‘Prosecco’ อิตาเลียนไวน์ ตามบันทึกลายลักษณ์อักษรมีมานาน 252 ปี แต่คนไทยยังรู้จักน้อย

‘Prosecco’ อิตาเลียนไวน์ ตามบันทึกลายลักษณ์อักษรมีมานาน 252 ปี แต่คนไทยยังรู้จักน้อย

‘Prosecco’ อิตาเลียนไวน์ ที่มีมานาน 252 ปี แต่คนไทยยังรู้จักน้อย และเรื่องราวของ ‘ธีรพงศ์ ประจักษ์เวช’ ชายที่อยากให้เมืองไทยมี Prosecco Specialist และชูการเป็นเครื่องดื่มที่อยู่ในชีวิตประจำวันคนไทยได้

  • ‘Prosecco’ อิตาเลียนไวน์ ความจริงมีมานาน 252 ปี 
  • คนไทยยังคุ้นเคยกับ ไวน์ และแชมเปญมากกว่า Prosecco
  • รีวิว ร้าน Felici Prosecco Bar and Dining และอาหารที่มาแพร์ริ่งกับ Prosecco โดยเชฟ ‘Marian Baranek’

 

ทำไมเวลาที่เราเฉลิมฉลองวันสำคัญ มักจะเห็นเครื่องดื่มประเภทเดิม ๆ ตลอด และพอถามคนบางคนเกี่ยวกับ Prosecco ก็มักได้คำตอบคล้ายกันว่า “อะไรนะ...ตะกี้เรียกว่าอะไรนะ” (สำหรับคนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงนักดื่ม)

เราถึงสนใจเรื่องราวของ ‘Prosecco’ ขึ้นมาเล่าในพื้นที่นี้

Prosecco ผลิตในอิตาลีที่เดียวในโลก

ถ้าอ้างอิงตาม Giornale d'Italia หนังสือพิมพ์ชื่อดังในประเทศอิตาลี มีการพูดถึง Prosecco ครั้งแรกในปี 1772 หรือ 252 ปีก่อน โดยนักวิชาการที่ชื่อว่า ‘Francesco Maria Malvolti’ เขาบอกว่า ในอิตาลีมีการผลิตไวน์ท้องถิ่นคุณภาพขึ้นมา และเขายังขอบคุณองุ่นสายพันธุ์มากมายจากหลายพื้นที่ ตั้งแต่ Marzemini, Bianchetti, Prosecchi, Moscatelli, Malvasie, Glossari ว่ามีส่วนอย่างมากที่ทำให้เกิดไวน์ท้องถิ่นขึ้น

แต่ความพยายามของเกษตรกรและผู้เชี่ยวชาญ ในที่สุด พวกเขาก็ได้ Prosecco ไวน์จาก 2 พื้นที่ที่มีคุณภาพที่สุดในอิตาลี นั่นก็คือ Conegliano และ Valdobbiadene พื้นที่บนภูเขาที่ราบสูง ที่พัฒนาไวน์ท้องถิ่นจนสามารถกำหนดคุณภาพระดับ Prosecco Superiore DOCG หมายถึงไวน์ที่มีคุณภาพสูงสุดจากอิตาลี

ชื่อเสียงของ Prosecco ซึ่งชื่อนี้มีที่เดียว ก็คือ ในอิตาลี โด่งดังขึ้นจนไปถึงหลายประเทศในยุโรป และอเมริกา ขณะที่ในปี 1876 เริ่มต้นก่อตั้งโรงเรียน Oenology School ใน Conegliano เพื่อการศึกษาเรื่องไวน์ของอิตาลีโดยเฉพาะเป็นแห่งแรกในประเทศ

โดยการสอนที่โรงเรียนแห่งนี้ จะเริ่มตั้งแต่การปลูกองุ่นสายพันธุ์ที่ดีที่สุดเพื่อ Prosecco การเก็บด้วยมือเท่านั้น ไปจนถึง กระบวนการปรับแต่งไวน์อย่างละเอียด ซึ่งมีหลายเรื่องที่อ่อนไหวมากระหว่างขั้นตอนนี้ เพื่อให้อิตาเลียนไวน์มีความแตกต่างจากไวน์ที่อื่น

