‘Wind of Change’ เพลงแห่งการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน ที่ว่ากันว่า CIA เป็นคนแต่ง!

‘Wind of Change’ เพลงแห่งการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน ที่ว่ากันว่า CIA เป็นคนแต่ง!

‘Wind of Change’ เพลงแห่งการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน ที่ว่ากันว่า CIA เป็นคนแต่ง!

       ในพจนานุกรมเพลงพาวเวอร์ บัลลาดถูกนิยามไว้ว่าเป็นห้วงอารมณ์ของดนตรีฮาร์ดร็อกหรือเฮฟวี่ เมทัล ที่มาพร้อมกับจังหวะเพลงที่ช้าและเสียงร้องที่ใช้อารมณ์อย่างเต็มที่ ถ้าคุณจินตนาการไม่ออกว่ามันเป็นอย่างไร แนะนำให้เสิร์ชกูเกิล พิมพ์คำว่า ‘Wind of Change’ เพราะมันน่าจะเป็นตัวแทนของคำคำนี้ได้เป็นอย่างดี

Wind of Change’ คือผลงานเพลงสุดอมตะของวงร็อกจากเมืองฮันโนเวอร์ ประเทศเยอรมนี อย่าง Scorpions (สกอร์เปี้ยนส) ที่ครองใจนักฟังทั่วโลกมายาวนาน ซึ่งนอกจากเสียงผิวปากอันโด่งดังในท่อนอินโทรของเพลงแล้ว เบื้องหลังของเพลงนี้ยังกลั่นกรองมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้ง และเปรียบเป็นสัญลักษณ์การล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินในยุคสงครามเย็น อีกทั้งว่ากันว่า นี่เป็นเพลงที่ CIA (สำนักข่าวกรองกลางของสหรัฐอเมริกา) เป็นผู้แต่งด้วย!

เยอรมนีถือเป็นประเทศที่ฝากบาดแผลสงครามให้กับคนแทบจะทั่วโลก แม้ว่าสงครามโลกครั้งที่ 2 จะยุติไปกว่าครึ่งศตวรรษ แต่ผู้คนก็ยังไม่ลืมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ชาวเยอรมันต้องกลายมาเป็นผู้ไถ่บาปเพราะสิ่งที่ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำนาซีทำลงไป นี่เป็นตราบาปที่ติดอยู่ในใจของ รูดอล์ฟ เชงเกอร์ และ เคลาส์ ไมเนอ สองสมาชิกคนสำคัญของ Scorpions ครั้งหนึ่งพวกเขาเคยให้สัมภาษณ์ว่า แรงบันดาลใจที่ทำให้ก่อตั้งวงขึ้นมาคือ ความรู้สึกผิดในอดีตต่อสิ่งที่ประเทศของเขาเคยทำกับคนทั้งโลก และพวกเขาหวังจะใช้ดนตรีเหล่านี้สร้างความสุขให้ผู้คนแทนคำขอโทษ

Scorpions เลือกที่จะถ่ายทอดบทเพลงด้วยภาษาอังกฤษ แทนที่จะเป็นภาษาแม่อย่างเยอรมัน เพราะพวกเขารู้ดีว่าวงร็อกที่มาจากเยอรมนี ไม่ต่างจากสินค้ามีตำหนิชิ้นหนึ่งที่คนพร้อมจะเมินหน้าหนี ในช่วงแรกของเส้นทางดนตรี เวลาไปทัวร์ตามประเทศต่าง ๆ Scorpions มักจะเจอเหตุการณ์ทัวร์ลงบ่อย ๆ บางครั้งแรงต่อต้านถึงขั้นมีการประท้วงหรือใช้ความรุนแรงเลยทีเดียว จุดเกิดเหตุก็หนีไม่พ้นประเทศที่ได้รับบาดแผลฉกรรจ์อย่างโปแลนด์และรัสเซีย

[caption id="attachment_23043" align="aligncenter" width="1920"] ‘Wind of Change’ เพลงแห่งการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน ที่ว่ากันว่า CIA เป็นคนแต่ง! วง Scorpions ในปัจจุบัน[/caption]

เราอยากหนีจากประวัติศาสตร์ของเยอรมนี หนีจากความหายนะ หนีจากยุคของพ่อแม่ที่ทำสงครามกับทั้งโลก เราอยากเป็นแค่นักดนตรี อยากเข้าร่วมในครอบครัวดนตรีระดับนานาชาติ นั่นเป็นเหตุผลที่เราต้องร้องเพลงเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อที่จะทิ้งประวัติศาสตร์ที่พวกเราไม่ได้ภูมิใจนักรูดอล์ฟ เชงเกอร์ มือกีตาร์หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งวง ย้อนความหลัง

