15 มี.ค. 2567 | 16:29 น.
KEY
POINTS
‘ออกแบบประสบการณ์ที่ดีที่สุด’
แก่นการทำงานหลักของมิวสิกเฟสติวัลแบรนด์ GFest ที่มีงานหลากหลาย ทั้ง Rock Mountain, Rock on the Beach หรืองานเอาใจสายวัยรุ่นอย่าง ‘Monster’
และผู้ที่อยู่เบื้องหลังการสร้างสรรค์เทศกาลดนตรีเหล่านี้ คือ ‘น้ำ’ ฝากฝัน ศรีสันติสุข Director-Showbiz Promoter ทีม GFest ภายใต้ GMM SHOW อดีตคนทำงานโฆษณาที่ผันตัวมาทำงานคอนเสิร์ต
แม้จะเปลี่ยนสายงานไปอย่างสิ้นเชิง แต่เธอเชื่อว่าสิ่งสำคัญของการทำงานคอนเสิร์ต คือ การเข้าใจคน ทำงานกับข้อมูล เพื่อออกแบบประสบการณ์ที่ตอบโจทย์แบรนด์และคนที่เข้ามาดูทุกคน
พวกเขาคือใคร ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร ใช้ชีวิตรูปแบบไหน เป็นสิ่งที่เธอต้องทำการบ้านและทำความเข้าใจก่อนจะลงมือทำงานทุกครั้ง
“การทำ Event มันเป็นเรื่องการเตรียมตัวและการแก้ปัญหาหน้างาน บางอย่างที่เราเตรียมดีแล้ว พอมาถึงหน้างานมันอาจจะไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด แล้วคนมางานเรา เขามาด้วยความตั้งใจ เราไม่อยากทำให้ผิดหวัง”
และนี่คือแนวคิดและเบื้องหลังของผู้บริหารหญิงที่ทำให้เทศกาลดนตรีและคอนเสิร์ตสายร็อกเป็นเทศกาลที่หลายคนรอคอย คนดูแฮปปี้ ศิลปินแฮปปี้ และผู้จัดเองก็แฮปปี้
ฝากฝัน : เราเด็กกิจกรรมแบบสุด ๆ ไปเลย เรียกว่ามีกิจกรรมอะไร ทำหมด เป็นเชียร์ลีดเดอร์ ม.ปลาย เป็นประธานสี เราเรียนแทบทุกอย่าง รำก็เรียน ตีขิมก็เรียน ภาษาอังกฤษก็เรียน ช่วงใกล้ admission ก็คือเรียนทุกวิชา เรียนพิเศษทุกวิชา ทุกวัน เพราะฉะนั้นเราเป็นคนเต็มที่กับทุกอย่างตั้งแต่เด็ก กิจกรรมเราก็สุด เรียนเราก็ไปสุด
เราเรียนวารสารศาสตร์ เอกโฆษณา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แล้วความฝันของเด็กทำโฆษณามี 2 อย่าง คือไม่เป็น creative ก็ client service เราเลือกเป็น client service น่าจะทำอยู่ 6 - 7 ปี ทำจนรู้สึกว่ามันเต็มที่สำหรับเรา ตื่นขึ้นมาแล้วทุกอย่างมันวนลูป เริ่มวน แคมเปญหลาย ๆ ประเภทเราก็ได้ทำแล้ว เราทำ event ทำ TVC คือเรียกว่าทำทุกสิ่งอย่าง อาจจะเป็นชีวิตวัย 28 ที่กำลังถูกกดดันด้วยเลข 3 เราอยากหาอะไรที่แตกต่างจากเดิม ก็เลยน่าจะเป็นจุดตัดสินใจที่เดินออกมาจากวงการโฆษณา ณ ตอนนั้น
แล้วก็เข้ามาทำงานอยู่แกรมมี่ 8 ปี เป็น marketing ด้วย ได้ทำ online content แล้วก็ทำซีรีส์เด็กใหม่ จนกระทั่งมาจบที่ตอนนี้ ก็คือทำ Showbitz ทำ concert ทำ music festival เหมือนเราก็เดินทางมาสุดทุกอย่างเหมือนกัน
