พนักงานที่นอนน้อย นอกจากจะ unproductive ยังส่งผลต่อ GDP และเสี่ยงมีพฤติกรรมนอกลู่นอกทาง

พนักงานที่นอนน้อย นอกจากจะ unproductive ยังส่งผลต่อ GDP และเสี่ยงมีพฤติกรรมนอกลู่นอกทาง

โลกของคนทำงานหลาย ๆ แห่งอาจจะยังมีความเชื่อที่ว่า ‘พนักงานที่ทำงานแบบอดหลับอดนอนหามรุ่งหามค่ำคือคนขยัน และเป็นเรื่องที่ส่งผลดีต่อองค์กร’ แต่ความจริงแล้วเรื่องดังกล่าวอาจเป็นความเชื่อที่ผิด

  • บริษัทหลายแห่งมีความเชื่อว่า คนที่ทำงานแบบอดหลับอดนอนคือคนขยัน และเป็นผลดีต่อองค์กร
  • งานวิจัยจาก  RAND Corporation บอกว่า การนอนไม่พอจะกระทบต่อ GDP และมีผลต่อกระทบการขับเคลื่อนองค์กรหลายอย่าง

โดย ‘แมทธิว วอล์กเกอร์’ (Matthew Walker) ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาและจิตวิทยา ผู้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการด้านการนอน มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ และผู้เขียนหนังสือ Why We Sleep : นอนเปลี่ยนชีวิต’ กล่าวว่า การนอนหลับไม่เพียงพอนอกจากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจแล้ว ยังกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานและการขับเคลื่อนองค์กรในหลายด้าน 

จากงานวิจัยของ RAND Corporation องค์กรคลังสมองเชิงนโยบายระดับโลกที่ไม่แสวงหาผลกำไรในสหรัฐอเมริกา เกี่ยวกับต้นทุนทางเศรษฐกิจของการนอนหลับไม่เพียงพอ ระบุว่า บุคคลที่นอนหลับน้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน ก่อให้เกิดต้นทุนทางการเงินกับประเทศมากมาย เมื่อเทียบกับบุคคลที่นอนหลับอย่างน้อย 8 ชั่วโมง 

และการนอนไม่เพียงพอ จะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) หายไปมากกว่า 2% เพราะคนที่อดนอนจะมี work rate และความเร็วในการทำงานพื้นฐานต่ำลง 

นอกจากนี้ผู้ที่นอนหลับน้อยในช่วงหลายวันจะคิดหาทางออกให้กับการทำงานได้สร้างสรรค์น้อย มีความแม่นยำต่ำ และไม่ชอบเผชิญหน้ากับความท้าทาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลต่อการขับเคลื่อนธุรกิจที่องค์กรตั้งเป้าหมายไว้ทั้งสิ้น

ไม่เพียง unproductive จะต่ำลงเท่านั้น พนักงานที่นอนไม่เพียงพอยังอ่อนในเรื่องจริยธรรม โดยแมทธิว วอล์กเกอร์ได้กล่าวถึงการทดลองสแกนสมองที่ทำให้พบว่า การอดนอนมีผลให้สมองกีบหน้าซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมตนเองและยับยั้งแรงขับทางอารมณ์อยู่ในสภาพออฟไลน์ 

ผลดังกล่าว ทำให้ผู้เข้าร่วมทดลองมีอารมณ์แปรปรวนมากขึ้น มีการตัดสินใจที่หุนหันพลันแล่น และยังพบว่า พนักงานที่ได้นอนหลับน้อยกว่า 6 ชั่วโมงจะมีพฤติกรรมนอกลู่นอกทาง แถมมีแนวโน้มโกหกในวันรุ่งขึ้นมากกว่าเมื่อเทียบกับคนที่นอนหลับมากกว่า 6 ชั่วโมง 