เมื่อปี 1988 ช่วงที่เราออกอัลบั้ม Savage Amusement เราหวังว่าจะได้เล่นที่รัสเซีย (โซเวียตเดิม) แต่เราก็ถูกห้ามเล่น โดยเฉพาะในมอสโคว์ ที่กลัวว่าเพลงร็อกจะเข้าไปสู่วัฒนธรรมของพวกเขา เราถูกห้ามไม่ให้เล่นในมอสโคว์ แต่พวกเขาก็เสนอให้เราไปเล่นที่เลนินกราดแทน ตอนแรกเรารู้สึกผิดหวังที่ไม่ได้เล่นที่เมืองหลวง แต่พอได้เล่นสิบโชว์ที่เลนินกราด การได้เล่นที่รัสเซียมันเหมือนฝันที่เป็นจริงของเราเลย เพราะในจุดที่เราอยู่ ประวัติศาสตร์ของประเทศเราทำเรื่องที่ไม่ดีไว้เยอะที่รัสเซีย นั่นจึงทำให้เราอยากจะทำเรื่องดี ๆ เราอยากจะเล่นที่รัสเซีย เพื่อแสดงให้พวกเขาเห็นว่า คนเยอรมันรุ่นใหม่เติบโตขึ้นและไม่ได้มาพร้อมกับรถถัง ปืน หรือสงคราม แต่เรามาพร้อมกับกีตาร์ ดนตรีร็อกแอนด์โรลล์ และนำความรักมาให้เชงเกอร์ เล่า

หลังเยอรมนีพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ถัดจากนั้น โลกก็ได้รู้จักกับสงครามเย็น นำสู่การสร้างกำแพงเบอร์ลินในปี 1961 แบ่งแยกเยอรมนีออกเป็น 2 ขั้วฟากหนึ่งคือเยอรมนีตะวันตกที่ปกครองด้วยหลักประชาธิปไตยควบคุมโดยอังกฤษฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกาส่วนอีกฟากคือเยอรมนีตะวันออกที่ใช้ระบอบคอมมิวนิสต์ในการปกครองนำโดยรัสเซียหรือสหภาพโซเวียตเดิม

[caption id="attachment_23042" align="aligncenter" width="1536"] ‘Wind of Change’ เพลงแห่งการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน ที่ว่ากันว่า CIA เป็นคนแต่ง! ผู้คนออกมาฉลองหลังการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน[/caption]

       กำแพงเบอร์ลินจึงไม่เพียงจะแบ่งกั้นผู้คนออกจากกัน แต่ยังเป็นสัญลักษณ์สะท้อนถึงอุดมการณ์ทางการเมือง 2 ขั้วของโลกมานานร่วม 30 ปี (1961-1989) ระหว่างนั้น ผู้คนจากฝั่งตะวันออกนับล้านคนต่างพยายามหลบหนีเข้าฝั่งตะวันตก เพื่อไปให้พ้นความยากจนและแสวงหาโอกาสในชีวิตที่ดีกว่า หลายคนมีชีวิตรอดข้ามไปฝั่งตะวันตกได้ แต่หลายคนก็ไม่ อย่าง ปีเตอร์ เฟกเตอร์ ที่เสียชีวิตอย่างน่าสลดใจข้างกำแพงเบอร์ลิน

