‘ผศ.นพ.อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ‘ ศัลยแพทย์หลอดเลือดแดง กับความสุขที่ได้ช่วยคน

‘ผศ.นพ.อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ‘ ศัลยแพทย์หลอดเลือดแดง กับความสุขที่ได้ช่วยคน

ผศ. นพ.อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ ศัลยแพทย์มือหนึ่งรักษาโรคหลอดเลือดแดง รพ.หัวใจกรุงเทพ ฮีโร่ของผู้ป่วย กับโมเมนต์ความสุขเมื่อช่วยชีวิตคน

ซูเปอร์ฮีโร่ในชีวิตจริงอาจไม่ได้เหมือนในภาพยนตร์ พวกเขาไม่มีผ้าคลุมบินไม่ได้ ไม่มีพลังวิเศษ หรือพาหนะแปลกตา แต่กลับเป็นเพียงคนธรรมดาที่เดินปะปนกับคนทั่วไป แต่สิ่งที่มีเหมือนกันคือการทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นในแนวทางที่ถนัด

ผศ. นพ.อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ เป็นอีกคนที่รู้ว่าต้องการเป็นแพทย์ตั้งแต่วัยเด็ก ความฝันพาเขามาไกล ด้วยการเป็นศัลยแพทย์ที่รักษาชีวิตผู้คนมากว่า 20 ปี และยังมีอีกบทบาทการเป็นผู้บริหารโรงพยาบาล ที่มีส่วนยกระดับองค์กรและสร้างแรงกระเพื่อมต่อการดูแลผู้ป่วยได้ในวงกว้าง

การเป็นศัลยแพทย์ที่ต้องอาศัยทักษะต่าง ๆ ทั้งการใช้มือเพื่อหัตถการ การแก้ปัญหา ทำงานแข่งกับเวลา และสองขาที่ยืนหยัดในขณะผ่าตัดหลายชั่วโมง ไปรู้จักกับเส้นทางที่เลือกเพื่อเป็นฮีโร่ของผู้ป่วยและคนในครอบครัว ทำให้หลายคนได้รอดชีวิตกลับคืนสู่ครอบครัวหรือคนที่รักอีกครั้ง  ‘ผศ.นพ.อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ‘ ศัลยแพทย์หลอดเลือดแดง กับความสุขที่ได้ช่วยคน

เด็กชาย เครื่องดนตรี และเสื้อกาวน์

จากเด็กชายที่ติดสอยห้อยตามคุณแม่ผู้เป็นพยาบาลเดินเข้าออกวอร์ดต่าง ๆ มาตั้งแต่ยังเล็ก ทำให้เขาได้ซึมซับโลกแห่งวงการเสื้อกาวน์ไปโดยไม่รู้ตัว ประกอบกับแรงสนับสนุนจากครอบครัวทำให้เริ่มสนใจวิชาชีพแพทย์ตั้งแต่เด็ก 

ไม่เพียงงานวิชาการ แต่ครอบครัวยังสนับสนุนให้เริ่มรู้จักโลกแห่งเสียงเพลงตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา กับเครื่องดนตรีชิ้นแรกคือเปียโน ที่ช่วยฝึกทักษะด้านการใช้มือ แยกประสาท และรู้จักโน้ตดนตรี จนกระทั่งย่างเข้าสู่วัยรุ่น ก็เริ่มเล่นอิเล็กโทน ชักชวนเพื่อน ๆ ตั้งวงดนตรี

การเล่นดนตรีไม่ได้ทำให้ความสนใจในการศึกษาแพทย์ลดลงแต่อย่างใด มิหนำซ้ำทักษะการเล่นดนตรี ยังเป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญที่ทำให้เมื่อเด็กหนุ่มสอบติดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อ(และ)ได้เรียนด้านการฟังเสียงหัวใจก็ทำได้โดดเด่นเพราะทักษะการแกะเพลง การจับจังหวะ หรือการผ่าตัดที่อาศัยทักษะการใช้มือที่เป็นทักษะอันได้มาจากการเล่นเปียโน

