‘คนไร้บ้าน’ ไม่ใช่ไม่มีบ้าน แต่พวกเขามีเหตุปัจจัยของการกลับบ้านไม่ได้

‘คนไร้บ้าน’ ไม่ใช่ไม่มีบ้าน แต่พวกเขามีเหตุปัจจัยของการกลับบ้านไม่ได้

‘คนไร้บ้าน’ ไม่ใช่ไม่มีบ้าน แต่พวกเขามีเหตุปัจจัยของการกลับบ้านไม่ได้

ในพื้นที่สาธารณะ โดยเฉพาะย่านราชดำเนิน หัวลำโพง และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ภาพหนึ่งที่คนมักพบเห็นคือ คนไร้บ้านกำลังรอรับแจกข้าว หรือหากเป็นยามค่ำคืน พวกเขาก็จะนอนบริเวณที่มีแสงไฟส่องถึง

ตามความเข้าใจของคนบางคนในสังคมที่อาจมองว่า ‘คนไร้บ้าน’ แปลว่า ไม่มีเงินจึงไม่มีบ้าน ทว่า คำดังกล่าวที่ใช้เรียกคนที่ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะอาจมีส่วนบดบังปัญหาที่คนคนหนึ่งเผชิญ เพราะแต่ละคนอาจมีปัญหาหลากหลายและทับซ้อนกันได้

เช่น บางคนมีที่ดินเป็น 100 ไร่ แต่ถูกขับไล่ออกจากบ้าน เพราะพี่น้องแย่งชิงมรดกกัน บางคนฝากภรรยา ฝากลูกไว้กับเพื่อน สุดท้ายกลับไปเห็นเขาเป็นครอบครัวกันแล้ว บางคนตั้งใจว่าหากไม่มีเงินหมื่น ก็จะไม่กลับบ้าน เพราะเขาเป็นความคาดหวังของพ่อแม่ ของคนที่บ้าน ของสังคมรอบตัวที่นั่น

สิ่งสำคัญสำหรับคนกลุ่มนี้จึงไม่ใช่เพียงเรื่องที่อยู่อาศัย แต่เป็นเรื่องของการวางระบบ กลไกในการจัดการและช่วยเหลือ ในยามที่เผชิญกับปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการดำรงชีวิต ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาสุขภาพ หรือปัญหาการเข้าถึงสวัสดิการเพื่อช่วยให้ตรงจุด ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำ และพัฒนาไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี นอกจากนี้ การทำความเข้าใจสถานการณ์ชีวิตของคนไร้บ้านแต่ละคนก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นเดียวกัน

 

‘คนไร้บ้าน’ ไม่ใช่ไม่มีบ้าน แต่พวกเขามีเหตุปัจจัยของการกลับบ้านไม่ได้

เมื่อเหตุผลของการจากบ้าน ไม่ได้มีเพียงเรื่องเศรษฐกิจสาเหตุเดียว

จากรายงานวิจัยการสำรวจข้อมูลทางประชากรเชิงลึกของคนไร้บ้านในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่เกี่ยวเนื่อง’ โดย อนรรฆ พิทักษ์ธานิน และคณะ (2559) พบว่า คนที่ตัดสินใจออกมาใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะได้ไม่เกิน 15 ปี สาเหตุหลักมักมาจากการมีปัญหากับคนในครอบครัว ขณะที่คนที่เป็นคนไร้บ้านมานานกว่า 15 ปี ส่วนใหญ่สาเหตุมักมาจากเรื่องการทำมาหาเลี้ยงชีพ เช่น ตกงาน ถูกไล่ออก หรือไม่มีงานทำ

เมื่อมีปัญหาในการตั้งตัวทำงาน ก็อาจถูกมองว่ามาจากความขี้เกียจ ไม่พยายามขวนขวาย หรือล้มเหลวในการใช้ชีวิต เกิดเป็นอคติและนำไปสู่การเลือกปฏิบัติต่าง ๆ ตามมา อาทิ การไม่จ้างงานเพราะมองว่าคนไร้บ้านไม่มีศักยภาพ การให้ค่าแรงอย่างไม่เป็นธรรม การบริจาคด้วยความสงสาร ซึ่งบางครั้งอาจลดทอนความเป็นมนุษย์ของอีกฝ่ายหรือเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเพียงอย่างเดียว โดยมองข้ามบริบทอื่น ๆ ไป 

 

‘คนไร้บ้าน’ ไม่ใช่ไม่มีบ้าน แต่พวกเขามีเหตุปัจจัยของการกลับบ้านไม่ได้

มากกว่าที่อยู่อาศัย คือระบบสวัสดิการที่โอบรับคนทุกกลุ่ม

แม้คนไร้บ้านจะเป็นกลุ่มที่เข้าถึงได้ยาก ทั้งด้านการสำรวจข้อมูลเชิงสถิติและด้านสังคมวัฒนธรรม แต่ยังมีหลายภาคส่วนที่พยายามศึกษา ทำความเข้าใจ และทำงานร่วมกับคนไร้บ้าน เช่น นักวิจัย นักมานุษยวิทยา องค์กรสาธารณประโยชน์ เป็นต้น

