สองศัลยแพทย์ผ่าตัดที่ยกระดับการรักษาโรคปอดให้คนไทย

สองศัลยแพทย์ผ่าตัดที่ยกระดับการรักษาโรคปอดให้คนไทย

สองศัลยแพทย์ผ่าตัดที่ยกระดับการรักษาโรคปอดให้คนไทย นายแพทย์ผดุงเกียรติ ตั้งพิรุฬห์ธรรม และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ศิระ เลาหทัย แห่งโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ

จินตนาการถึงการทำงานที่ต้องยืนเป็นเวลาหลายชั่วโมงติดต่อกันแบบไม่รู้เวลาเลิกงานที่แน่นอน เผชิญกับความกดดัน และความเครียดตลอดเวลา ที่แลกมาด้วยการทำให้ผู้คนกลับมามีโอกาสรอดชีวิตและมีชีวิตยืนยาวขึ้น หากเป็นคุณจะอยากทำอาชีพนี้หรือไม่ ?

คำตอบของศัลยแพทย์ผ่าตัดโรคปอดและทรวงอก 2 ท่านนี้ นายแพทย์ผดุงเกียรติ ตั้งพิรุฬห์ธรรม ศัลยแพทย์ทรวงอก เชี่ยวชาญทางด้านการผ่าตัดโรคปอดและโรคในช่องอกด้วยการส่องกล้องแผลเดียวและใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ศิระ เลาหทัย ศัลยแพทย์ทรวงอกเชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคปอด เทคนิคส่องกล้องแผลเล็ก ถูกพิสูจน์แล้วด้วยการกระทำ ผ่านการรักษาผู้ป่วยโรคทรวงอกมาแล้วไม่รู้กี่ชีวิตที่ผ่านมือและปลายมีดของพวกเขา

นายแพทย์ผดุงเกียรติ ตั้งพิรุฬห์ธรรม ศัลยแพทย์ทรวงอก เชี่ยวชาญทางด้านการผ่าตัดโรคปอดและโรคในช่องอกด้วยการส่องกล้องแผลเดียวและหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด  โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ เล่าย้อนถึงจุดเริ่มต้นชีวิตศัลยแพทย์ทรวงอกที่เกิดจากคนที่รัก

เด็กหนุ่มวัย 15 ปี ต้องเจอเหตุการณ์เปลี่ยนชีวิต เมื่อคุณพ่อป่วยด้วยโรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน การได้เห็นพ่อผู้แข็งแรงเสมอเจ็บป่วยแบบเฉียบพลัน กับช่วงเวลาแห่งการรอคอยพบแพทย์ในแต่ละครั้ง ทำให้เขาเข้าใจความทุกข์ทรมานของคนไข้ สิ่งเหล่านี้เป็นตัวผลักดันให้เด็กหนุ่มมองเห็นถึงความสำคัญของอาชีพแพทย์เป็นครั้งแรก

จึงศึกษาต่อคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล นักศึกษาแพทย์ที่กำลังทุ่มเทกับการเรียน กลับพบว่าคุณแม่เป็นโรคมะเร็งปอด ยิ่งตอกย้ำความรู้สึกเดิมในช่วงคุณพ่อป่วยกลับมา ภาพของคนไข้และญาติที่รอคิวผ่าตัดกลับมาฉายซ้ำ ยิ่งตอกย้ำความตั้งใจในการช่วยให้ผู้คนหายจากการเจ็บป่วยและกลับมามีสุขภาพที่ดีอีกครั้ง

“เมื่อคุณพ่อคุณแม่ป่วย เราก็ได้เข้าใจว่าคนไข้รู้สึกอย่างไร การรอคอยรับการรักษา รอคิวผ่าตัดในแต่ละวัน ทำให้อยากทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เพราะเมื่อเรารักษาได้ ก็จะช่วยทั้งคนไข้รวมไปถึงครอบครัวของเขา ที่ได้ตัดความทุกข์ทรมานจากตัวโรคครับ” นายแพทย์ผดุงเกียรติกล่าวย้อนถึงความรู้สึก ณ ขณะนั้น สองศัลยแพทย์ผ่าตัดที่ยกระดับการรักษาโรคปอดให้คนไทย

