17 ต.ค. 2565 | 12:33 น.
- หลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีนคนแรกที่มาจากการเป็นนักเศรษฐศาสตร์
- เขาเป็นผู้ริเริ่มแนวคิด Made in China ตั้งแต่แรก ๆ จนตอนนี้ได้สานต่อยุทธศาสตร์นี้เป็น Made in China 2025
- นิตยสาร The Economist เป็นรายแรก ๆ ที่ใช้คำว่า ‘ดัชนีเค่อเฉียง’ (Keqiang Index) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจแนวทางใหม่
'หลี่ เค่อเฉียง' ลูกข้าราชการท้องถิ่นในมณฑลอานฮุย เขาเริ่มต้นเส้นทางการเมืองหลังเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีน และได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งชาติจีนมาเป็นเวลาหนึ่งทศวรรษเต็ม ๆ ตั้งแต่ปี 2013
ทั้งนี้ หลี่ เค่อเฉียง ได้ลงจากตำแหน่งเมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งวันที่ 27 ตุลาคม 2023 เวลา 00.10 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) เขาได้เสียชีวิตลงด้วยวัย 68 ปี ในขณะที่กำลังพักผ่อนอยู่ในนครเซียงไฮ้ ด้วยภาวะหัวใจวายหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
เขาถือว่าเป็นนายกรัฐมนตรีจีนคนแรกที่เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่เก่งกาจ เขาได้ชื่อว่าเป็นบุคคลที่นำเสนอ 'ยุทธศาสตร์ Made in China' จนทำให้หลายประเทศรู้จักสินค้าและบริการของจีนมากขึ้น
ซึ่งคณะทำงานของรัฐบาลจีนได้สานต่อแนวคิด 'Made in China' ของเขาแม้ว่าเขาจะลงจากตำแหน่งไปแล้ว เป็นวาระแห่งชาติโดยตั้งชื่อว่า 'Made in China 2025'
เรื่องราวของ หลี่ เค่อเฉียง เรียกว่ามีผลงานโดดเด่นคนหนึ่งในรัฐบาลจีนก็ว่าได้ และนี่คือชีวิตของเขาที่ The People ได้สรุปมาให้อ่านกัน
จากเด็กเงียบสู่นักเศรษฐศาสตร์
หลี่ เค่อเฉียง เกิดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 1955 (อายุ 67 ปี) ที่เมืองเหอเฝย์ มณฑลอานฮุย ประเทศจีน ซึ่งพ่อของเขาเป็นข้าราชการท้องที่
หลี่ เค่อเฉียง เคยหยุดเรียนไปช่วงหนึ่งในปี 1974 - 1978 ซึ่งเป็นช่วงที่จีนเกิดการปฏิวัติทางวัฒนธรรมยุคของเหมา เจ๋อตง แต่พอหลังจากนั้น นายกฯ หลี่ เค่อเฉียง ก็กลายเป็นเด็กเงียบ ๆ หมกมุ่นอยู่กับการเรียน การอ่านหนังสือเป็นหลัก
หลี่ เค่อเฉียง เป็นเด็กที่ชอบเรียนคณิตศาสตร์ และชอบการวางแผนอยู่แล้ว โดยในปี 1978 เขาได้รับโอกาสในการเข้าเรียนที่วิทยาลัยปักกิ่ง คณะนิติศาสตร์ นอกจากนี้เขายังได้ศึกษาต่อระดับปริญญาเอกสาขาเศรษฐศาสตร์กับอาจารย์ที่มีชื่อเสียงมีแนวคิดตลาดเสรีซึ่งตรงกับเขา
หลี่ เค่อเฉียง เป็นคนที่หลงใหลในการเมืองอย่างชัดเจนตั้งแต่เรียน และมีโอกาสได้เข้าร่วมทางการเมืองตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา เป็นเหตุผลว่าทำไมเขาได้ก้าวเข้าสู่พรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP)
ในปี 1988 - 1989 หลี่ เค่อเฉียง มีโอกาสขึ้นเป็น ‘ผู้รักษาการผู้ว่าการพรรค CCP’ และขึ้นเป็นผู้ว่าการพรรคในปี 1999 - 2003 ก่อนจะเป็นเลขาธิการพรรคประจำมณฑลเหอหนานในปี 2002 - 2004
ผลงานโดดเด่นที่ หลี่ เค่อเฉียง ทำตั้งแต่ที่นั่งเป็นเลขาธิการพรรคฯ ก็คือ การพัฒนาเศรษฐกิจจนได้รับการยกย่องจากหลาย ๆ มณฑล ซึ่งเขาถูกพูดถึงในฐานะที่เป็นนักคิดนักวางแผนด้านเศรษฐศาสตร์อย่างกว้างขวาง