ฝากฝัน : จริง ๆ เราโตมากับศิลปินร็อกตั้งแต่เด็ก คอนเสิร์ตครั้งแรกที่เราไปดู คือ Hotwave Music Awards เราเรียนที่โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว แล้วพี่ ๆ วงแคลช เขาประกวด เราก็ไปในฐานะรุ่นน้องที่ไปเชียร์รุ่นพี่ในฐานะโรงเรียนเดียวกัน เราว่านั่นอาจจะเป็นจุดประกายที่ทำให้เราชอบดูดนตรี รู้จัก Bodyslam รู้จัก Labanoon, Clash และศิลปินร็อกมากขึ้น
ตอนนั้นตื่นเต้นมาก ครั้งที่เราไปน่าจะเป็น event ใหญ่ที่สุดในช่วงนั้น เราไม่เคยไปคอนเสิร์ตไหนเลย อันนั้นเป็นครั้งแรก พ่อแม่ยังต้องมารับ เด็กมาก หลังจากนั้นกลายเป็นว่า เราติดตาม Hotwave Music Awards มาเรื่อย ๆ เพราะมันก็มีโรงเรียนเรา โรงเรียนอื่น ๆ มาแข่ง ในช่วงชีวิตเราตอนนั้นมันเป็นกิจกรรมที่เด็กมัธยมต้องเข้าร่วม ไม่ว่าจะประกวด ฟัง ติดตามหรือไปดูก็ตามแต่ อันนั้นน่าจะเป็นจุดประกายแรกที่ทำให้เข้ามาทำงานนี้ด้วย
ฝากฝัน : มันก็เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ นะ คอนเสิร์ตแต่ละยุค ไม่เหมือนกัน แต่ก่อนมันไม่ได้มีจอใหญ่ ไม่ได้มีรอกหมุน ไม่ได้มีเวทีลอย เดี๋ยวนี้มันจะมีความหวือหวา ความเทคโนโลยี เรื่องของ mechanic มากขึ้นที่เข้ามาช่วย แต่ละยุคความตื่นเต้นก็ต่างกัน
ฝากฝัน : หลักคิดที่ใช้ทำงานอยู่ถึงปัจจุบัน คือ คิดว่าตัวเองเป็นคนดูเสมอ ตอนเราเป็นคนดู เรารู้สึกสนุกกับอะไร เราเจออะไรแล้วเราไม่ชอบ มันคือการ design ประสบการณ์ให้เขา พอเราเป็นผู้จัด เราก็ต้องคิดถึงคนดูให้มาก ๆ นี่ก็เลยเป็นสิ่งที่เป็นหลักในการทำงานอยู่เสมอว่า คิดเป็นคนจัด เพราะถ้าเราคิดเป็นคนจัด เราจะลืมว่าคนดูเขาไม่รู้อะไรเลย เขาเข้ามาในพื้นที่ของเรา แล้วเขาก็ปล่อยเรานำพาไป
ฝากฝัน : จริง ๆ เราว่าตั้งต้น มันคงต้องคิดจาก concept งานก่อน เป็นงานแบบไหน จัดที่ไหน กลุ่ม target เป็นใคร brand เป็นแบบไหน step ต่อไป เราก็จะมาดู จริง ๆ มัน parallel กันแหละ เรื่องสถานที่ เรื่องศิลปิน concept แบบนี้ควรจะไปจัดที่ไหน ศิลปินเป็นใคร
พอหลังจากนั้น เราก็จะมาเริ่มออกแบบ มันจะมีคนหลักหมื่นเข้ามาใช้ชีวิตในงานของเรามากกว่าครึ่งวัน เราก็พยายาม design ให้คนที่เข้ามา เราจะต้องมีอะไรให้เขาบ้าง อาหารการกิน ห้องน้ำ ที่จอดรถ ป้ายบอกทาง เวทีเริ่มกี่โมง เลิกกี่โมง เขามาอย่างไร กลับอย่างไร
แล้วงานมันค่อนข้างใหญ่ เราต้องบรีฟให้กับส่วนที่เกี่ยวข้อง ก็จะมีทั้งในพาร์ตโปรโมต บรีฟทีมเพื่อที่จะเอา concept เหล่านี้ทำเป็นชิ้นงานออกมาเพื่อโปรโมต ทำออกมาแบบไหนเพื่อสะท้อนแบรนด์ ทำแบบไหนเพื่อให้ถึง target ทำอย่างไรให้ขายบัตรได้
มีเรื่อง merchandise ในงาน เราต้องมีขายของที่ระลึกสินค้าประเภทไหนที่เหมาะกับงานของเรา แต่ละประเภทก็ไม่เหมือนกัน เราต้องมีการคุยกับฝั่ง marketing งานเรามีแบบนี้ ไปขาย sponsor ที่เหลือก็เป็นเรื่อง production แหละ ก็เป็นเรื่องแบบ ผลิตเวทีทำเวทีอย่างไรให้สะท้อนความเป็นแบรนด์เราได้