แน่นอนว่าเหล่าสมาชิกแมงป่องผยองเดชก็ล้วนมีความทรงจำกับกำแพงเบอร์ลินด้วยเช่นกัน

เราคุยกันตลอดว่าโชคดีที่เกิดในเยอรมนีตะวันตก มันฟังดูไม่ค่อยน่าเชื่อเท่าไหร่ แต่ตอนนั้นทีวีมีแค่ 3 ช่อง หนึ่งในนั้นเป็นภาพขาวดำมาจากฝั่งตะวันออก และเมื่อคุณดูช่องของเยอรมนีตะวันออก มันเหมือนอยู่ในโลกที่มืดมน เหมือนกับคุณรู้สึกได้เลยว่าคุณไม่ได้รับการต้อนรับที่นู่น การแบ่งแยกระหว่างตะวันตกกับตะวันออกมันตึงเครียดมาก ๆ เราโตมากับยีนส์ กับเอลวิส และหมากฝรั่ง มันค่อนข้างเป็นวิถีแบบอเมริกันน่ะ แต่คนฝั่งนั้นโตมากับสหภาพโซเวียต นิกิตา ครุสชอฟ (อดีตผู้นำสหภาพโซเวียต) ที่ชอบเอารองเท้าของเขามาตบโต๊ะระหว่างประชุมสมัชชาแห่งสหประชาชาติ สิ่งนั้นมันคือการขู่นะ คุณรู้ไหม? ตอนที่เขาทำแบบนั้นน่ะ มันเหมือนกับว่าว้าว สงครามครั้งต่อไปกำลังจะเกิดขึ้นแล้ว’” ไมเนอเล่า

[caption id="attachment_23046" align="aligncenter" width="700"] ‘Wind of Change’ เพลงแห่งการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน ที่ว่ากันว่า CIA เป็นคนแต่ง! เคราส์ ไมเนอ และรูดอล์ฟ เชงเกอร์[/caption]

       Scorpions เป็นอีกวงที่มักจะชอบเขียนเพลงแอนตี้สงครามมาก่อน เช่นในอัลบั้ม Love at First Sting ก็จะมีเพลง ‘Crossfire’ เกี่ยวกับการใช้ชีวิตอยู่สองที่ระหว่างตะวันตกกับตะวันออก รวมถึงเพลงดังอย่าง ‘Bad Boys Running Wild’ กับ ‘Rock You Like A Hurricane’ ก็ล้วนแต่เป็นเพลงที่มีเนื้อหาลักษณะนั้น

Scorpions มีกราฟขึ้น ๆ ลง ๆ ตลอดยุค 1980s จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของวงเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคมปี 1989 เมื่อ Scorpions ได้รับเชิญให้ไปเล่นที่เทศกาลดนตรี Moscow Music Peace ท่ามกลางคนดูกว่าหนึ่งแสนคน ร่วมกับศิลปินฮาร์ดร็อกชื่อดังอย่าง ออซซี ออสบอร์น วง Mötley Crüe และวง Skid Row การแสดงในเมืองหลวงของโซเวียตครั้งแรกของพวกเขามาพร้อมกับสถานการณ์สงครามเย็นในประเทศบ้านเกิดที่กำลังเข้าสู่ช่วงแตกหัก เหตุการณ์นี้สร้างแรงบันดาลใจให้ไมเนอเขียนเพลงที่มีชื่อว่า ‘Wind of Change’ ขึ้น

เรานั่งเรือล่องไปตามแม่น้ำมอสควา และเราอยู่บนเรือกับทุกวง กับนักข่าว MTV และแม้กระทั่งกับพวกทหาร มันเป็นช่วงเวลาที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับผมในการแต่งท่อนแรกของ ‘Wind of Change’ คือ I follow fhe Moskva. Down to Gorky Park. ตอนนั้นเหมือนทั้งโลกอยู่บนเรือลำเดียวกัน พูดภาษาเดียวกัน นั่นคือดนตรี

เดือนพฤศจิกายน ปี 1990 Scorpions ปล่อยผลงานสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 11 ออกมาโดยใช้ชื่อว่า Crazy World ก่อนจะเปิดตัวด้วยซิงเกิลอย่าง ‘Tease Me Please Me’ และ ’Don't Believe Her’ ที่ช่วงแรกกระแสเงียบกริบไม่ต่างกับป่าช้า แต่แล้วหนึ่งเดือนต่อมา ทันทีที่พวกเขาปล่อยซิงเกิลที่สามอย่าง ‘Wind of Change’ ความสำเร็จต่าง ๆ ก็ตามมา ตัวเพลงทะยานขึ้นอันดับที่สี่ในชาร์ทบิลบอร์ดสหรัฐฯ ก่อนจะขึ้นอันดับหนึ่งในหลายประเทศทั่วโลก ส่งให้อัลบั้มของพวกเขาได้ยอดขายระดับแพลตินัม

[caption id="attachment_23041" align="aligncenter" width="1536"] ‘Wind of Change’ เพลงแห่งการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน ที่ว่ากันว่า CIA เป็นคนแต่ง! Moscow Music Peace[/caption]