ประเด็นนี้สอดคล้องกับงานวิจัยของ ‘ดร.คริสโตเฟอร์ บาร์นส์’ (Christopher Barns) นักวิจัยในวิทยาลัยธุรกิจฟอสเตอร์ มหาวิทยาลัยวอชิงตันที่ระบุว่า ยิ่งคนนอนน้อยลงเท่าไร ก็มีแนวโน้มที่จะปลอมใบเสร็จและใบคำร้องให้ชำระเงินคืน รวมถึงเต็มใจโกหกเพื่อให้ได้สลากชิงรางวัลมาฟรี ๆ มากขึ้นเท่านั้น อีกทั้งยังมีแนวโน้มโยนความผิดของตนเองให้เพื่อนร่วมงาน และหนักถึงขั้นพยายามแย่งชิงความดีความชอบจากงานที่ประสบความสำเร็จของผู้ร่วมงานคนอื่นด้วย

การนอนน้อยไม่ได้สร้างผลกระทบเฉพาะระดับผู้ปฏิบัติงาน แต่ยังส่งผลในระดับผู้บริหารที่มีความรุนแรงไม่แพ้กัน เพราะผู้บริหารที่นอนไม่เพียงพอ นอกจากการทำงานจะมีประสิทธิภาพลดลง ยังมีอารมณ์เกรี้ยวกราดและแปรปรวนมากขึ้น 

น่าสนใจไปกว่านั้นคือ เมื่อคนในระดับผู้บริหารนอนไม่เต็มอิ่ม จะส่งต่อความมุ่งมั่นและทุ่มเทของพนักงานให้ทำงานน้อยลงแม้พวกเขาจะพักผ่อนมาเพียงพอก็ตาม เนื่องจากผู้บริหารไม่สามารถสร้างแรงบันดาลใจและพลังขับเคลื่อนให้กับลูกน้องภายใต้บังคับบัญชาได้มากพอนั่นเอง 

แม้ความเชื่อที่ว่า พนักงานที่ทำงานแบบอดหลับอดนอนคือคนขยัน และส่งผลดีต่อบริษัทจะยังมีอยู่ แต่ตอนนี้เริ่มมีหลายบริษัทหันมาให้ความสำคัญกับประโยชน์ของการนอนหลับมากขึ้น เช่น ‘บริษัท พรอกเตอร์แอนด์แกมเบิล หรือ P&G’ และ ‘โกลด์แมนแซกส์ กรุ๊ป’ ที่เปิดหลักสูตรอบรม ‘สุขอนามัยด้านการนอน’ ให้กับพนักงานฟรี

บริษัทบางแห่งมีการติดตั้งระบบการจัดแสงคุณภาพสูงราคาแพง เพื่อให้ร่างกายของพนักงานเพิ่มประสิทธิภาพการหลั่งเมลาโทนินตามเวลาที่ร่างกายกำหนดไว้

NASA ก็เป็นอีกองค์กรที่เห็นความสำคัญของการนอนหลับ โดยกลางทศวรรษ 1990 องค์กรแห่งนี้ได้ยกระดับวิทยาศาสตร์ของการนอนหลับในเวลางาน เพื่อประโยชน์สำหรับนักบินอวกาศ พวกเขาค้นพบว่า การงีบหลับเป็นระยะสั้น ๆ เพียง 26 นาที จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้สูงขึ้น 34% และทำให้ความตื่นตัวโดยรวมเพิ่มขึ้น 50% ซึ่งผลจากการศึกษาดังกล่าวนี้ได้ทำให้เกิดวัฒนธรรมการงีบหลับในหมู่พนักงานภาคพื้นดินที่ NASA

หรือกรณีของ Nike และ Google ที่กำหนดตารางเวลาทำงานให้ผ่อนคลาย โดยเปิดให้พนักงานจัดเวลาทำงานให้เข้ากับจังหวะรอบวัน ขณะที่บางบริษัทอนุญาตให้พนักงานนอนหลับระหว่างทำงานได้ จัดห้องพักผ่อน หรือ ‘รังงีบ’ (nap pod) กระจายอยู่ตามจุดต่าง ๆ ของออฟฟิศ เป็นต้น

แล้วตัวคุณและองค์กรของคุณล่ะ ให้ความสำคัญกับการนอนหลับให้เพียงพอมากหรือน้อยอย่างไร? คุยกับเราได้ทางคอมเมนต์

.