ความสามารถทั้งด้านการฟัง การใช้มือในการทำหัตถการ ที่ได้จากการเล่นดนตรีทำให้เริ่มมองเห็นถึงการต่อยอดสู่การเป็นศัลยแพทย์ นับจากวันที่ได้รับชุดอุปกรณ์การเย็บแผลผ่าตัดเป็นครั้งแรก เข็มที่ร้อยผ่านลงไปที่ผิวหนัง แม้เจ้าตัวจะออกตัวว่ามือสั่นในครั้งแรก แต่เขากลับทำได้ดีเกินคาด จนได้รับคำชมจากอาจารย์ เป็นพลังเล็ก ๆ ที่ก่อตัวให้เขาเห็นเส้นทางในวงการแพทย์อย่างชัดเจน นั่นคือการเป็นศัลยแพทย์หัวใจ ‘ผศ.นพ.อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ‘ ศัลยแพทย์หลอดเลือดแดง กับความสุขที่ได้ช่วยคน

แผนกศัลยกรรมที่ผ่าตัดเปลี่ยนชีวิต

“ตอนที่เรียนแพทย์ชั้นปีที่ 6 ก็ได้ไปผ่านหน่วยศัลยกรรมหัวใจและรู้สึกว่าการเป็นหมอผ่าตัดหัวใจต้องมีความสามารถสูง แล้วก็ช่วยชีวิตคนได้ เพราะเรารู้สึกว่าอยากรักษาแล้วเห็นผลเร็ว ๆ ซึ่งการผ่าตัดหัวใจคนไข้จะทำให้คนไข้ดีขึ้นอย่างชัดเจนเลย จากคนที่เดินไม่ได้ กลับมาเดินได้ เรียกว่าเป็นแผนกศัลยกรรมที่ผ่าตัดเปลี่ยนชีวิต” ผศ. นพ.อรรถภูมิเล่าย้อนถึงเหตุการณ์ประทับใจ

แม้จะมีเสียงทัดทานจากคนรอบข้างว่าการเป็นศัลยแพทย์หัวใจเป็นงานที่หนัก ยืนผ่าตัดกินระยะเวลาขั้นต่ำ 3 - 4 ชั่วโมงต่อ 1 เคส คนไข้มักมาด้วยอาการรุนแรง ต้องทำงานแข่งกับเวลา ทำให้เป็นงานที่ยากลำบาก แต่ด้วยความประทับใจกับสิ่งที่ได้เห็นว่าผู้ป่วยดีขึ้นชัดเจน จึงยืนยันที่จะศึกษาด้านศัลยกรรมหัวใจที่โรงพยาบาลราชวิถี ‘ผศ.นพ.อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ‘ ศัลยแพทย์หลอดเลือดแดง กับความสุขที่ได้ช่วยคน

“ตอนที่เราเป็นแพทย์ประจำบ้าน แต่ละวันต้องยืนผ่าตัดขั้นต่ำ เช้าและบ่ายอยู่ที่ประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน เสร็จแล้วก็เข้าเวรรอบดึกต่อ ชีวิตอยู่แต่ในตึกผ่าตัดตลอด เรียกว่าแทบจะไม่ได้เห็นเดือนเห็นตะวันกันเลย” เขาเล่าถึงช่วงชีวิตแห่งการทุ่มเทเพื่อการเรียน 

หลังจากนั้นจึงได้ทำงานที่โรงพยาบาลราชวิถีเป็นระยะเวลา 3 ปีก่อนจะตัดสินใจไปเรียนต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกาที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และมีโอกาสได้ไปศึกษาและทำงานต่อในตำแหน่ง clinical fellowship ที่  Northwestern University สหรัฐอเมริกาอีกหนึ่งครั้งในช่วงปี พ.ศ. 2553 ที่เป็นการเปิดประสบการณ์ด้านการผ่าตัดหลายประเภทที่ยังไม่มีในเมืองไทย

“การไปที่อเมริกา ทำให้ได้ศึกษาด้านการผ่าตัดหลอดเลือดแดง การซ่อมลิ้นหัวใจ การผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจและหัวใจเทียม นับเป็นโอกาสดีที่ได้เรียนรู้และเข้าเคสผ่าตัดในลักษณะดังกล่าวที่ไม่ค่อยมีในเมืองไทยครับ”

จนกระทั่งกลับมาทำงานที่ประเทศไทยก็ได้นำความรู้ด้านการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจมาสานต่อที่โรงพยาบาลราชวิถี รวมระยะเวลาทำงานที่ดังกล่าวกว่า 20 ปี ‘ผศ.นพ.อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ‘ ศัลยแพทย์หลอดเลือดแดง กับความสุขที่ได้ช่วยคน

มือหนึ่งรักษาโรคหลอดเลือดแดง

หลังจากเก็บเกี่ยวประสบการณ์มาหลายปี จึงได้เข้ามาร่วมงานกับโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ในการเป็นแพทย์ประจำแผนกศัลยกรรมหัวใจ และในปี พ.ศ. 2561 ได้เข้ามาทำงานในบทบาทการบริหารเพิ่มขึ้น ในฐานะผู้ช่วยผู้อำนวยการ ซึ่งได้นำประสบการณ์การทำงานทั้งในโรงพยาบาลรัฐและเอกชน ทำให้ได้เข้าใจกระบวนการบริหารจัดการศูนย์หัวใจในรูปแบบต่างๆ

ความเชี่ยวชาญคือการโรคหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตา (Aorta) โป่งพองปริแตกและเซาะฉีก Aorta ซึ่งเป็นหลอดเลือดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีเลือดไหลผ่าน 5 ลิตรต่อนาที ออกมาจากขั้วหัวใจทอดยาวจากช่องอกสู่ช่องท้องและให้แขนงเป็นหลอดเลือดที่นำเลือดแดงไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ บางครั้งโรคหรือภาวะบางอย่างอาจทำให้ผนังหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตามีความอ่อนแอจนเกิดการปริแตกได้ ซึ่งนับเป็นความเจ็บป่วยร้ายแรงที่ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้ในที่เกิดเหตุ 70 - 90% แต่เมื่อผู้ป่วยถูกตรวจพบว่าหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตาเริ่มมีการปริ บวม ก็สามารถรักษาได้ด้วยเทคโนโลยีการผ่าตัดใส่หลอดเลือดเทียมชนิดมีขดลวดถ่างขยายผ่านสายสวน Endovascular Aortic Aneurysm Repair (EVAR) เป็นการผ่าตัดโดยใช้เทคนิคสายสวนเพื่อสอดหลอดเลือดเทียมผ่านทางหลอดเลือดแดงจากทางขาหนีบเพื่อหลีกเลี่ยงการผ่าตัดช่องท้อง และ Thoracic Aortic Aneurysm Repair (Thoracic Endovascular Aortic Aneurysm Repair - ฝากเช็กค่ะ)(TEVAR) การผ่าตัดโดยใช้เทคนิคสายสวนเพื่อซ่อมแซมหลอดเลือดหัวใจโป่งพองบริเวณทรวงอก ‘ผศ.นพ.อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ‘ ศัลยแพทย์หลอดเลือดแดง กับความสุขที่ได้ช่วยคน

เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงในผู้สูงอายุ หรือผู้มีโรคประจำตัวต่าง ๆ อาทิ เบาหวาน ความดัน ไขมันโลหิตสูง(ไขมันในเลือดสูง) เนื่องจากแผลผ่าตัดมีขนาดเล็กกว่าและอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลต่ำกว่า โดยที่ให้ผลในการรักษาระยะยาวเทียบเท่ากับการผ่าตัดเปิด

ประกอบกับความพร้อมทางด้านบุคลากร ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของทีมงานทุกระดับ ตลอดจนความพร้อมด้านเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ที่ทำให้การผ่าตัดได้ผลลัพธ์ที่ดี

“โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพมีทีมแพทย์เฉพาะทาง ไม่ใช่เพียงแค่แพทย์หัวใจทั่วไป มีทีมพยาบาลที่ดูแลเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจมาโดยตลอด และทีมเทคนิคเชียน ที่มีประสบการณ์เฉพาะด้านการดูแลคนไข้โรคหัวใจแบบองค์รวม ที่ทำงานสอดประสานกันเพื่อดูแลคนไข้โรคหัวใจอย่างครบถ้วน” ‘ผศ.นพ.อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ‘ ศัลยแพทย์หลอดเลือดแดง กับความสุขที่ได้ช่วยคน

โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพกับรางวัลระดับโลก 

อีกปัจจัยสำคัญที่มองข้ามไปไม่ได้ กระบวนการก่อนการรักษานั่นคือ การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพมีศูนย์ประสานงานเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหรือ Medevac ทั้งทางเฮลิคอปเตอร์ เครื่องบิน และรถแอมบูแลนซ์ กับความสามารถในการใส่เครื่องปอดหัวใจเทียมแบบเคลื่อนที่ ( Extracorporeal Membrane Oxygenation : ECMO) ในที่เกิดเหตุ ในกรณีที่ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นหรือปอดไม่ทำงาน เพื่อนำส่งผู้ป่วยกลับมารักษาต่อที่โรงพยาบาลได้ 

“คนไข้บางเคสเราเห็นแล้วว่าถ้าเราไม่ทำอะไรคนไข้จะเสียชีวิตภายใน 1 - 2 ชั่วโมง แต่เราใช้เครื่องมือต่าง ๆ จนสามารถเปลี่ยนให้รอดชีวิตและออกจากโรงพยาบาลกลับไปใช้ชีวิตปกติได้ จากอัตราการเสียชีวิต 100% เป็นอัตราการรอดชีวิตที่ดีเทียบเท่ากับสถาบันโรคหัวใจระดับโลก”

ประกอบกับการฝึกซ้อมการปฏิบัติงาน การให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ โดยศูนย์ Simulator ทำให้การดำเนินงานของศูนย์ประสานงานเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหรือ Medevac ทำให้โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพได้รับการรับรองความเป็นเลิศจาก ELSO Award of Excellence in Extracorporeal Life Support ซึ่งเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่ได้รับรางวัล และมีโรงพยาบาลเพียงไม่กี่แห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับรางวัลดังกล่าว ‘ผศ.นพ.อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ‘ ศัลยแพทย์หลอดเลือดแดง กับความสุขที่ได้ช่วยคน โมเมนต์แห่งความสุขเกิดขึ้นทุกวัน

การเป็นศัลยแพทย์ที่แม้จะทุ่มเทกับการเรียนตลอดระยะเวลาการเป็นนักศึกษาแพทย์หลายปี และยังต้องใช้เวลา Learning Curve อีกกว่า 10 ปี พร้อม ๆ กับการทำงานหนักเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้อื่น เป็นบททดสอบหัวใจของผู้ที่เลือกเส้นทางนี้

เช่นเดียวกับ ผศ. นพ.อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ ที่รักษาผู้ป่วยด้วยความเชี่ยวชาญตลอดระยะเวลามากกว่า 20 ปี ด้วยความมุ่งหวังตั้งแต่การเลือกเรียนแพทย์ในวันแรก และยังคงทำหน้าที่ในการบริหารจัดการองค์กรเพื่อคงไว้ซึ่งคุณภาพ ความเชื่อมั่น และร่วมขับเคลื่อนพัฒนาวงการศัลยแพทย์หัวใจให้ดียิ่งขึ้นไป

“หลักคิดการทำงานของผมก็คือการเน้นไปที่ตัวคนไข้เป็นเรื่องสำคัญ อะไรก็ตามที่ส่งผลดีกับคนไข้ที่เราให้การดูแล จะต้องทำสิ่งนั้นให้เกิดขึ้นให้ได้ สำหรับทุกคนที่เดินเข้ามาจะต้องได้รับผลการรักษาที่ดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ โมเมนต์ความสุขมันเกิดขึ้นทุกครั้ง เมื่อคนไข้มีอาการดีขึ้นครับ” ‘ผศ.นพ.อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ‘ ศัลยแพทย์หลอดเลือดแดง กับความสุขที่ได้ช่วยคน ‘ผศ.นพ.อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ‘ ศัลยแพทย์หลอดเลือดแดง กับความสุขที่ได้ช่วยคน ‘ผศ.นพ.อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ‘ ศัลยแพทย์หลอดเลือดแดง กับความสุขที่ได้ช่วยคน

Source : 

https://www.bangkokhearthospital.com/content/introducing-new-treatment-for-life-threatening-aortic-aneurysm

https://www.bangkokhearthospital.com/about-us/awards-accreditations/elso-award

https://www.ijn.com.my/services-facilities/endovascular-repair-of-aortic-conditions-evar-and-tevar/?fbclid=IwAR3d1RycH4xU-uyPDO74rJuTc68BK4xI58SWFqqHOoABE7WWAmivmmWRBx8