จริง ๆ ฝรั่งเศสคือประเทศแรกที่เปิดเพลงนี้ พวกเขามักจะชอบเพลงช้า ๆ มาก พวกเรามักจะพูดเสมอว่าเพลงนี้มันเป็นเพลงของคนฝรั่งเศสยุคเบบี้บูมเมอร์เชงเกอร์ เล่าถึงเพลงฮิตระเบิดของพวกเขา

ผมพยายามจะเขียนให้มันเป็นสากลหรือเปล่าน่ะเหรอ? ผมไม่ได้คิดถึงเรื่องนั้นเลยนะ มันมาของมันเอง เนื้อร้อง คำพูด เมโลดี้ โครงสร้างของเพลง ทุกอย่างออกมาเร็วมาก และเมโลดี้ตอนเริ่ม ผมก็แค่ผิวปากของผมไป ผมเล่นกีตาร์ก็จริง แต่ไม่ใช่ลีดกีตาร์ ผมเลยแค่ผิวปากไป และมันก็ค่อนข้างเจ๋งนะ ผมเล่นเพื่อให้ทุกคนในวงฟัง และพวกเขาก็ชอบเพลงนี้กันดี แต่ท่อนผิวปากนี่พวกเขายังไม่ค่อยโอเคเท่าไหร่ในตอนแรกไมเนอ เล่าบ้าง

อันที่จริง ตอนแรกมีเสียงค้านจากค่าย อยากให้วงตัดท่อนผิวปากนี้ออก ซึ่งเชงเกอร์พูดถึงเรื่องนี้ว่าค่ายมาบอกเราว่าทุกคน เพลงนี้ดีมาก เยี่ยมไปเลย แต่คงดีถ้าพวกนายตัดท่อนผิวปากออกหลังจากนั้นเราก็ทำตามพวกเขานะ เราลองทำหลาย ๆ แบบ แต่พอเราเอาเสียงผิวปากออก มันเหมือนเพลงขาดอะไรไป สุดท้ายเราเลยบอกพวกเขาไปว่าช่างแม่งเหอะ เราจะเก็บเสียงผิวปากไว้’”

สุดท้ายท่อนผิวปากอันทรงเสน่ห์ บวกกับเนื้อหาทางการเมืองที่อยากเห็นความเปลี่ยนแปลงในประเทศ กลายเป็นพลังส่งต่อที่ทำให้ ‘Wind of Change’ ประสบความสำเร็จ ยิ่งไปกว่านั้น ความสำเร็จดังกล่าวยังมาพร้อมกับการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินในยุคสงครามเย็นอีกด้วย และเพลงนี้ก็ยังถูกนำไปเปรียบเป็นสัญลักษณ์การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 อีกด้วย

จากการปฏิวัติของเพลงนี้ จากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่ง ไม่กี่เดือนข้างหน้ามันก็กลายเป็นเพลงหมายเลขหนึ่งในทุกที่ ในเยอรมนีกำแพงก็พังลงมา และเพลงนี้ได้กลายเป็นซาวนด์แทร็คของการปฏิวัติที่สงบสุขที่สุดในโลกลมแห่งการเปลี่ยนแปลงนั่นคือข้อความของเพลงที่เกี่ยวกับความปรารถนาของผู้คนทั่วโลกในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และตอนนี้มันได้เข้าถึงผู้คนในทุกส่วนของโลกแล้วเชงเกอร์ให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Rolling Stone

หนึ่งในสิ่งสำคัญสำหรับ ‘Wind of Change’ คือเราไม่ใช่แค่วงที่ร้องเพลงเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ แต่เราเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งพวกนี้ต่างหาก มันทำให้เราเห็นว่าดนตรีเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างสะพานขึ้นมา นั่นคือสิ่งที่เราพยายามทำกันมาตลอด เรามาจากเยอรมนี และเรื่องราวจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้เราเห็นโอกาสที่จะได้ทำอะไรดี กับดนตรี และผมคิดว่า ‘Wind of Change’ ก็ได้ทำอะไรดี ตรงตามที่พวกเราตั้งใจไว้ ไมเนอ พูดถึงเพลงดังของ Scorpions

[caption id="attachment_23040" align="aligncenter" width="1536"] ‘Wind of Change’ เพลงแห่งการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน ที่ว่ากันว่า CIA เป็นคนแต่ง! วันแรกที่มีการเปิดกำแพงเบอร์ลิน[/caption]

       ล่าสุดในปี 2020 แพทริก แรดเดน คีฟ นักข่าวจอมขุดคุ้ยชื่อดัง ผู้เคยทำงานร่วมกับ FBI (สำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐอเมริกา) และนิตยสาร New Yorker ออกมาเปิดเผยข้อมูลลับที่เขาได้จากแหล่งข่าวที่เคยทำงานใน CIA ผ่านรายการพอดแคสต์ของตนใน Spotify ว่า

แท้จริงแล้ว ‘Wind of Change’ อาจจะเป็นผลงานการแต่งของ CIA !!

อดีตเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ แหล่งข่าวของคีฟ เล่าว่า ช่วงปี 1989 สหรัฐฯ พยายามใช้ป๊อป คัลเจอร์ เป็นเครื่องมือสนับสนุนแคมเปญยุติสงครามเย็น ก่อนจะย้ำว่า CIA ได้เข้ามาช่วยไมเนอเขียนเพลง ‘Wind of Change’ เพราะเชื่อว่า Scorpions น่าจะเป็นตัวแทนของการปลดแอกที่มีประสิทธิภาพ

ในพอดแคสต์ตอนที่ 8 ของคีฟ เขาเดินทางไปเยอรมนี เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงจากตัวไมเนอ ผู้ได้ชื่อว่าเป็นคนเขียนเพลงนี้ แน่นอนว่านักร้องนำของวงแมงป่องผยองเดช ก็ออกมาปฏิเสธทฤษฎีสมคบคิดดังกล่าวของ คีฟว่ามันเป็นเรื่องที่ประหลาดมาก ผมนึกไม่ออกเลยว่าเพลงนั้นจะเชื่อมโยงกับ CIA ได้ยังไง ไมเนอพูดถึงข่าวลือกับคีฟ ในรายการพอดแคสต์ Wind of Changeผมไม่เคยได้ยินเรื่องนี้เลย และผมประหลาดใจมากที่มีบางคนต้องการเครดิตสำหรับเพลงนี้

แต่หลังจากที่คีฟเล่าเรื่องเกี่ยวกับหลักการของ CIA บวกกับงานสัมภาษณ์และวิจัยที่เขาทำมาร่วมสิบปีเพื่อหาความจริงของเบื้องหลังนี้ ไมเนอก็แสดงท่าทีเปลี่ยนไปเล็กน้อยมันเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจจริง ๆ มันน่าจะเป็นไอเดียที่ดีในการเอาไปทำหนังนะ คงจะเจ๋งเลยล่ะ ถ้า CIA มีเพลงแบบนี้แล้วคอยส่งให้นักร้อง ผมไม่เชื่อว่ามันจะมีความเชื่อมโยงกันอะไรแบบนั้น แต่เรื่องนี้ก็สะท้อนให้เห็นถึงพลังของดนตรีที่เข้าถึงความรู้สึกลึก ๆ ของคน และสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ แต่ผมคิดว่าทฤษฎีนี้เป็นเรื่องขำ ๆ มากกว่า ผมไม่เอามาคิดมากหรอกไมเนอชี้แจงกับคีฟ

แม้เวลาจะผ่านไป แต่เจตนารมณ์ที่ไมเนอฝากไว้ในบทเพลงนี้ ก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของคนจำนวนมาก สำหรับเขาแล้ว เสียงผิวปากในวันนั้นคือสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง

เรามักจะประหลาดใจเสมอ เวลาได้ไปเล่นที่ไกล และเห็นว่า ‘Wind of Change’ มีความหมายแค่ไหน ท้ายสุดแล้ว เพลงนี้เหมือนมีชีวิตและประวัติศาสตร์ของตัวมันเองเคลาส์ ไมน์เนอ นักร้องนำแห่งวง Scorpions

ที่มา:

https://www.rollingstone.com/music/music-news/scorpions-wind-of-change-the-oral-history-of-1990s-epic-power-ballad-63069/

https://www.fastcompany.com/90502886/what-does-a-hit-pop-song-have-to-do-with-the-cia-the-new-wind-of-change-podcast-tries-to-find-out?partner=feedburner&utm_source=feedburner&utm_medium=feed&utm_campaign=Feed%3A+fastcoexist%2Ffeed+%28Co.Exist%29

https://www.nytimes.com/2020/05/08/arts/virus-winds-of-change-podcast.html

https://ultimateclassicrock.com/scorpions-wind-of-change-cia/

https://open.spotify.com/show/3vikAuFxKVNe2GBZC61IYD