แรงบันดาลใจสู่ศัลยแพทย์ทรวงอก

หลังคุณแม่ป่วยด้วยโรคมะเร็งปอด และพบว่าการรักษาปอดนั้นมีความสำคัญ โดยเฉพาะการรักษามะเร็งปอดที่ลุกลามได้เร็วและเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งจากโรคมะเร็งทั้งหมด คือแรงหนุนให้เขาสนใจศึกษาต่อด้านศัลยศาสตร์ทรวงอก ที่ว่ากันว่าเป็นสาขาที่เรียนหนักและใช้เวลานานมากที่สุด 

ก้าวแรกของการเป็นศัลยแพทย์ทรวงอกเริ่มต้นขึ้นที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลอีกครั้ง ก่อนจะบินลัดฟ้าไปแสวงหาความรู้ด้านศัลยศาสตร์ระบบทางเดินอาหารและทรวงอก (Foregut and Thoracic Surgery) ที่ Harvard Medical School Brigham and Women’s Hospital ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 2 ปีเต็ม

นายแพทย์ผดุงเกียรติจึงนำความรู้ที่ได้มาบุกเบิกตั้งศูนย์การผ่าตัดมะเร็งปอดที่โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ที่มุ่งความเป็นเลิศในทุกด้านตั้งแต่กระบวนการตรวจวินิจฉัย เทคนิคและวิธีการรักษา ไปจนถึงการดูแลผู้ป่วยในระยะพักฟื้นเพื่อทำการรักษาแบบองค์รวม สองศัลยแพทย์ผ่าตัดที่ยกระดับการรักษาโรคปอดให้คนไทย

โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพกับเทคนิคตรวจ-รักษาที่หลากหลาย

โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพมีศักยภาพตรวจจุดในปอดได้ครบทั้ง 3 วิธีคือ การส่องกล้องทางหลอดลม การเจาะผนังช่องอกนำทางเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และผ่าตัดส่องกล้องหรือหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด

อย่างไรก็ตามในกรณีที่จุดในปอดขนาดเล็กระดับมิลลิเมตรที่พบจากการคัดกรองมะเร็งปอดด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์รังสีต่ำ (low dose CT) นั้นสามารถตรวจชิ้นเนื้อได้ยากมาก โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพเป็นหนึ่งในโรงพยาบาลเพียงไม่กี่แห่งในประเทศไทยที่มีวิธีที่แม่นยำสูงคือ เทคนิคการใช้ระบบนำทางแม่เหล็กไฟฟ้าร่วมกับส่องกล้องทางหลอดลม (Electromagnetic Navigation Bronchoscopy/ENB) ซึ่งเป็นระบบที่คล้ายคลึงกับ GPS ค้นหาตำแหน่งของก้อนเนื้อบริเวณปอดที่มีขนาดเล็กเพื่อระบุตำแหน่งและฉีดสีร่วมกับขดลวดกำหนดตำแหน่ง (Fiducial marker) เข้าไปในบริเวณนั้น เพื่อให้เห็นจุดบนปอดหรือก้อนเนื้อจากการผ่าตัดส่องกล้องได้อย่างแม่นยำ

