม
ไปจนถึงการเลือกใช้วัสดุ และเทคโนโลยีต่างๆ อย่าง การติดโซล่าร์เซลล์ การนำเทคโนโลยี IOT เข้ามาใช้ เพื่อโอบรับกับไลฟ์สไตล์ยุค 5G ของผู้คน กลายเป็นความน่าอยู่ที่ตอบโจทย์และตรงใจ
“คำว่าสารภาพว่าติดบ้าน สื่อสารถึงบางทีเมื่อก่อนหลังเลิกงานหรือวันหยุดเราจะต้องออกไปเที่ยว ไปข้างนอกบ้าน มีนัดกับเพื่อนฝูง แต่พอเรามีบ้านที่น่าอยู่ ทำให้อยากอยู่บ้านเฉยๆ มีความสุขกับการทําอะไรที่บ้านมากกว่า จนต้องสารภาพว่าติดบ้าน”
โจทย์ใหม่ของแบรนด์อสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ คือการสร้างประสบการณ์ใหม่ทั้งกลุ่มเป้าหมายเดิม และขยายสู่กลุ่มเป้าหมายใหม่ เพื่อสร้างการรับรู้ถึงที่อยู่อาศัยคุณภาพของ LPN ทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม และคอนโด ที่เต็มไปด้วยความน่าอยู่
การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ จึงไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงตัวตนเพื่อเป็นคนอื่น แต่เปลี่ยนตัวเองให้ดียิ่งขึ้นแต่ยังคง Core Value ทั้ง 5C ของ LPN ไว้ ทั้ง Comfort การอยู่อาศัยที่สบายกายสบายใจ , Convenience ความสะดวกสบาย , Care for well-being สุขภาวะที่ดีทั้งกายและใจ , Care the planet การให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม เพื่อโลกที่น่าอยู่ และ Community & Social การให้ความสำคัญกับสังคมที่น่าอยู่ ซึ่งทั้งหมดนี้หากขมวดรวมเป็นคำเดียว อาจกล่าวได้ว่า LPN กำลังสร้างบ้านและคอมมูนิตี้ที่น่าอยู่ อยู่เย็นเป็นสุขผู้อยู่อาศัยมีความสุขและความสงบภายในจิตใจเพื่อพร้อมต่อการใช้ชีวิตอย่างดีที่สุด
“การทําบ้านให้คนรวย ใครก็ทําได้ มันทําไม่ยากครับ ใช้เงินลงทุนไปซื้อที่ราคาแพงๆ จ้างบริษัทออกแบบ หาคนมาทำการตลาดให้ แต่เราอยากให้คนทุกกลุ่มเข้าถึงการมีที่อยู่อาศัยได้ทำให้คนมีความสุขจากการมีบ้าน และนี่คืองานที่ทำแล้ว ผมรู้สึกว่ามีคุณค่า มันเป็นจุดที่สมดุลระหว่างการทำธุรกิจ การให้สังคม สังคมก็ได้ ธุรกิจก็ได้ ลูกค้าก็ได้ LPN ก็จะอยู่ตรงนี้ครับ”
โอภาสกล่าวทิ้งท้ายถึงหลักคิดการทำงานตลอดระยะเวลาการทำงานในครอบครัว LPN กว่า 30 ปีของเขา