ฝากฝัน : เราอยากออกแบบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้เขา โดยเฉพาะเรื่องเวที แสง สี เสียง เพราะนั่นคือ core experience เขามาดู music festival เพราะเขาอยากมาฟังดนตรี เพราะฉะนั้น การได้มาฟังดนตรีที่แตกต่าง ได้มาสัมผัสประสบการณ์ที่ไม่ใช่การฟังจาก music streaming ที่บ้าน มันต้องดีไปกว่านั้น เพราะฉะนั้นอย่างน้อย ประสบการณ์ของเขาคือประสบการณ์ในการฟังดนตรี music festival มาฟังดนตรี production เวที แสง สี เสียง อย่างน้อยต้องถึง เสียงต้องดี แสง สีต้องมาพร้อม
ฝากฝัน : ตั้งแต่มีแบรนด์ GFest มา เราเริ่มที่ Rock Mountain ปีแรกก่อนโควิด-19 หลังโควิด-19 เราเปิดมาด้วย MARATHON CONCERT FEST เป็น concert festival ใน IMPACT Arena จัด 2 วันแบบมีความยาวต่อเนื่อง เลยใช้ concept ว่า marathon หลังจากนั้นเราทำคอนเสิร์ตใหญ่ หนุ่ม กะลา
ต่อจากนั้นจะเป็น GeneLab Concert เป็นคอนเสิร์ตคอมมูนิตี้ของ GeneLab แล้วก็เป็น Rock Mountain ที่ทุกคนจะได้พบกับ premium rock festival แบบ production แสง สี เสียงอลังการ จัดเต็ม concept ก็แตกต่างกันในแต่ละปี
ปีถัดไปก็เริ่มมาเปิดเป็น Monster Music Festival ที่เป็น music festival ของวัยรุ่น ส่วนปี 2024 นี้มีงานใหม่ คือ Rock on the Beach มี community เป็นไลฟ์สไตล์ rock music festival เป็นงานแนวไลฟ์สไตล์ จะเป็นงาน international เป็น rooftop ขนาดใหญ่ ริมทะเล เป็นการดูคอนเสิร์ตริมทะเล จริง ๆ งานมันค่อนข้างกว้างและหลากหลาย
ฝากฝัน : น้ำว่าสิ่งสำคัญในการทำงาน โดยเฉพาะ GFest ที่มีหลากหลายประเภท สำหรับน้ำคือ อย่าเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง เพราะเราไม่ใช่ target ของงาน เราจะไม่ชนะเลย ถ้าเราไม่เข้าใจ consumer เพราะฉะนั้น 4 งานที่ทำให้มันแตกต่างกัน คือเราต้องเข้าใจคนที่เขามางานเราจริง ๆ ว่าเขาต้องการอะไร เขามาดูอะไร เพราะแค่ generation แต่ละ generation ก็ต่างกันแล้ว ยกตัวอย่าง gen X เขาอายุเยอะ ต้องการความสะดวกสบาย gen Z ก็คือ ฉันขอลุย เพราะฉะนั้นความต้องการของคนแต่ละงานไม่เหมือนกัน ตั้งสติให้ได้ว่า งานนี้เป็นแบบนี้ อีกงานเป็นอีกแบบหนึ่ง บางอย่างมันไม่ควรอยู่งานนี้ เพราะ target เป็นแบบนี้
ฝากฝัน : การเริ่ม project แต่ละอัน เราจะทำ research ทำงานควบคู่กับแผนก CRM ที่เป็น data เราจะเริ่ม research เลย สมมติว่างานนี้ตั้งต้นมาว่า เราต้องการวัยรุ่น เราก็ทำ research ว่าวัยรุ่นเขาต้องการอะไร เพื่อเราจะได้เข้าใจเขา รวมไปถึงการอ่านพฤติกรรมของแต่ละ generation หาข้อมูลว่า target เป็นใคร ต้องการอะไร เพื่อจะได้หาสิ่งที่ตอบโจทย์เขาให้ได้มากที่สุด