นี่เป็นจุดเริ่มต้นของวิธีสปาร์กลิ้งไวน์ ก็คือ การผลิตฟองสบู่ใน Prosecco Superiore D.O.C.G. ผู้ผลิตไวน์จะใช้วิธีการของอิตาลี ที่เรียกว่า Martinotti (เป็นวิวัฒนาการของ Metodo Italiano) คือภายในถังมีแรงดันสูง ไวน์พื้นฐานจะต้องผ่านการหมักครั้งที่สอง กระบวนการนี้ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งจะถูกกักไว้เป็นฟองในไวน์

‘Prosecco’ อิตาเลียนไวน์ ตามบันทึกลายลักษณ์อักษรมีมานาน 252 ปี แต่คนไทยยังรู้จักน้อย

ทั้งนี้ เราได้ถามกูรูด้าน Prosecco ในไทย เกี่ยวกับเครื่องดื่มประเภทนี้ด้วย ‘ธีรพงศ์ ประจักษ์เวช’ Co-Founder ร้าน Felici Prosecco Bar and Dining ย่านสุขุมวิท 20 ด้วยคอนเซปต์ร้านที่อยากจะเห็นไวน์บาร์ในไทยที่เน้นเสิร์ฟ Prosecco จากอิตาลีเป็นหลัก

เขาอธิบายเกี่ยวกับ Prosecco Superiore DOCG ว่าจะมีการแบ่งตามความฟู่อยู่ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย และรสชาติก็ขึ้นอยู่กับระดับน้ำตาล หรือขั้นตอนการ Dry ด้วย แต่อิตาเลียนไวน์จะเป็นเครื่องดื่มที่มีรสชาติเพื่อให้ ‘ความสดชื่น’

แต่ก่อนจะไปพูดถึงการจับคู่กับอาหารอิตาเลียนโดยแท้ ทำไม ‘ธีรพงศ์’ เลือกตลาด Prosecco ตั้งแต่แรก ทั้งที่คนไทยก็อาจจะยังไม่คุ้นเคยมากนัก

 

Prosecco กับ คนไทย

ก่อนที่เราจะทำความรู้จัก ธีรพงศ์ ในฐานะเจ้าของร้าน Prosecco Bar นี้ ขอเสพกับบรรยากาศร้าน Felici Prosecco Bar and Dining (คำว่า Felici แปลว่า ความสุขในภาษาอิตาลี) ให้หนำใจนิดนึง บรรยากาศสบาย ๆ มูดแอนด์โทนเป็นกึ่งทางการ แต่ก็มีความ cozy ด้วยการเลือกใช้สีน้ำตาล ดำ ทองๆ ส้ม ๆ บิ้วความรู้สึกกันเอง

เริ่มสนทนาอย่างกันเอง จากเจ้าของร้าน เขาเล่าว่า เส้นทางชีวิตเกี่ยวพันกับธุรกิจน้ำมัน อสังหาริมทรัพย์มาตลอด เพราะที่บ้านก็ทำเกี่ยวกับอสังหาฯ

เวล่า 10 ปีที่ ธีรพงศ์ ใช้ชีวิตและทำงานที่อเมริกา ทำให้รู้สึกว่าเพียงพอแล้ว และอยากกลับมาที่เมืองไทย มาเริ่มต้นธุรกิจ

จุดเริ่มต้นที่ทำให้เขาเริ่มรู้จัก Prosecco ครั้งแรกในชีวิตก็คือ ‘ทริปประชุมที่อังกฤษ’

“ตอนนั้นผมไปประชุม หลังจากที่ประชุมเสร็จลูกค้าก็ชวนไปนั่งต่อ นั่งคุยกันที่ Prosecco Bar ก็ทำให้ผมได้รู้จักว่า Prosecco มันมีอะไรมากมาย ตอนแรกผมเข้าใจว่า Prosecco คงไม่ได้มีอะไรมากมาย แต่จริง ๆ มันมีอะไรน่าค้นหาเยอะแยะ มีเสน่ห์ของมันนะครับ ทริปนี้ก็ได้เจอประสบการณ์เกี่ยวกับ Prosecco เยอะมาก อย่างตอนเช้าไป Borough Market ก็มีคนต่อแถวกันทาน Prosecco ตั้งแต่เช้า ผมก็ตกใจ เอ้ย ทำไมเขาทานกันตั้งแต่เช้า ซึ่งเขาทานกันก็เพราะว่ามันสดชื่นครับ เป็นประสบการณ์ใหม่ ผมก็ได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ว่า Prosecco ทานได้ทั้งวันอะไรอย่างนี้ครับ ก็ยิ่งทำให้อยากศึกษาค้นคว้า อยากรู้จักมากขึ้นเรื่อย ๆ ครับ”