เส้นทางนักการเมือง
อย่างที่เล่าไปว่า หลี่ เค่อเฉียง เข้ามีส่วนร่วมในเส้นทางการเมืองตั้งแต่ที่ยังเป็นนักศึกษา ดังนั้น เขาเป็นอีกหนึ่งคนที่หลายคนยกย่องว่า เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และมีการวางแผนด้านเศรษฐกิจที่ดีมากคนหนึ่ง
ทั้งนี้ ตำแหน่งทางการเมืองที่มีคนพูดถึงอย่างมากของ หลี่ เค่อเฉียง ตั้งแต่ปี 1976 ครั้งแรกที่เขาได้เข้าร่วมพรรค CCP ในตำแหน่งเลขาธิการระดับชุมชนของพรรค
และเมื่อสำเร็จการศึกษา เขาได้เข้าร่วมเป็นผู้นำของสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์จีน (CCYL) เวลาผ่านมาเรื่อย ๆ กับประสบการณ์ทางการเมืองที่เขาได้รับ ทำให้ในปี 2008 หลี่ เค่อเฉียง ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งเป็น ‘รองนายกรัฐมนตรีของจีน’
และขึ้นรับตำแหน่ง ‘นายกรัฐมนตรี’ อย่างเป็นทางการในปี 2013 จากการประชุมพรรค CCP ครั้งที่ 18 เมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2012
ผลงานความร่วมมือกับประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ที่เรียกว่าทั่วโลกรู้จักและชื่นชม อย่างเช่น โครงการ GMS ของ 6 ประเทศ (ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน เพื่อพัฒนาและเติบโตให้แข็งแรงขึ้น หรือในปี 2017 ที่นายกฯ หลี่ เค่อเฉียง พบกับอดีตประธานาธิบดีของสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับจีนในเชิงบวก เพราะโดยส่วนตัว เขาค่อนข้างสนับสนุนการค้าและตลาดเสรี เป็นต้น
ขณะที่หลี่ เค่อเฉียง กล่าวยืนยันเรื่องการลงจากตำแหน่ง เขายังพูดถึงเศรษฐกิจของจีนในเวลานี้ที่กำลังเปราะบางว่า “การบริหารจัดการเศรษฐกิจจีนในปัจจุบันเหมือนกับการปีนเขาสูงที่มีอากาศเบาบาง เพราะมีความท้าทายรอบด้านทั้งในประเทศ และปัจจัยในต่างประเทศ
“หากคุณปีนเขาสูง 1,000 เมตร แล้วต้องการปีนขึ้นไปอีก 10% คือ 100 เมตร นั่นไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่หากคุณปีนเขาสูง 3,000 เมตรแล้วต้องการปีนขึ้นไปอีก 5% นั่นเท่ากับ 150 เมตร นั่นหมายถึงปัจจัยต่าง ๆ จะเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน เพราะแรงดันอากาศกำลังลดลง และออกซิเจนที่มีอยู่ก็จะเบาบางลงด้วย”
ซึ่งการก้าวลงจากตำแหน่งของนายกฯ หลี่ เค่อเฉียง ในเดือนมีนาคม มีหลายคนพูดว่าเหมือนเศรษฐกิจของจีนที่โดยปกติจะมีเขาเป็นหัวหอกในการวางแผน จะต้องเปลี่ยนมือ และเผชิญกับช่วงรอยต่อทางเศรษฐกิจ
อย่างก็ไรตาม หลักคิดของ หลี่ เค่อเฉียง โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจจนมีคนยกย่องใช้ชื่อเขาและนิยามว่าเป็น ‘ดัชนีเค่อเฉียง’ (Keqiang Index) ถือว่าเป็นเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจแนวทางใหม่ที่หลายประเทศนำไปปรับใช้ด้วย และเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากขึ้น นับตั้งแต่ที่นิตยสาร The Economist ได้ใช้คำนี้เป็นที่แรก ๆ นั่นเอง
หมายเหตุ: เนื้อหานี้เผยแพร่เมื่อ 2022 อัปเดตข้อมูลเมื่อ 27 ตุลาคม 2023
ภาพ: getty images
อ้างอิง: