เติมเต็ม 'ความเบ่งบาน' ให้ชาวกรุงด้วย 'พื้นที่สีเขียว'

เติมเต็ม 'ความเบ่งบาน' ให้ชาวกรุงด้วย 'พื้นที่สีเขียว'

จะดีแค่ไหน ถ้ากรุงเทพฯ กลายเป็นเมืองที่มีทัศนียภาพที่น่าอยู่ และเต็มไปด้วยต้นไม้สีเขียวสบายตา ? เรื่องที่ถูกพูดถึงและผลักดันกันมาตลอด คือ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองให้มากขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้ The People เอง ก็ได้มีโอกาสไปสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงฯ เพื่อฟังเสียงสะท้อนที่อยากส่งต่อเรื่อง “พื้นที่สีเขียว” ถึงผู้เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และสภาพความเป็นอยู่ของคนเมืองให้ดีขึ้น เราเลยอยากชวนมาย้อนดูความเปลี่ยนแปลง จากวันที่เสียงสะท้อนเล็ก ๆ ได้ฉายภาพความคิดเห็นของชาวกรุงเทพฯ สู่จุดเริ่มต้นของแคมเปญ “Downy Blooming Bangkok บานสะพรั่งทั่วกรุง” โดย Downy ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการมีพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพฯ จนได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนและผลักดันให้มีพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพฯ จนเกิดเป็นแคมเปญ Downy Blooming Bangkok ที่เป็นจุดเริ่มต้นในการร่วมมือระหว่าง Downy กับกรุงเทพมหานครและภาคีอื่น ๆ เพื่อให้เกิดพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองกรุงฯ เพิ่มขึ้น จนเกิดเป็น “สวน 39 Wattana Pocket Park”ที่เพิ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อ 30 มกราคม ที่ผ่านมา

เติมเต็ม \'ความเบ่งบาน\' ให้ชาวกรุงด้วย \'พื้นที่สีเขียว\'

 

กรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียวเพียง 2% 

กรุงเทพฯ เป็นจุดศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศ จึงไม่แปลกใจเลย หากจะบอกว่ากรุงเทพฯเป็นเมืองที่มีความหนาแน่นสูง ทั้งในแง่ของจำนวนประชากร และสิ่งปลูกสร้าง

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ระบุไว้ว่า เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากร  ในเมือง ๆ หนึ่ง ควรมีพื้นที่สีเขียวไม่ต่ำกว่า 9 ตารางเมตรต่อคน แต่สำหรับกรุงเทพฯ เอง มีประชากรมากถึง 6 ล้านคน ในขณะเดียวกันก็มีพื้นที่สีเขียวน้อยมาก โดยกรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียวเฉลี่ยเพียง 6.9 ตารางเมตรต่อคนเท่านั้น

นอกจากนี้ คนกรุงเทพฯ ยังต้องเดินทางถึง 4.5 กิโลเมตร กว่าจะเจอสวน หรือพื้นที่สีเขียวสักแห่ง ซึ่งไกลกว่าที่องค์การอนามัยโลกระบุไว้ถึง 15 เท่า หรือเดินเพียง 300 เมตรจากบ้าน ซึ่งตัวเลขเหล่านี้ชี้ให้เห็นเป็นประจักษ์ว่า กรุงเทพฯ กำลังมีปัญหาขาดแคลนพื้นที่สีเขียว 

จากข้อมูลสำรวจพื้นที่เขตเมืองพบว่า กรุงเทพมหานคร มีพื้นที่สีเขียวเพียงแค่ 2% เท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยจนน่าตกใจ และตัวเลขนี้แสดงให้เห็นว่า พื้นที่สีเขียวในกรุงเทพฯ ไม่เพียงพอต่อจำนวนประชากร 

‘พื้นที่สีเขียว’ ไม่เพียงแต่จะเป็นเครื่องฟอกอากาศและผลิตอากาศบริสุทธิ์แล้ว ยังเป็นพื้นที่สาธารณะให้คนในชุมชนได้ออกกำลังกาย พักผ่อนหย่อนใจ ทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งล้วนชุบชูให้ชีวิตอันเหี่ยวเฉาของคนกรุงเทพฯ ให้เบ่งบานได้

 

เติมเต็ม \'ความเบ่งบาน\' ให้ชาวกรุงด้วย \'พื้นที่สีเขียว\'