พร้อมทั้งเทคนิคการผ่าตัดรักษาโรคมะเร็งปอดด้วยการส่องกล้อง โดยเน้นการผ่าตัดส่องกล้องแบบแผลเดียว (Uniportal VATS)  ซึ่งเทคนิคมีความซับซ้อนกว่าแต่เป็นผลดีต่อคนไข้ เจ็บน้อยกว่า ฟื้นตัวเร็วกว่าการผ่าตัดชนิดอื่น โดยใช้เลนส์ยาวร่วมกับอุปกรณ์ผ่าตัดยาวพิเศษผ่านทางช่องระหว่างซี่โครงโดยไม่มีการถ่างขยายซี่โครง จะมีแค่ 1 แผลและมีขนาดเหลือเพียง 30 - 40 มิลลิเมตร ทำให้คนไข้เจ็บปวดหลังผ่าตัดต่ำกว่า พักฟื้นสั้นกว่า ระยะเวลาที่นอนโรงพยาบาลเหลือเพียง 1 - 3 วันเท่านั้น เทียบกับการผ่าตัดส่องกล้องหลายแผล หรือการรักษาแบบเปิดซึ่งต้องทำหัตถการผ่าตัดมีแผลขนาด 8 - 15 เซนติเมตร พร้อมการถ่างขยายซี่โครง

และล่าสุดการใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดในช่องอก (Robotic assisted thoracic surgery/RATS) เป็นเทคโนโลยีล่าสุดที่นำมาใช้ในการผ่าตัดในช่องอก สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ความแม่นยำ ให้ผลลัพธ์ในการผ่าตัดที่ดีและทำให้ผู้ป่วยได้รับความเจ็บปวดน้อยที่สุด สองศัลยแพทย์ผ่าตัดที่ยกระดับการรักษาโรคปอดให้คนไทย

รักษาไว ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตปกติได้เร็ว

“โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพเราจะทำให้ผู้ป่วยได้ผ่าตัดภายใน 3 วัน หรือบางเคสก็ผ่าวันรุ่งขึ้นเลย เป็นความเร่งด่วนที่เรารอนานไม่ได้ เราเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วยที่อยากกำจัดมะเร็งออกไปให้เร็วที่สุด” คำกล่าวของนายแพทย์ผดุงเกียรติที่มีต่อการรักษาผู้ป่วย

ยิ่งย่นระยะเวลาการรักษาให้สั้นลงได้เท่าไร ผู้ป่วยก็กลับไปใช้ชีวิตปกติได้เร็วขึ้นเท่านั้น มีหลายเคสที่ผู้ป่วยพักฟื้นในระยะเวลาที่สั้นลงมาก อาทิ ผู้ป่วยเนื้องอกในต่อมไทมัสที่หลังผ่าตัดพักฟื้นเพียง 2 วันก็สามารถกลับบ้านได้ และกลับไปออกกำลังกายได้ตามปกติ หรือบางเคสหลังผู้ป่วยผ่าตัดเรียบร้อย ก็ขับรถกลับบ้านต่างจังหวัดได้ เป็นเสียงยืนยันว่าวิธีการรักษาที่ดี เป็นอีกกุญแจสำคัญทำให้คนไข้ฟื้นตัวได้รวดเร็ว

“สำหรับผมการที่เราจะประสบความสำเร็จในการทำงานได้ เราจะต้องมีความเป็นมืออาชีพ มีแนวทางการทำงานชัดเจน ไม่ทำให้แค่พอผ่านพ้นไป เพราะเป็นสิ่งที่สำคัญต่อคนไข้ด้วย เวลาผมตรวจรักษาครั้งแรก ผมจะคุยกับทั้งคนไข้และญาติ เราอยากฟังเรื่องของคนไข้ให้มากที่สุดว่าเขาคิดอย่างไร วางแผนชีวิตอย่างไร เพื่อจะรักษาแบบองค์รวม เพื่อให้คนไข้ได้กลับไปใช้ชีวิตได้แบบที่เขาต้องการ” นายแพทย์ผดุงเกียรติกล่าวทิ้งท้าย สองศัลยแพทย์ผ่าตัดที่ยกระดับการรักษาโรคปอดให้คนไทย

ถ้าเหตุการณ์คุณพ่อคุณแม่ของนายแพทย์ผดุงเกียรติเจ็บป่วยเป็นจุดเปลี่ยนของชีวิต ก็เช่นเดียวกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ศิระ เลาหทัย ศัลยศาสตร์ทรวงอกเชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคปอด เทคนิคส่องกล้องแผลเล็ก และรักษาโรคเหงื่อออกมือ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ที่หันมาเป็นศัลยแพทย์ทรวงอกมาจากจุดเริ่มต้นโดยผู้ป่วยคนหนึ่ง


การเกิดและเติบโตมาในครอบครัวตระกูลคุณหมอ ทำให้เด็กชายซึมซับความรู้สึกอยากเป็นหมอตั้งแต่อายุยังน้อย กระทั่งได้เรียนแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล สองศัลยแพทย์ผ่าตัดที่ยกระดับการรักษาโรคปอดให้คนไทย

เปลี่ยนมุมมองเพราะผู้ป่วยหนึ่งคน

เหตุการณ์ของผู้ป่วยโรคหัวใจรายหนึ่งได้เปลี่ยนมุมมองของเขา ในขณะที่เรียนแพทย์ปีที่ 6 เมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ทุกเดือน และต้องรอคิวผ่าตัดนานจนผู้ป่วยเสียชีวิตก่อนได้รับการผ่าตัด 

“ผมเจอคนไข้คนหนึ่งที่เขามาตรวจทุกเดือน ต้องรอคิวผ่าตัดนานถึง 3 ปี แล้วเราทำอะไรไม่ได้ เพราะคิวผ่าตัดมันยาว สุดท้ายคนไข้คนนั้นเสียชีวิต กลายมาเป็นแรงผลักดันว่าถ้าเราผ่าตัดหัวใจและทรวงอกได้ น่าจะช่วยคนได้เยอะมาก เพราะในประเทศไทยมีหมอผ่าตัดหัวใจและทรวงอกน้อยมาก” สองศัลยแพทย์ผ่าตัดที่ยกระดับการรักษาโรคปอดให้คนไทย

จุดเปลี่ยนดังกล่าวทำให้นายแพทย์ศิระเรียนต่อแพทย์ประจำบ้านด้านทรวงอกที่โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลเช่นเดียวกัน เพื่อขอเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองผู้ร่วมพัฒนาการผ่าตัดทรวงอกในประเทศไทย โดยเฉพาะการผ่าตัดส่องกล้อง 

และเพื่อเป็นการเพิ่มองค์ความรู้จึงสมัครชิงทุนศัลยศาสตร์ทรวงอกเอเชีย และได้รับโอกาสศึกษาการผ่าตัดส่องกล้องในทรวงอกที่ประเทศเกาหลีใต้เป็นเวลา 1 ปี ซึ่งหลังจากจบการศึกษานี้ยังได้มีโอกาสไปอบรมไม่ว่าจะเป็นที่ประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน เพื่อศึกษาการผ่าตัดเทคนิคต่างๆ และรวมไปถึงศึกษาดูงานการผ่าตัดปอดที่ประเทศสหรัฐอเมริกาต่อมา
สองศัลยแพทย์ผ่าตัดที่ยกระดับการรักษาโรคปอดให้คนไทย

ศัลยศาสตร์ทรวงอกสาขาที่ถูกมองข้าม ?

การได้ศึกษาการผ่าตัดปอดทั้งจากซีกโลกตะวันตกและตะวันออก ทำให้ศึกษาองค์ความรู้ที่หลากหลาย จึงกลับมาทำงานด้านการผ่าตัดปอดในประเทศไทย ที่หากย้อนไปราว 10 กว่าปีก่อน จะพบว่าศัลยแพทย์ผู้จบการศึกษาผ่าตัดหัวใจและปอดในแต่ละปีมีอยู่เพียงไม่เกินจำนวนนิ้วมือนับได้

กระทั่งปัจจุบันในประเทศไทยมีแพทย์ผ่าตัดหัวใจและปอดมีเพียงประมาณ 200 คนเท่านั้น เนื่องจากเป็นสาขาที่ใช้เวลาศึกษานานถึง 5 ปี ทำงานหนัก กดดัน และต้องเผชิญความเครียดสม่ำเสมอ