อ้างอิง : แมทธิว วอล์กเกอร์, Why We Sleep : นอนเปลี่ยนชีวิต, แปลโดย ลลิตา ผลผลา, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ bookscape, 2563, หน้า 427

.
ถ้าสนใจเรื่องการนอนหลับอย่างมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น The People กำลังจะจัดงาน Shall We SLEEP? ถอดรหัสลับการนอน...เพื่อนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในวันเสาร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 14.00 - 17.00 น. ห้องคริสตัล บ็อกซ์ ชั้น 19 เกษร เออร์เบิน รีสอร์ท กรุงเทพมหานคร ผู้สนใจเข้าร่วมงานลงทะเบียนได้ที่ https://www.eventpop.me/e/16043

.

ครั้งแรกของการเปิดประสบการณ์การนอนหลับที่จะช่วยเปลี่ยนให้ผู้คนมีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้นในทุกมิติแบบ 360 องศา ไม่ว่าจะเป็น
.
📌 Experience

การเปิดประสบการณ์โลกการนอนหลับอย่างมีคุณภาพในทุกมิติใน ‘Sleep Journey สำรวจเส้นทางนอนจาก DNA สู่ที่นอน เพื่อเช้าที่สดชื่นขึ้นทุกวัน’ ที่มีเวลาให้คุณได้ลองเข้าไปสัมผัสประสบการณ์การนอนหลับที่ดีขึ้นได้ถึง 1 ชั่วโมงเต็ม

.

📌 Expert

หลับตาแล้วรับฟังประสบการณ์การนอนผ่านเสียงไปพร้อมกับ ‘เสียงบำบัดประตูสู่การหลับลึกผ่านศาสตร์แห่งดนตรี’ โดย อาจารย์เมธี จันทรา นักดนตรีภาวนา ผู้สนใจและทำงานเรื่องเสียงมากว่า 20 ปี 

.
พิเศษกับเวทีเสวนาในหัวข้อ ‘ถอดรหัสลับการนอน จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นทุกเช้า’ จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในด้านเวชศาสตร์การนอนหลับ และผู้ทรงคุณวุฒิที่จะมาถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการนอน 

.
ปิดท้ายกับเวทีเสวนาในหัวข้อ ‘อยากชวนเธอมานอน เปิดประสบการณ์การนอนหลับที่จะเปลี่ยนให้พวกเรามีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น’ โดยวิทยากรผู้ที่มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับปัญหาการนอนที่จะมาถ่ายทอดวิธีการผ่านคืนวันอันเป็นนิรันดร์ไปด้วยกัน ดำเนินการเสวนาโดย ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน ผู้ประกาศและผู้ดำเนินรายการช่องออนไลน์ชื่อดัง ผู้ที่ประสบปัญหาการนอนไม่หลับมานานกว่า 12 ปี
.
📌 Exclusive

งาน on ground จำกัดจำนวนที่นั่ง พร้อมลุ้นรับรางวัลสุดพิเศษที่จะมาเป็นตัวช่วยให้คุณมีการนอนที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

.

📍 วันเสาร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 14.00 - 17.00 น. ห้องคริสตัล บ็อกซ์ ชั้น 19 เกษร เออร์เบิน รีสอร์ท กรุงเทพมหานคร ผู้สนใจเข้าร่วมงานลงทะเบียนได้ที่ https://www.eventpop.me/e/16043

.

💤 แล้วมานอนกันนะ