ฝากฝัน : อย่างน้อย เราจะรู้ว่าเขาต้องการอะไร แต่มันก็คงมีหลาย ๆ สิ่ง ในฐานะผู้จัด เราอยากนำเสนอเข้าไป แต่มันจะมีแกนตั้งต้นที่เรารู้ว่า นี่คือสิ่งที่เขามองหาอยู่ และนี่คือสิ่งที่เขาอยากได้
ฝากฝัน : สำคัญ น้ำรู้สึกว่า น้ำอยู่ในโลกที่ใช้ data driven ประมาณหนึ่ง ข้อมูลเรื่อง consumer สำคัญมาก อย่างที่เล่ามาทั้งหมด ข้อมูลที่เก็บเป็นสถิติเพื่อนำกลับมาใช้ในงานถัดไป เราใช้ข้อมูลเยอะมาก มีทั้งก้อน pre (ก่อนงาน) และ post (หลังงาน) ส่วน pre เราทำ research ในเรื่องที่เรายังไม่เข้าใจคนดู เพื่อให้เข้าใจพฤติกรรมทุกอย่างก่อนตั้งต้นงาน
แล้วก็ทำ post survey เป็นข้อมูลที่เราเก็บว่าตอนเขามางานเรา เขาชอบหรือไม่ชอบอะไร ก็เป็นส่วนที่ทุกทีมใน GMM Show จะนำไปใช้อยู่แล้ว เพื่อที่จะได้รู้ว่าเราจะนำไปพัฒนาอะไรต่อ เพราะนี่คือเสียง feedback ของคนดูต่อสิ่งที่เราทำจริง ๆ ที่ถอดกลับมาให้เราเห็น จริง ๆ ก็รวมถึงการอ่านพวกโซเชียลฯ ทุกแพลตฟอร์ม Facebook, X ทุกอย่าง ตอนจบงานหรือแม้กระทั่งช่วงระหว่างโปรโมต คนสมัยนี้ชอบคอมเมนต์ เราก็จะได้เห็นว่า มีเรื่องนี้ที่เขาอยากได้ แต่เราก็จะหยิบนำอันที่เหมาะสมมาใช้
ฝากฝัน : การทำ festival แต่ละงานจะมี DNA ที่แตกต่างกัน น้ำว่าต้องสร้าง expectation หรือสร้าง positioning แต่ละงานให้เขาเห็นก่อน ยกตัวอย่าง งาน Rock Mountain จะเป็น premium rock festival จะเห็นว่าเราจะเปลี่ยน theme ทุกปี จะอลังการ น้ำคิดว่าความคาดหวังของคน เขาเทียบกับงานปีที่แล้วของเรา ไม่ค่อยเห็นเทียบกับงานอื่น เพราะเราต้องทำชนะตัวเองไปเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นน้ำจะรู้ว่า เขามา เขาจะเห็นเวทีที่อลังการมาก ๆ เพราะฉะนั้น expectation เขาจะอยู่ตรงนี้
แต่สมมติงานบางประเภท เราไม่ได้เน้นในพาร์ตเวที แต่เน้นพาร์ตประสบการณ์ที่ได้อยู่ข้างใน อย่างเช่น Monster Music Festival จัด 2 วันที่กรุงเทพฯ มีร้านค้า ศิลปินเข้ามาขายของ ผลิตของ ความคาดหวัง อันนั้นน้ำว่าไม่ใช่ที่ production แต่เป็นเรื่องการได้มาใกล้ชิด ได้มาซื้อของที่แตกต่างจากที่อื่น ถ้าเราทำให้แต่ละแบรนด์ค่อนข้างชัดว่า แบรนด์นี้เขามา เขาจะได้เห็นอะไร ได้เจออะไร แล้วน้ำก็พูดเลยว่า ส่วนใหญ่จะคาดหวังใกล้เคียงกับสิ่งนั้น