“ช่วงที่ผมเรียนหมอเฉพาะทาง ต้องตื่นตี 5 ราวด์คนไข้ และในบางครั้งอาจต้องเข้าช่วยผ่าตัดลากยาวจนถึงตี 1 และทุกครั้งเราจำเป็นต้องเฝ้าดูแลคนไข้หลังผ่าตัดในห้องผู้ป่วยวิกฤตต่อ บางครั้งเหนื่อยมากจนแทบหมดแรง อีกทั้งต้องอยู่เวรเกือบทุกวันตลอด 5 ปีเต็ม แต่เราก็นึกย้อนไปถึงวันที่เห็นคนไข้ต้องเสียชีวิตเพราะรอคิวผ่าตัด ก็กัดฟันสู้ต่อ ซึ่งถ้าเราทำได้ก็จะได้หมออีกหนึ่งคนมาช่วยเสริมทัพให้กับประเทศไทย” 
สองศัลยแพทย์ผ่าตัดที่ยกระดับการรักษาโรคปอดให้คนไทย

ปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ศิระ มีความเชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดปอด โดยเฉพาะเทคนิคการผ่าตัดปอดด้วยการส่องกล้อง ผ่าตัดเพียงแค่แผลเดียว (Uniportal VATS) โดยอุปกรณ์ทั้งหมดจะผ่านลงไปในแผลขอบหลังของราวนมขนาดประมาณ 3 - 4 เซนติเมตร 

นอกจากการผ่าตัดมะเร็งปอด ยังทำการผ่าตัดต่อมไทมัส  การผ่าตัดลดเหงื่อออกมือด้วยการผ่าตัดส่องกล้องผ่านช่องทรวงอกเพื่อตัดเส้นประสาท รวมไปถึงการผ่าตัดผู้ป่วยอกบุ๋ม ซึ่งทำให้ในแต่ละปีได้ผ่าตัดผู้ป่วยกว่า 800 ราย และได้เปลี่ยนชีวิตคนไข้ด้วยการผ่าตัดรวมแล้วมากกว่า 2,000 ราย อาจกล่าวได้ว่าเป็นหนึ่งในศัลยแพทย์ทรวงอกที่ผ่าตัดผู้ป่วยมากที่สุดคนหนึ่งในประเทศไทย

สิ่งที่เอื้อให้การผ่าตัดทำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพนั่นคือศักยภาพของทางโรงพยาบาล โดยโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพมีความพร้อมทั้งด้านบุคลากรและเครื่องมือทัดเทียมกับโรงเรียนแพทย์ และอีกหัวใจหลักของการรักษานอกจากกระบวนการผ่าตัดที่ดีคือการดูแลหลังผ่าตัด การทำกายภาพให้คนไข้ ที่ทำให้ผู้ป่วยพักฟื้นและกลับไปใช้ชีวิตปกติได้เร็วยิ่งขึ้น

“ผมอยู่ในจุดที่สามารถตัดสินใจได้ว่ารับผู้ป่วยหรือไม่ แต่ระลึกเสมอว่าผู้ป่วยคนนั้นเป็นเหมือนพ่อแม่ เป็นคนในครอบครัวของเรา ถ้าเขาอยู่ในมือผม แล้วเราสามารถช่วยเหลือได้ ผมจะทำ ผมจึงไม่เคยปฏิเสธที่จะทำการรับเคสผู้ป่วยที่ต้องการช่วยเหลือในการผ่าตัดปอดจากทุกที่ในประเทศเลย ไม่ว่าจะยากขนาดไหน ไม่ว่าจะไกลขนาดไหน ถ้าคิดว่าสู้ไหว ผมก็พร้อมที่จะสู้ ซึ่งก็ถือว่าผมได้ตอบแทนประเทศชาติ ครูบาอาจารย์ ในชีวิตนี้ถือว่าเกิดมาใช้คุ้มแล้ว...” สองศัลยแพทย์ผ่าตัดที่ยกระดับการรักษาโรคปอดให้คนไทย