 

Downy เล็งเห็นปัญหาพื้นที่สีเขียวไม่เพียงพอ จึงอยากเป็นส่วนหนึ่งในการมอบ ‘พื้นที่แห่งความเบ่งบาน’ เพื่อสนับสนุนให้ทุกคนเบ่งบานในแบบของตัวเอง รวมไปถึงเสริมสร้างบรรยากาศที่หอม สดชื่น และผ่อนคลาย เอื้อให้ผู้คนสร้างสรรค์และได้ทำกิจกรรม เพื่อการเติบโตของชีวิต

หลังจากมองเห็นความสำคัญของการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพฯ จึงเกิดเป็นหนึ่งแคมเปญ “Downy Blooming Bangkok บานสะพรั่งทั่วกรุง” เพื่อเป็นการสนับสนุนและผลักดันให้เพิ่ม ‘พื้นที่สีเขียว’ ในเขตเมือง โดย Downy มีแนวคิดที่จะเติมเต็มความสดชื่นเบิกบานให้กับกรุงเทพฯ ด้วยพื้นที่สีเขียวที่บานสะพรั่ง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยฟื้นฟูจิตใจคนกรุงฯ ที่วัน ๆ ต้องใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ และรายล้อมไปด้วยความเครียด

 

เติมเต็ม \'ความเบ่งบาน\' ให้ชาวกรุงด้วย \'พื้นที่สีเขียว\'

 

เสียงสะท้อนจากคนกรุงฯ

ย้อนกลับไปเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ทางทีม The People ได้มีโอกาสไปสำรวจความคิดเห็นถึงประเด็นของการมี ‘พื้นที่สีเขียว’ ในกรุงเทพมหานคร และร่วมพูดคุยกับคนกรุงเทพฯ หลากหลายอาชีพ  ตั้งแต่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย พนักงานออฟฟิศ พ่อค้าแม่ค้า นักศึกษามหาวิทยาลัย และผู้มีประสบการณ์การใช้ชีวิตในต่างประเทศ 

โดยแต่ละคนได้เเสดงความคิดเห็นถึงปริมาณและคุณภาพของพื้นที่สีเขียวที่มีอยู่ จากหลากหลายมุมมอง จนสามารถจุดประเด็นและส่งต่อสะท้อนเสียงคนกรุงฯ ของปัญหาพื้นที่สีเขียวไม่เพียงพอ ตลอดจนข้อเสนอแนะและแนวทางสำหรับการเพิ่มพื้นที่สีเขียวแห่งใหม่ ๆ ในอนาคตอีกด้วย 

สามารถดู VDO ฟังเสียงสะท้อนของคนกรุงฯ ในวันที่ ‘พื้นที่สีเขียว’ มีไม่เพียงพอ ได้ที่ Link นี้
https://www.facebook.com/100064471341580/videos/617949783663159

 

เติมเต็ม \'ความเบ่งบาน\' ให้ชาวกรุงด้วย \'พื้นที่สีเขียว\'

 

จำลองภาพ ปลุกจินตนาการ ให้ลองสัมผัสเมืองที่เบ่งบาน

การตระหนักถึงปัญหาพื้นที่สวนไม่เพียงพอ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของแคมเปญ “Downy Blooming Bangkok บานสะพรั่งทั่วกรุง” โดยในช่วงเริ่มต้น Downy ได้สร้างประสบการณ์จำลองภาพพื้นที่สวนดอกไม้ ผ่านเทคนิค CGI เนรมิตรกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองแห่งความเบ่งบาน  

ซึ่งภาพที่สร้างขึ้นโดยคอมพิวเตอร์กราฟิคนี้ จะเป็นตัวช่วยให้คนกรุงฯ ได้ทดลองสัมผัสกรุงเทพฯ ที่เต็มไปด้วยดอกไม้ที่เบ่งบาน มองไปทางไหนก็รู้สึกสดชื่น เมื่อปลุกจินตนาการให้กับคนกรุงฯ ได้แล้ว ก็ทำให้เกิดเป็นกระแส และการแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพฯ พร้อมทั้งตั้งคำถามว่า ‘จะดีแค่ไหน ถ้ากรุงเทพฯ เบ่งบานได้ทั่วทุกมุมเมืองแบบนี้’
 