ฝากฝัน : คนสมัยนี้ไป concert หรือ music festival กันเยอะ เขาคงรู้สึกว่า level นี้คือ level มาตรฐานของเขา ทำถึง มันคือ meet expectations ของเขาใช่ไหม มันก็เป็นมาตรวัดแบบหนึ่ง สำหรับคนยุคนี้ที่เขามีประสบการณ์มาก ๆ ที่จะแสดงความคิดเห็นต่องานเราว่า งานเราตกมาตรฐานหรืองานเรา meets มาตรฐานของเขา เราว่าถือเป็น feedback ที่ดีสำหรับเรา แต่น้ำคิดว่า ในมุมของคนทำ music festival ทุกคนก็อยากได้รับคำว่า ทำถึง อยู่แล้ว
ฝากฝัน : สุดทุกงานเลย เรารู้สึกว่าการทำ event 1 ปี มันจัดได้แค่งานละ 1 ครั้ง ไม่ได้มีโอกาสมาบ่อย ๆ วันงานจะรู้สึกกับตัวเองเสมอว่า นี่เราทำงานอะไร มันบ้าคลั่งอะไรขนาดนี้ เพราะมันมีเรื่องที่ต้องบริหารจัดการภายในค่อนข้างเยอะ แต่น้ำคิดว่าเราก็เต็มที่กับทุกงาน
ฝากฝัน : ยังเลยค่ะ มันมี moment หนึ่งที่น้ำเจอทุกงาน จนมันเป็นวิถีความคิดในหัว คือวันงาน คนทำ music festival จะรู้สึกเหนื่อย เพราะมันคือหนึ่งวันพันเรื่อง เราเตรียมงานมา 10 เดือน เพื่อ 1 วัน เราใส่เต็มที่ monitor ทุกอย่าง พยายามทำทุกอย่างตามแพลน พยายามให้มันจบวันนั้น คืนนั้นที่งานจบ เราจะรู้สึกว่าร่างเรามันล้ามาก แต่แปลกมากเลย พอเรากลับไป ได้อ่าน feedback ที่มีต่องานเรา เราอยากไปต่อ
ฝากฝัน : เราว่าแรง support จากคนดูมันเป็นแรงใจ เพราะหลักของ music festival หรือคือการมอบความสุขให้กับคน แล้วเมื่อเราเห็นว่าเขาได้รับความสุขจากสิ่งนี้ ไม่ว่าจะจาก feedback หรืออะไรก็ตามแต่ เขาได้รับมันจริง ๆ เราเลยรู้สึกว่า นี่คือหน้าที่ของเรา หน้าที่ของเราคือการออกแบบประสบการณ์ที่เขาได้มาอยู่ ใช้ชีวิตในพื้นที่ของเรา แล้วกลับไป เขาควรจะได้รับความสุข มันคือ result กลับไป
ฝากฝัน : ส่วนใหญ่ศิลปินมักจะ enjoy กับการที่เขาได้ขึ้น music festival อยู่แล้ว แต่ว่ามันก็จะมีบางอย่างที่เรายังต้องปรับปรุงพัฒนาอยู่ ซึ่งเราก็ต้องเก็บ criteria พวกนี้มาจัดการในครั้งต่อไป เพราะสุดท้ายคนที่เข้ามาอยู่ในงานเรา มันไม่ใช่แค่คนดู ยังมีทีมงานอีกเป็นพันชีวิต มีศิลปิน มีหลาย ๆ คนในฐานะผู้จัดที่เราก็ต้องดูแลพวกเขาที่เข้ามาอยู่ในงานเรา เราก็ต้องเข้าใจ แล้วก็ support แล้วก็ใส่ใจทุกคนที่เข้ามาอยู่ในงานเราทั้งหมด
ฝากฝัน : การเรียนไม่มีวันสิ้นสุด เราเคยทำสิ่งนี้ดีในงานหนึ่ง อีกงานหนึ่ง สิ่งนี้อาจจะไม่ได้ดีก็ได้ เราต้องเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ ไม่มีอะไรถูกต้อง ไม่มีสูตรสำเร็จ ขึ้นอยู่กับว่างานนั้นต้องการอะไร เพราะฉะนั้นเรารู้สึกว่าการเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด และอย่ากลัวที่จะไม่รู้
ฝากฝัน : เราว่าเป็นเรื่องของการจัดการ แล้วก็การเข้าใจกลุ่มผู้บริโภค เราทำงานกับ data หนักมาก ๆ เพื่อให้มันตอบโจทย์คนในแต่ละกลุ่ม ตามแบรนด์ ตาม product ที่วางไว้ และจัดการทุกอย่างที่เราพยายามทำให้มัน support คนดูที่เข้ามาอยู่ในงานเราให้ได้มากที่สุด