‘Prosecco’ อิตาเลียนไวน์ ตามบันทึกลายลักษณ์อักษรมีมานาน 252 ปี แต่คนไทยยังรู้จักน้อย

ด้วยความที่ ธีรพงศ์ใช้เวลาศึกษา Prosecco มานาน เมื่อกลับเมืองไทย เขาจึงมองว่า เป็นธุรกิจที่น่าสนใจเพราะไทยยังไม่มี ‘Prosecco Specialist’ แม้ว่าที่ผ่านมาไทยก็นำเข้า Prosecco หลายปีแล้ว ร้านอาหาร หรือ โรงแรมก็มี Prosecco แต่คนไทยหลายคนมาก ๆ ที่ไม่รู้ว่า Prosecco คืออะไร รู้แค่ว่าเป็นไวน์งจากอิตาลี

แต่ถ้าพูดตรง ๆ คนไทยก็ยังมีน้อยมาก ๆ ที่รู้จัก Prosecco เมื่อเทียบกับยุโรปหรืออเมริกา แล้วก็ยังนิยมน้อยกว่ามากเช่นกัน

“ที่ยุโรป-อเมริกา เขาเหมือนแบบเป็น culture เป็น lifestyle เพราะว่า Prosecco มันอยู่ในชีวิตประจำวันของพวกเขาเลย เขาทานกันทั้งวันครับ ก็เลยมองว่าตรงนี้เราก็สามารถที่จะให้ประสบการณ์ใหม่ ๆ กับคนที่นี่ได้”

ธีรพงศ์ ได้อธิบายต่อว่า แชมเปญ และ Prosecco คล้ายกัน เพราะ Regional Wine Prosecco อาจจะเป็นทางเลือกของคนที่ชอบ Sparkling คือ ไวน์ที่มีฟอง คนไทยก็จะคุ้นเคยแชมเปญ เมื่อเราถามว่า กังวลแค่ไหนเพราะคนไทยยังจดจำแชมเปญมากกว่า Prosecco เพราะยังมีคนรู้จักน้อย

“ผมไม่ได้กังวลมากเท่าไหร่ เพราะจริง ๆ แล้วทุกวันนี้นะครับ Prosecco ขายดีกว่าแชมเปญ แล้วเป็น Sparkling Wine ที่ขายดีที่สุดอยู่แล้ว ความนิยมก็มากขึ้นเรื่อย ๆ เพียงแต่เป็นความนิยม Prosecco ในยุโรป ในอเมริกา แต่กระแสบริโภคที่มากขึ้นที่มากขึ้น ในเมืองไทยก็จะค่อย ๆ ตามไปนะครับ แต่อาจจะช้าหน่อย ค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไปครับ”

“ผมคิดว่า แชมเปญอาจจะจับต้องได้ยากหน่อยนึง บางทีถ้าจะทานทั้งทีก็ต้องเป็นวาระพิเศษโอกาสสำคัญ แต่ Prosecco มันอยู่ในชีวิตประจำวัน ภาพจำมันเป็นแบบนั้น คือ เราสามารถที่จะเฉลิมฉลองหลังเลิกงานได้กันง่าย ๆ แบบนั้นเลยครับ”

“ผมอยากให้คนไทยได้มีโมเมนต์ที่จะ celebrate ได้ทุกวัน ก็คือ Everyday Celebration ทุกวันนี้เราทำงานกันหนัก ยิ่งคนกรุงเทพฯ รถก็ติด ผมอยากให้เรามี Work-Life Balance เหมือนอย่างคนยุโรป คนเราจะทำงานได้มันต้องขับเคลื่อนด้วยความสุขเนาะ ด้วยจิตใจ ถ้าเรามี Work-Life Balance มีจิตใจสุขภาพจิตที่ดีมันก็ช่วยให้เราทำงานได้ดี ผมเชื่อแบบนั้นครับ”

แต่ก็อดที่จะไม่ถามไม่ได้ เพราะว่า Prosecco ก็เป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่มีแอลกิฮอล์ และการโปรโมท Everyday Celebration สำหรับ ธีรพงศ์ หนักใจหรือไม่ เพราะอาจจะไปขัดกับความเชื่อ หรือ จารีตบางอย่างของไทยหรือไม่

“ด้วยความที่ Prosecco เป็นเครื่องดื่มที่แอลกอฮอล์ค่อนข้างต่ำกว่าไวน์ขาวไวน์แดง แล้วก็ดื่มง่ายครับ แล้วก็แน่นอนเยาวชนหรือว่าผู้ที่คิดว่ายังไม่มีวุฒิภาวะเพียงพอก็ยังไม่สมควรนะครับ เพราะว่าทุกครั้งที่ดื่มพวกเขาต้องมีสติเป็นสิ่งสำคัญเลยครับ ผมแค่อยากเป็นทางเลือกให้คนที่สนใจ คือมันเป็น lifestyle ของคนอยู่แล้ว คนไหนที่เขาดื่มเขาก็ดื่มนะครับ ถ้าคนที่ไม่ดื่มเราก็ไม่ได้ไปผลักดันอะไร เราแค่อยากสร้างโมเมนต์ให้เขามากขึ้น ได้มีสุขภาพจิตที่ดีครับ”

 

Prosecco กับอนาคตมุมธุรกิจอื่น

แม้ว่าร้าน Felici Prosecco Bar and Dining เพิ่งเปิดเมื่อปี 2022 อยู่ชั้น 1 ของโรงแรมแถว ๆ สุขุมวิท 20 ย่านที่มีความหลากหลายพอ ๆ กับ Prosecco ธีรพงศ์ มองว่า “การจัดทัวร์ดูการปลูก Prosecco ที่แหล่งกำเนิด” น่าจะเกิดขึ้นได้เร็วที่สุด เพราะตัวเขาเองก็ทำเกี่ยวกับธุรกิจโรงแรมอยู่แล้ว

“ไอเดียมันเกิดขึ้น หบังจากที่ผมแชร์ให้เพื่อนฟัง แล้วเพื่อน ๆ ก็อิน มี passion กับมัน ก็เลยคิดว่าน่าจะเป็นไปได้ แล้วก็เป็นไปได้เร็วที่สุด เป็นโปรเจกต์ที่เป็นไปได้เร็วที่สุด อาจจะเริ่มจาก Exclusive tour เล็ก ๆ ก่อน แล้วเดี๋ยวค่อยดูว่าจะไปยังไงต่อ”

‘Prosecco’ อิตาเลียนไวน์ ตามบันทึกลายลักษณ์อักษรมีมานาน 252 ปี แต่คนไทยยังรู้จักน้อย

ทั้งนี้ ก่อนจะไปถึงจุดนั้น วันนี้เราอยากรีวิวการแพร์ริ่ง Prosecco และอาหารที่ทางร้านเลือกมาให้ลูกค้าแล้ว โดยคัดสรรจากเชฟชื่อดัง ‘Marian Baranek’ ผู้ท้าชิงที่ทำให้เชฟเอียนต้องคิดหนักในการปะทะฝีมือจากรายการ Iron Chef มาแล้ว

เริ่มด้วย starter จานแรกก็คือ ‘Oyster’ หอยนางรมฝรั่งเศส ที่เข้ามาแพร์ริ่งกับ Prosecco Brut ชวนให้รสชาติความสดของอาหารทะเลเปิดต่อมรับรสได้ดียิ่งขึ้น

‘Prosecco’ อิตาเลียนไวน์ ตามบันทึกลายลักษณ์อักษรมีมานาน 252 ปี แต่คนไทยยังรู้จักน้อย

จานที่ 2 คือ ‘PLATTER COLD CUT & CHEESE’ ที่แพร์ริ่งกับ Prosecco Extra Brut ทั้งแฮมและชีส เพิ่มรสชาติด้วยอิตาเลียนไวน์ ที่รสชาติเริ่ม ๆ ออกหวานนิด ๆ ที่ปากลิ้น ถือเป็นรสสัมผัสใหม่เป็นประสบการณ์ที่น่าสนใจ ยากจะอธิบายออกมาเป็นคำพูด แต่รวม ๆ แล้วดีทีเดียว

‘Prosecco’ อิตาเลียนไวน์ ตามบันทึกลายลักษณ์อักษรมีมานาน 252 ปี แต่คนไทยยังรู้จักน้อย

ส่วนจานที่ 3 ‘BLACK MUSSELS & SCALLOPS’ ที่มาแพร์ริ่งกับ Prosecco Extra Dry เพื่อให้ได้รับรสชาติอาหารทะเลได้อย่างเต็มที่ การจับคู่กับเครื่องดื่ม extra dry คือออกหวานมากขึ้น เป็นการแพร์ริ่งที่น่าประทับใจสำหรับเรา เพราะการเบิร์นหอยเชลล์ และหอยแมงภู่ดำ เมื่อมาคู่กับรสชาติเครื่องดื่มหวาน ๆ มันดีมาก ๆ

‘Prosecco’ อิตาเลียนไวน์ ตามบันทึกลายลักษณ์อักษรมีมานาน 252 ปี แต่คนไทยยังรู้จักน้อย

มาที่จาน main course เราเลือกเป็น ‘GRILLED SEABASS’ มาแพร์ริ่งกับ Prosecco Brut ทั้งตัวน้ำซอสที่ราด และปลากระพงย่างไฟ ปิดท้ายด้วยเครื่องดื่มที่ดึงรสชาติหนักขึ้นมาอีกหน่อย ไม่ติดหวาน ถือเป็นการเลือกที่ฉลาดเพราะไม่อย่างนั้นอาจจะไปกลบรสชาติมันบดเสียหมด

‘Prosecco’ อิตาเลียนไวน์ ตามบันทึกลายลักษณ์อักษรมีมานาน 252 ปี แต่คนไทยยังรู้จักน้อย

ส่วนที่ชอบมาก ๆ คือ เมนูสุดท้าย ‘RASPBERRY SORBET PROSECCO FLOAT’ ราสเบอร์รี่ ซอร์เบต์ ที่ใช้ Prosecco Dry มาเพิ่มรสชาติให้ออกหวานนิด ๆ เพื่อไม่ให้เสียรสชาติความอมเปรี้ยวหน่อย ๆ ของตัวฮีโร่อย่างราสเบอร์รี่ เพราะหากเป็นตัว extra dry ที่หวานเกินไป คงน่าเสียดายรสชาติแบบนี้

‘Prosecco’ อิตาเลียนไวน์ ตามบันทึกลายลักษณ์อักษรมีมานาน 252 ปี แต่คนไทยยังรู้จักน้อย

เรียกว่าแต่ละเมนูเชฟบรรจงดีไซน์ขึ้นมาได้อย่างน่าประทับใจ แต่ยังมีอีกหลายเมนูที่ยังไม่ได้ลอง และอยากลองมาก ๆ คิดว่าครั้งหน้าหากมีโอกาสอีกครั้ง คงไม่พลาดออเดอร์เมนูที่ยังไม่เคยลองในวันนั้นแน่ ๆ

หากใครสนใจอยากซึมซับความเป็นอิตาเลียนทั้งอาหารและไวน์ สามารถตามไปได้ที่ร้าน Felici Prosecco Bar and Dining ที่ซอยสุขุมวิท 20 ร้านอยู่ด้านหน้าของโรงแรม Tastoria Collection Hotel Sukhumvit มีทั้งโซน indoor และ outdoor ให้เลือกตามใจชอบ ให้บริการตั้งแต่เวลา 17.00 - 01.00 น. ครั้งหนึ่ง...ไปลองเป็นคนอิตาเลียนดูกันค่ะ แล้วคุณอาจจะหลงรัก Prosecco อย่างเราก็ได้

 

 

ภาพ: Felici Prosecco Bar and Dining

อ้างอิง (เพิ่มเติม):

Prosecco house

What's the Difference Between Prosecco and Champagne?

ทำความรู้จัก Prosecco (โปรเซคโก้) สปาร์คกลิ้งไวน์จากอิตาลี