จากการสำรวจและทำงานในพื้นที่ของผู้ที่ขับเคลื่อนประเด็นคนไร้บ้าน พบว่า ความไว้วางใจ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้รู้จักและเข้าใจปัญหาของคนไร้บ้านในระดับปัจเจกมากขึ้น เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด 

หนึ่งในตัวอย่างนั่นคือการทำงานของมูลนิธิอิสรชน ซึ่งทำงานดูแลคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ เมื่อได้พูดคุยเก็บข้อมูล ทำความเข้าใจความต้องการของคนไร้บ้าน ก็พบว่าสิ่งที่พวกเขาต้องการหลัก ๆ ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย แต่เป็นความช่วยเหลือให้สามารถทำงานได้ราบรื่นขึ้น 

เช่น กรณีคนไร้บ้านผู้หนึ่ง เมื่อมูลนิธิพูดคุยจนเข้าใจว่าอยากได้ความช่วยเหลือในการทำงาน และเห็นความตั้งใจและความสม่ำเสมอในการประกอบอาชีพเก็บขยะ จึงได้ระดมทุนจัดหารถสามล้อพ่วงข้างให้ เพื่อเป็นเครื่องมือทำมาหากิน  ซึ่งรถสามล้อพ่วงข้างหนึ่งคันสามารถเปลี่ยนชีวิต จากการเดินเก็บขยะขายเป็นการทำงานที่ร้านเก็บขยะ มีรายได้ประจำและสามารถส่งเงินให้ลูกหลานได้ ‘คนไร้บ้าน’ ไม่ใช่ไม่มีบ้าน แต่พวกเขามีเหตุปัจจัยของการกลับบ้านไม่ได้

แม้ว่าการใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะและการประกอบอาชีพของคนไร้บ้านเริ่มมีความมั่นคงมากขึ้น ทว่าก็ยังมีปัญหาในมิติอื่น ๆ ที่ทำให้ยังไม่อยากกลับบ้านที่จากมา หรือกลับไปเป็นภาระของลูกหลาน ทำให้คนไร้บ้านหลายคนยังคงใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะจนถึงปัจจุบัน

จากข้างต้นจะเห็นว่า คนหนึ่งคนมีปัญหาที่ซับซ้อนหลากชั้นและหลายมิติ สิ่งสำคัญคือรัฐจะสร้างกลไกระบบสวัสดิการอย่างไร ในการช่วยเหลือคนที่มีปัญหา นอกจากนี้ คนไร้บ้านไม่ใช่แค่กลุ่มคนไร้ที่อยู่อาศัยหรือคนตกงานเท่านั้น แต่ยังมีกลุ่มคนพิการไร้บ้าน คนไร้สัญชาติตกหล่นจากการทำงานแล้วมาเป็นคนไร้บ้าน หรือกระทั่งผู้สูงอายุที่ไม่มีญาติ เจ็บป่วยแล้วมานอนอยู่ข้างถนน ซึ่งคนกลุ่มนี้อาจสะท้อนถึงปลายปัญหาหลายอย่างของระบบสวัสดิการ

ด้วยเหตุนี้ การช่วยเหลือคนไร้บ้านอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องอาศัยการทำงานแบบองค์รวม มองเห็นการเรียงร้อยเชื่อมโยงแต่ละปัญหา และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ซึ่งความท้าทายในการจัดการกับประเด็นนี้ คือการร่วมกันทำงานประสานกันในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นรัฐ เอกชน หรือส่วนองค์กรสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถช่วยเหลือได้อย่างตรงจุดและยั่งยืนได้

อ้างอิง

  • อนรรฆ พิทักษ์ธานิน และคณะ. (2559). การสำรวจข้อมูลทางประชากรเชิงลึกของคนไร้บ้านในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่เกี่ยวเนื่อง. สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

 

‘คนไร้บ้าน’ ไม่ใช่ไม่มีบ้าน แต่พวกเขามีเหตุปัจจัยของการกลับบ้านไม่ได้

 

‘คนไร้บ้าน’ ไม่ใช่ไม่มีบ้าน แต่พวกเขามีเหตุปัจจัยของการกลับบ้านไม่ได้ ‘คนไร้บ้าน’ ไม่ใช่ไม่มีบ้าน แต่พวกเขามีเหตุปัจจัยของการกลับบ้านไม่ได้ ‘คนไร้บ้าน’ ไม่ใช่ไม่มีบ้าน แต่พวกเขามีเหตุปัจจัยของการกลับบ้านไม่ได้ ‘คนไร้บ้าน’ ไม่ใช่ไม่มีบ้าน แต่พวกเขามีเหตุปัจจัยของการกลับบ้านไม่ได้ ‘คนไร้บ้าน’ ไม่ใช่ไม่มีบ้าน แต่พวกเขามีเหตุปัจจัยของการกลับบ้านไม่ได้

 

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการสร้างสังคม DEE (Diversity, Equity and Empathy): ศึกษาสถานการณ์อคติต่อกลุ่มเปราะบาง และสื่อสารเพื่อสร้างความตระหนักรู้ของสังคม โดยความร่วมมือระหว่าง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนัก 9 และ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์