  เติมเต็ม \'ความเบ่งบาน\' ให้ชาวกรุงด้วย \'พื้นที่สีเขียว\'

จากจินตนาการ สู่สวนดอกไม้บานสะพรั่งทั่วกรุงฯ

หลังจากกระตุ้นจินตนาการจนกลายเป็นกระแสบนโลกออนไลน์แล้ว Downy ได้เนรมิตภาพจำลองให้กลายเป็นความจริง เพื่อสร้างพื้นที่แห่งความเบ่งบานขึ้นมาให้จับต้องได้มากขึ้นอีกระดับ โดยทาง Downy ได้จัดแต่งพื้นที่สะพานลอยแยกสาทร-ช่องนนทรี ให้กลายเป็นสวนดอกไม้จริง ๆ 

นอกจากนี้ Downy ยังชวนทุกคนมาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความสดใสเบิกบานให้กับเมือง โดยการแจก “Downy Blooming Bomb” หรือเมล็ดดอกไม้พร้อมปลูก ให้กับคนกรุงฯ ที่เดินผ่านไปมา เพื่อนำกลับไปปลูกในที่ของตัวเอง ทั้งนี้เพื่อให้คนมีส่วนร่วมสร้างความเบ่งบานให้กับตัวเอง และส่วนรวมอย่างยั่งยืน

หลังจากแต่ละคนที่รับ Blooming Bomb ไปปลูกแล้ว ยังสามารถแสกน QR Code เพื่อเข้าไปปักหมุดพื้นที่เบ่งบานของตัวเองในเว็บไซต์ (www.downybloomingbangkok.com)  ซึ่งเว็บไซต์จะแสดงผลงานความเบ่งบานแบบเรียลไทม์ของแต่ละคน ที่ช่วยกันทำให้กรุงเทพฯบานสะพรั่งไปด้วยดอกไม้อีกด้วย ซึ่งนับเป็นแนวทางในการสร้างพื้นที่สีเขียวได้อย่างสร้างสรรค์ และตอกย้ำจุดมุ่งหมายของการผลักดันพื้นที่สีเขียวให้มีเพิ่มขึ้นของ Downy อย่างแท้จริง 

 

เติมเต็ม \'ความเบ่งบาน\' ให้ชาวกรุงด้วย \'พื้นที่สีเขียว\'

ความร่วมมือกับ กทม. เพื่อให้เกิดพื้นที่สวนจริง 

ล่าสุด วันที่ 30 มกราคม ที่ผ่านมา Downy ได้ลงมือทำความฝันที่จะมีพื้นที่สีเขียวของคนกรุงฯ ให้กลายเป็นจริง โดย Downy ได้ร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร เขตวัฒนา พร้อมด้วยเครือข่ายภาคีอื่น ๆ สนับสนุนโครงการสวน 15 นาที ที่ร่วมกันการพัฒนาที่รกร้างในกรุงเทพฯ ให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะสีเขียว 

พื้นที่สวนที่ทาง Downy ได้ร่วมบุกเบิกนั้นเคยเป็นพื้นที่รกร้าง ริมคลองแสนแสบ ตั้งอยู่ในเขตวัฒนา ซึ่งเป็นเขตที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ อัดแน่นไปด้วยตึกสูง แต่กลับมีพื้นที่สวนน้อยมาก เพียง 1.69 ตารางเมตรต่อคนเท่านั้น ทำให้พื้นที่ 373 ตารางเมตร ที่ได้แปลงสภาพเป็น “สวน 39 Wattana Pocket Park” แห่งนี้ แม้จะเป็นพื้นที่สีเขียวเล็ก ๆ แต่ก็เปรียบเหมือนหยดน้ำ ที่จะมาช่วยจรรโลงใจชาวเขตวัฒนาได้เป็นอย่างดี 

สวนแห่งนี้ผ่านกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วม โดยทาง we!park หนึ่งในภาคี ได้ทำจัดการตั้งแต่ ‘ร่วมหาพื้นที่’ ที่เหมาะสม หลังจากนั้นก็ได้ ‘ร่วมคิด’ กับคนในชุมชนใกล้เคียง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อที่จะได้ออกแบบสวนให้เป็นประโยชน์กับผู้ใช้งานจริงมากที่สุด ต่อมาก็ได้ ‘ร่วมแรง’ และ ‘ร่วมลงทุน’ ที่ได้ Downy มาเป็นกำลังสำคัญ จนกลายมาเป็นสวนแห่งนี้นั่นเอง

หลังจากผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมแล้ว นอกจากจะมีต้นไม้ ชิงช้า และม้านั่ง ให้ผู้คนมาพักผ่อนหย่อนใจ เหมือนสวนสาธารณะอื่น ๆ แล้ว สวน 39 Wattana Pocket Park ยังมีสวนเกษตรกินได้ ที่ปลูกผักนานาชนิด เพื่อสร้างแหล่งอาหารอย่างยั่งยืนให้ชาวกรุงฯ ซึ่งนับว่าเป็นเพิ่มความหลากหลายให้กับพื้นที่สาธารณะอีกด้วย

เหนือไปกว่านั้น เนื่องจากพื้นที่สวนนั้นติดกับคลองแสนแสบ ที่มีปัญหาเรื่องกลิ่นน้ำ การออกแบบของสวนจึงเน้นการปลูกต้นไม้ที่ให้กลิ่นหอม เช่น สมุนไพร และ ดอกไม้ต่าง ๆ เพื่อกลบกลิ่นคลอง ซึ่งทำให้สวน 39 Wattana Pocket Park กลายเป็น ‘พื้นที่แห่งความเบ่งบาน’ ที่เต็มไปด้วยกลิ่นหอมสดชื่นจากดอกไม้อย่างแท้จริง
 

เติมเต็ม \'ความเบ่งบาน\' ให้ชาวกรุงด้วย \'พื้นที่สีเขียว\'

 

โครงการสวน 15 นาที พื้นที่แห่งความเบ่งบาน

เป้าหมายหลักของโครงการสวน 15 นาทีของกรุงเทพมหานคร คือ การพัฒนาสวนเดิม และเพิ่มพื้นที่สวนใหม่ เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงสวนสาธารณะได้ภายใน 15 นาที หรือห่างจากชุมชนไม่เกิน 800 เมตร ทั้งนี้การมีพื้นที่สีเขียวกระจายอยู่ทั่วกรุงเทพฯ จะทำให้คนกรุงฯ มีพื้นที่ออกกำลังกาย และพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ดีในการส่งเสริมทั้งสุขภาพกายและใจที่ดีทีเดียว

The People จึงลงพื้นที่สัมภาษณ์ชาวบ้านริมคลองแสนแสบไม่ไกลจากสวน 39 Wattana Pocket Park ถึงความเห็นของการมีสวนใหม่มาสร้างอยู่ไม่ไกลบ้าน โดยทุกคนล้วนยินดีที่จะได้มีพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจอยู่ไม่ไกลจากบ้าน

คุณป้าทวีทรัพย์ กิมสุวรรณ หนึ่งในกลุ่มคนที่ The People ได้สัมภาษณ์ ได้กล่าวพร้อมกับรอยยิ้มว่า

“เย็น ๆ ป้าไปนั่งชิงช้าเล่นทุกวัน เด็ก ๆ แถวนี้ก็มาวิ่งเล่นกัน ส่วนสวนผักที่ปลูกไว้ ทาง กทม. เขาก็ให้เราไปเก็บกินได้เลย ใคร ๆ ก็มาเก็บได้ เจ้าหน้าที่ กทม. เขาก็จะคอยมาดูแลรดน้ำให้ และฝั่งนู้น เขามีสวนดอกไม้ด้วยนะ สวยงามเลยหละ” 

นอกจากนี้คุณป้าทวีทรัพย์ยังพูดถึงประเด็นเรื่องความปลอดภัย โดยการปรับปรุงพื้นที่รกร้าง ยังเป็นการพัฒนาทัศนียภาพ เพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้คนที่เดินผ่านไปมาอีกด้วย โดยคุณป้าให้ข้อมูลว่า

“ก่อนหน้าที่ที่นี่จะเป็นสวน แถวนี้มืดและเปลี่ยวมาก พอมีสวนนี้ คนเดินไปเดินมาก็ไม่อันตราย”

นับเป็นเสียงตอบรับที่เต็มไปด้วยความยินดีปรีดา ซึ่งสนองต่อความตั้งใจของ Downy และเครือข่ายภาคี ที่ต้องการพัฒนาพื้นที่สวนแห่งนี้ ให้เป็นสถานที่ชุบชูจิตใจและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนกรุงฯ ให้เบ่งบาน
 