ฝากฝัน : เราอยากทำงานแบบ music festival ที่เป็น destination ที่เป็น international หรือเป็น travel destination เพราะด้วยความที่ประเทศไทยมีเอกลักษณ์มาก เราอยากให้วันหนึ่งมีเหมือน Coachella ในไทย เหมือน Summer Sonic ในไทย ที่แบบว่า ประกาศออกไปแล้วใคร ๆ ก็อยากมา อยากให้ประเทศไทยมันมีสิ่งนั้น ให้มันเป็น destination ที่คนที่เขาฟังเพลงเขาอยากมาร่วมจอย
ฝากฝัน : น้ำว่าประเทศไทยเรามี potential มาก ๆ ถ้าเห็นทุกวันนี้ หลาย ๆ ประเทศเขาก็เริ่มมาดูคอนเสิร์ตที่บ้านเรา แต่น้ำว่ามันมี character หลายอย่างที่เขาอยากมาที่ไทย
แล้วไม่ใช่แค่พวกเขามา music festival แล้วจบ น้ำว่าเขาเที่ยวต่อ แล้วประเทศไทยก็ติดอันดับประเทศต้น ๆ ที่คนอยากมาเที่ยว มีสถานที่ที่สวย มีแหล่งท่องเที่ยวที่ชาวต่างชาติพูดถึง ไม่ว่าน้ำจะไปประเทศไหน เวลาเราเดินทางไปประเทศไหน ทุกคนรู้จักประเทศไทยหมด ทุกคนรู้จักเชียงใหม่ พัทยา ภูเก็ต ทุกคนรู้หมด ประเทศเราเป็น source ที่ดีมาก ๆ ที่ทำให้เขามาท่องเที่ยวด้วยและมาดู music festival ได้ด้วย
ฝากฝัน : เราเคยไปดูคอนเสิร์ตต่างประเทศ ซึ่งจริง ๆ ไม่ต่างจากไทยเลย แต่น้ำว่า ต่างประเทศที่เห็นชัดเจน คือเขาให้ความสำคัญกับพาร์ตการจัดการค่อนข้างเยอะ แต่เราก็รู้สึกว่า music festival หลาย ๆ งานของไทยเทียบเท่าต่างชาติได้เลย
ฝากฝัน : เราว่าการสนับสนุนจากรัฐบาล งานสเกลใหญ่ ๆ มันจะเกิดขึ้นได้ก็คงต้องมีการร่วมมือกันในหลายภาคส่วนที่จะช่วย drive ไปด้วยกัน เพราะมันไม่ใช่ agenda ของ business อย่างเดียว แต่มันเป็น agenda ที่เป็นผลพลอยได้จากหลายส่วน ทั้งขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งถ้าเรามองเห็นภาพเดียวกันและช่วย drive ไปด้วยกัน เราว่ามันก็คงจะเดินได้ง่ายขึ้น
ฝากฝัน : แต่ละงานคุณจะได้รับประสบการณ์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง อย่างที่บอก น้ำตั้งเป้าหมายว่าน้ำอยากให้ทุกคนได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดกลับไปในแต่ละแบบ
อย่างปี 2024 นี้ ทุกคนจะได้เจอใน 3 งาน หนึ่ง Rock Mountain ที่ผ่านไปแล้ว ก็เป็นงานที่ทุกคนจะเห็นว่ามันเป็นงานที่เวทีศิลปินโดดเด่น ชัดเจน สอง คือ Rock on the Beach จะเป็นประสบการณ์การดูคอนเสิร์ตริมทะเลครั้งใหญ่ที่ไม่เคยเกิดขึ้น และสุดท้าย Monster ก็จะเป็นประสบการณ์สำหรับวัยรุ่นที่อยู่ใจกลางเมือง ได้ใกล้ชิดศิลปิน
ในมุมของน้ำ GFest เราพยายามมอบประสบการณ์ให้ทุกคนในแบบที่แตกต่างกันแบบชัดเจน เพราะฉะนั้น น้ำว่า มีกี่อันก็ฝากไปเก็บกันด้วยนะคะ
เรื่อง : ณัฐธนีย์ ลิ้มวัฒนาพันธ์
ภาพ : จุลดิศ อ่อนละมุน