เติมเต็ม \'ความเบ่งบาน\' ให้ชาวกรุงด้วย \'พื้นที่สีเขียว\'

 

จากเสียงเรียกร้องสู่ ‘พื้นที่สีเขียว’ ที่ชะโลมหัวใจชาวกรุงฯ ให้ ‘เบ่งบาน’

หลังจากรับทราบถึงประเด็นปัญหาพื้นที่สีเขียวไม่เพียงพอต่อจำนวนประชากรในเขตกรุงเทพฯ Downy ก็ให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ ซึ่ง Downy ได้ลงมือทำผ่านการระดมความคิดสร้างสรรค์มามากมาย ตั้งแต่ใช้เทคโนโลยีกราฟิคจำลองกรุงเทพฯ ที่เบ่งบานไปด้วยสวนดอกไม้ จนกระทั่งเนรมิตภาพจำลองให้กลายเป็นจริง บนสะพานลอยสาทร-ช่องนนทรี

อย่างไรก็ดีความตั้งใจที่จะสร้างพื้นที่สีเขียวไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น Downy ต้องการทำแคมเปญ “Downy Blooming Bangkok บานสะพรั่งทั่วกรุง” ให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ซึ่งก็คือการทำให้เกิดพื้นที่สวนสำหรับชาวกรุงฯ จริง ๆ เพื่อเป็นสร้างความเบ่งบานให้กับกรุงเทพฯ อย่างยั่งยืน

นั่นจึงเป็นที่มาของความร่วมมือระหว่าง Downy กับกรุงเทพมหานคร และภาคีอื่น ๆ โดย Downy ได้สนับสนุนงานออกแบบ และงานโครงสร้างสวนทั้งหมด ตั้งแต่การเตรียมพื้นที่ ปรับที่ กระบะปลูก ระบบรดน้ำและระบายน้ำ รวมไปถึงซุ้มชิงช้า 

คุณวรภัฏ วรปัญญา Senior Brand Manager ผลิตภัณฑ์ Downy โดยบริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จํากัด ที่มาร่วมงานเปิดตัวเมื่อวันที่ 30 มกราคมที่ผ่านมา เผยว่า

“สวน 39 Wattana Pocket Park เกิดจากความร่วมมือของหลายภาคส่วน ที่เห็นความสำคัญของพื้นที่เบ่งบานสำหรับทุกคน โดยได้พัฒนาและปรับปรุงพื้นที่ทิ้งร้างขนาด 373 ตารางเมตร บริเวณริมคลองแสนแสบ ท้ายซอยสุขุมวิท 39 เขตวัฒนา ให้เป็นสวนขนาดเล็กที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน โดยภายในสวนประกอบด้วย ลานกิจกรรมชุมชน พร้อมจุดนั่งพักผ่อนรูปแบบต่าง ๆ รองรับการใช้งานที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ-เก้าอี้ หรือลานโล่งสำหรับกิจกรรมนันทนาการ เก้าอี้นั่งแบบกลุ่ม รวมถึงชิงช้า ที่ออกแบบจากโครงสร้างเดิมที่ถูกทิ้งร้าง อีกทั้งยังมีพื้นที่สวนกินได้ เพื่อให้คนในชุมชนได้มาใช้ประโยชน์และพักผ่อนอย่างครอบคลุม”

 

เติมเต็ม \'ความเบ่งบาน\' ให้ชาวกรุงด้วย \'พื้นที่สีเขียว\'

 

อ่านมาถึงตรงนี้ จะเห็นได้ว่าแคมเปญ ‘Blooming Bangkok บานสะพรั่งทั่วกรุง’ ของ Downy นั้น ได้ออกแบบวางแผนและลงมือทำอย่างสร้างสรรค์ แต่ที่โดดเด่นไปกว่านั้น คือความตั้งใจจริงที่ Downy อยากเป็นส่วนหนึ่ง ที่จะทำให้กรุงเทพฯ กลายเป็น ‘พื้นที่แห่งความเบ่งบาน’ อย่างแท้จริง ซึ่งผลผลิตของความตั้งใจนี้ก็คือ “สวน 39 Wattana Pocket Park” ที่เพิ่มเปิดตัวไปนั่นเอง