“โอกาส Open House สร้างโอกาสการศึกษา คืนเยาวชนกลับสู่สังคม”

“โอกาส Open House สร้างโอกาสการศึกษา คืนเยาวชนกลับสู่สังคม”

‘โอกาส Open House สร้างโอกาสการศึกษา เปิดเส้นทางชีวิตใหม่’ เพื่อเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม ได้รับโอกาสที่จะได้รับการศึกษาที่เท่าเทียม และสามารถออกแบบเส้นทางชีวิตของตนเองได้ในอนาคตผ่านสิ่งที่เรียกว่า ‘โอกาส’

เราคงเคยได้ยินคำเปรียบเปรยเกี่ยวกับ ‘เด็ก’ หรือ ‘เยาวชน’ จาก ‘ผู้ใหญ่’ ว่าเป็นเสมือนผ้าขาวกระจ่างใสไร้เดียงสา มิอาจตัดสินใจอะไรได้อย่างเทียบเท่าผู้ใหญ่ นี่คงเป็นหนึ่งในทัศนคติที่หล่อหลอมให้สังคมไทยให้ความสำคัญกับผู้ใหญ่มากกว่าให้ความสำคัญกับเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเยาวชนที่ถูกมองว่าเป็นปัญหาของสังคม จนต้องเดินเท้าเข้าไปใช้ชีวิตใน ‘สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน’ หรือคนทั่วไปมักเรียกว่า ‘คุกเด็ก’ ซึ่งทำให้เยาวชนเหล่านี้อาจหมดโอกาสทางการศึกษาต่อในอนาคต หรือแม้จะมีโอกาส ก็เป็นการศึกษาในรูปแบบดั้งเดิมที่เยาวชนเหล่านี้ไม่ได้มีความสนใจ เพื่อตามทางที่ใฝ่ฝันไว้ หรือแม้จะออกมาจากการอยู่ในสถานพินิจเด็กแล้วก็ตาม แต่การถูก ‘ตีตรา’ จากสังคมก็ยังคงทำให้เยาวชนกลุ่มนี้เหมือนไม่ได้ออกมาจากคุกอย่างแท้จริง

แต่คงเป็นเรื่องปกติที่เรามักมองปัญหาของเด็กกลุ่มนี้แค่เพียง ‘ปลายทาง’ เท่านั้น ซึ่งแท้จริงแล้วต้นเหตุของปัญหาในกลุ่มเด็กและเยาวชน มักจะเริ่มต้นจากการขาดหายของสถาบันที่หล่อหลอมพวกเขาเบื้องต้น คือ ‘ครอบครัว’ โดยเกินกว่าครึ่งของเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ หรือพ่อแม่แยกกันอยู่ ส่วนใหญ่เป็นเด็กยากจนและไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา สิ่งนี้ทำให้ทางเดินชีวิตของเด็กเหล่านี้คงหลีกหนีไม่พ้นจากการเดินหลงทางกระทำความผิด “โอกาส Open House สร้างโอกาสการศึกษา คืนเยาวชนกลับสู่สังคม”

ข้อมูลจากกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม พบว่า ในปี 2565 มีเด็กและเยาวชนทำผิดจำนวน 12,192 คดี เป็นเพศชายร้อยละ 90.49 เพศหญิงร้อยละ 9.51 และเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดมีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษามากที่สุด จำนวนร้อยละ 51.72 โดยจำแนกตามฐานความผิดหลักพบว่า เด็กและเยาวชนกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษเป็นอันดับหนึ่ง สิ่งนี้ทำให้เด็กและเยาวชนกลุ่มนี้แม้จะพ้นความผิดที่เคยกระทำ แต่ก็ไม่อาจหลบพ้นจากการตราหน้าทางสังคมว่าเป็น ‘คนไม่ดี’ จนถูกผลักไสไล่ส่ง และก่อการกระทำผิดแบบเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่านั่นเอง

ด้วยเหตุดังกล่าว กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มูลนิธิปัญญากัลป์ และเครือข่าย จึงร่วมกันจัดกิจกรรมโปรเจกต์  ‘โอกาส Open House สร้างโอกาสการศึกษา เปิดเส้นทางชีวิตใหม่’ จัดระหว่างวันที่ 8 - 10 กันยายน 2566 ณ ลิโด้คอนเน็คท์ ถนนพระราม 1 ปทุมวัน กรุงเทพฯ เพื่อเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม ได้รับโอกาสที่จะได้รับการศึกษาที่เท่าเทียม และสามารถออกแบบเส้นทางชีวิตของตนเองได้ในอนาคตผ่านสิ่งที่เรียกว่า ‘โอกาส’ โดยทาง กสศ. เชื่อว่าเด็กทุกคนต่างมีศักยภาพที่ดี ไม่ว่าจะอยู่ในโรงเรียนตามระบบ หรืออยู่ในสถานพินิจ ขอแค่ทุกคนได้มีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพ เพื่อเป็น Best Version ในแบบของตนเอง และมีสิทธิที่จะได้รับโอกาสพัฒนาตลอดชีวิต โครงการนี้จึงมีเป้าประสงค์สำคัญ คือ สื่อสารกับสังคมว่าเด็กและเยาวชนเหล่านี้ล้วนมีศักยภาพ และมีความพร้อมในการคืนสู่สังคม ขอแค่ทุกคนในสังคมเปิดใจให้โอกาสพวกเขา “โอกาส Open House สร้างโอกาสการศึกษา คืนเยาวชนกลับสู่สังคม”

โดยกิจกรรมภายในงาน มีการให้เด็กและเยาวชนที่อยู่ภายใต้กระบวนการยุติธรรม ได้แสดงความสามารถทางดนตรีผ่านกิจกรรม ‘การแข่งขันทักษะดนตรีรอบชิงชนะเลิศ DJOP Music Contest 2023: ลานเปล่งแสงแสดงดนตรี’ เพื่อให้เยาวชนได้แสดงความสามารถทางด้านดนตรีให้ผู้เข้าร่วมงานได้รับชม พร้อมกับกิจกรรมอีกมากมาย เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีโอกาสเป็นพลเมืองดีของสังคมอีกครั้ง ซึ่งในโอกาสกิจกรรมนี้ยังได้รับเกียรติจาก พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และศาสตราจารย์ ดร.สมพงษ์ จิตระดับ กรรมการบริหาร กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกล่าวเปิดงาน “โอกาส Open House สร้างโอกาสการศึกษา คืนเยาวชนกลับสู่สังคม”

ซึ่ง พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ได้กล่าวถึงเรื่องของโอกาสของเยาวชนในกระบวนการยุติธรรมอย่างน่าสนใจว่า

“โอกาส เป็นสิ่งสำคัญของเด็กและเยาวชน ขอบคุณทุกเครือข่ายที่ร่วมสร้างประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของกรมพินิจฯ รวมถึงได้ใช้ความเชี่ยวชาญต่าง ๆ ในการหล่อหลอมและพัฒนา พร้อมทั้งเชื่อว่าเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้มีความสามารถ เหมาะกับโอกาสที่จะได้เติบโตอย่างมีคุณค่า คุณภาพ และมีทักษะติดตัว” “โอกาส Open House สร้างโอกาสการศึกษา คืนเยาวชนกลับสู่สังคม”

ขณะที่ผู้ใหญ่ในงานอีกท่านซึ่งมองเห็นความสำคัญของเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม ศ. ดร.สมพงษ์ จิตระดับ กรรมการบริหาร กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ก็ได้ให้คำกล่าวถึงหมุดหมายสำคัญของการเปิดพื้นที่ให้โอกาสกับเด็กและเยาวชน เพื่อทำให้เด็กทุกคนสามารถนำองค์ความรู้ของตนเองมาใช้ในการออกแบบทางเดินของชีวิต และเป็นที่ยอมรับของสังคมว่า

“การเปิดพื้นที่และให้โอกาสทางการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน จะทำให้เขาสามารถแสดงตัวตน และออกแบบทักษะได้ตรงตามความต้องการ รวมถึงเติมเต็มชีวิตให้เกิดคุณภาพและเป็นที่ยอมรับของสังคม”

ทั้งนี้ยังมีแขกผู้มีเกียรติอีกหลายท่านได้ขึ้นมาพูดถึงกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อช่วยเติมเต็มกำลังใจ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กและเยาวชนอีกด้วย “โอกาส Open House สร้างโอกาสการศึกษา คืนเยาวชนกลับสู่สังคม”

“โอกาส Open House สร้างโอกาสการศึกษา คืนเยาวชนกลับสู่สังคม” อีกหนึ่งกิจกรรมภายในงาน คือ การเปิดโซนพื้นที่โรงภาพยนตร์ของลิโด้ Hall 1 เป็นโซนกิจกรรมที่เรียกว่า ‘ห้องแห่งโอกาส’ โดยมีเวทีเสวนาในประเด็น ‘Wayfinder : เส้นทาง - โอกาส - จุดเปลี่ยน’ โดยมีวิทยากรรับเชิญมากหน้าหลายตา ทั้งที่เป็นผู้ที่เคยเดินหลงทางเข้าสู่วงจรยาเสพติด เช่น วรยศ บุญทองนุ่ม หรือ แพท นักร้องวงพาวเวอร์แพท ที่ขึ้นมาพูดถึงสิ่งที่เคยกระทำพลาดเมื่อครั้งอดีต กับการกลับมาเป็นศิลปินอีกครั้งเมื่อเขาได้รับโอกาส และปรับปรุงตัวเพื่ออยู่ร่วมกับสังคมอีกครั้ง รวมถึงยังมีวิทยากรที่เคยเป็นเยาวชนที่เคยเดินหลงทางเข้าสู่วังวนของยาเสพติด เช่น ร.ต.จิรัฎฐ์ ชยบัณฑิต นายทหารปฏิบัติการจิตวิทยา กองร้อยปฏิบัติการจิตวิทยา กองพันปฏิบัติการจิตวิทยา ที่มาตีแผ่เรื่องราวเมื่อครั้งเป็นเด็กที่เดินเข้าสู่วงจรขายค้ายาเสพติด แต่ด้วยโอกาสที่เข้าเมื่อครั้งต้องอยู่ภายในการดูแลของสถานพินิจ จึงทำให้เขากลับตัวกลับใจเปิดรับโอกาสเข้ามาในชีวิต และเริ่มต้นเดินทางบนเส้นทางใหม่ ด้วยการเป็นนายทหารที่คอยให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา อีกทั้งยังมีอีกหลายคนที่ได้ขึ้นมาบรรยายเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตของตัวเอง ที่ได้พบเจอกับสิ่งที่เป็นปัญหาเหล่านี้ แต่ที่สำคัญคือ เหตุของปัญหาต่าง ๆ ที่วิทยากรในเวทีได้จับเข่าคุยนั้น เกิดจากปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม จึงทำให้เด็กหรือคนโดยทั่วไปไม่มีทางเลือกที่มากนัก เลยต้องเดินเข้าสู่หนทางเหล่านี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม กิจกรรมในวันนี้ก็น่าจะพอหาหนทางไม่ทางใดก็ทางหนึ่งได้บ้าง เพื่อจะนำผู้คนที่อาจหลงเดินทางผิดนั้น กลับเข้าสู่สังคมอีกครั้งอย่างมีเกียรติมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็น ‘มนุษย์’ “โอกาส Open House สร้างโอกาสการศึกษา คืนเยาวชนกลับสู่สังคม” ในช่วงถัดมาได้มีการจัดอีกหนึ่งกิจกรรมสำคัญคือ ‘เรียนรู้ผ่านหนังตั้งวงคุยกับ กสศ. และ Doc Club & Pub’ โดยได้มีการฉายภาพยนตร์เชิงสารคดีเรื่อง Waiting For The Sun ผลงานของผู้กำกับ คัสปาร์ อัสทรัป ชโรเดอร์ ชาวเดนมาร์ก ที่ได้ใช้เวลาถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ยาวนานถึง 2 ปี อันเป็นเรื่องราวของเด็ก ๆ กำพร้าในประเทศจีน ที่ไร้การดูแลจากพ่อแม่อันเนื่องมาจากผู้ปกครองของเยาวชนเหล่านี้ได้ก่ออาชญากรรมร้ายแรงจึงต้องคำพิพากษาให้มีโทษจำคุก ทำให้ในเวลาต่อมามีคนเข้าช่วยในฐานะนักสังคมสงเคราะห์ อย่าง คุณยายจาง อดีตเจ้าหน้าที่เรือนจำที่ผันตัวเป็นผู้อำนวยการศูนย์ดูแลเด็กในนาม ‘ไท่หยางซุน’ หรือที่แปลไทยได้ว่า ‘หมู่บ้านพระอาทิตย์’ โดยมีสถานสงเคราะห์ภายใต้การดูแลของเธอถึง 9 แห่งด้วยกันในประเทศจีน และที่สำคัญยิ่งคือเธอบริหารงานโดยไม่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลจีนเลยสักแดงเดียว ซึ่งน่าจะเป็นภาพสะท้อนถึงสังคมจีนสมัยใหม่ที่ขับเน้นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจมากกว่าการพัฒนามนุษย์ด้วยกันโดยเฉพาะกับเด็ก ๆ ในสถานสงเคราะห์นั้นเอง “โอกาส Open House สร้างโอกาสการศึกษา คืนเยาวชนกลับสู่สังคม”

โดยเนื้อหาสารคดีได้หยิบยกเด็กขึ้นมา 10 คน แบ่งกรณีออกเป็น 6 กรณี โดยเกือบทั้งหมดผู้ปกครองได้ถูกต้องพิพากษาคดีอาชญากรรมร้ายแรงจึงต้องโทษจำคุก เด็กเหล่านี้จึงต้องพลัดพรากจากผู้ปกครอง ทำให้คุณยายจาง นักสังคมสงเคราะห์ต้องเข้ามาดูแลเด็ก ๆ พวกนี้ ในวันที่ไร้เกราะป้องกันตัวอย่างพ่อแม่ของพวกเขา สารคดีได้สะท้อนภาพปัญหาของเด็กกลุ่มนี้ คือ การได้เห็นภาพของความรุนแรงที่เกิดภายในครอบครัวของตัวเอง โดยบางกรณีเช่น พ่อได้ทำการสังหารแม่ ต่อหน้าต่อตาลูก ทำให้ลูกมีความจงเกลียดจงชังในผู้ปกครองทั้งคนที่เป็นพ่อและแม่ ขณะที่บางกรณีผู้ปกครองก็ได้กระทำความผิดในทางสาธารณะ เช่นขับรถชนคน จึงทำให้ต้องโทษในคดีที่ร้ายแรง ส่งผลให้ลูก ๆ ไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่กับพ่อแม่ได้อีก และกรณีสำคัญที่สารคดีเรื่องนี้ได้หยิบยกขึ้นมาคือ การที่เด็กหญิงคนหนึ่งไม่รู้จักหน้าพ่อแม่ของตนเอง หรือเรียกง่าย ๆ คือเป็นเด็กกำพร้าโดยแท้แต่กำเนิด ทำให้เด็กสาวตัวน้อยต้องอุปโลกน์เพื่อนสาวในศูนย์เลี้ยงเด็กที่มีอายุมากกว่าเป็น ‘แม่’ ของเธอ
 
การยกเด็กที่มีปัญหาข้างต้นของสารคดีเรื่องนี้ คือการพยายามบอกถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมของประเทศจีนที่มีผู้ต้องขังจำนวนมหาศาลก่ออาชญากรรม อันส่งผลกระทบต่อคนในครอบครัวของพวกเขาเอง อย่างไรก็ตามในวันที่ดูเหมือนจะเลวร้ายที่สุดของเด็ก ๆ ก็ยังมีผู้ใหญ่ที่ให้ความช่วยเหลือในการดูแลในทางร่างกายและจิตใจ สารคดีเรื่องนี้บอกเล่าเรื่องราวของการเติบโตของเด็ก ๆ ในสถานสงเคราะห์ไท่หยางซุน ที่เด็กกลุ่มนี้เมื่อเข้ามาอยู่ภายใต้การดูแลของนักสังคมสงเคราะห์ พวกเขาค่อย ๆ มีสภาพทางจิตใจที่ดีขึ้น เด็กบางคนในเรื่องมีความผูกพันกับคุณยายจางอย่างแนบแน่น ที่ได้เข้ามาเติมเต็มกำลังใจ ทำให้บางครั้งสารคดีเรื่องนี้ได้ฉายความผูกพันระหว่างคุณยายจาง นักสังคมสงเคราะห์กับเด็กมากกว่าที่จะผูกพันกับพ่อแม่ผู้ปกครอง สิ่งนี้คงเป็นอะไรที่บ่งบอกถึงการให้ความสำคัญต่อเด็กในสถานเลี้ยงดูแห่งนี้ ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลแทนพ่อแม่ที่แท้จริง “โอกาส Open House สร้างโอกาสการศึกษา คืนเยาวชนกลับสู่สังคม”

อย่างไรก็ตาม เด็กบางคนในสถานเลี้ยงดูไท่หยางซุน ก็คงทำใจไม่ได้กับการที่ต้องย้ายเข้ามาอยู่ในสถานที่แห่งนั้น เพราะเด็กยังคงต้องการความรักจากคนในครอบครัวไม่ว่าคนคนนั้นจะไม่ได้เป็นพ่อแม่ของเขา ซึ่งตลอดเวลา 2 ปีแห่งการถ่ายสารคดีเรื่องนี้ ได้นำเสนอเรื่องของเด็กผู้ชายคนหนึ่งที่ได้แยกจากพ่อ จนคนในครอบครัวต้องให้เด็กคนนี้ย้ายมายังสถานเลี้ยงดู เพื่อจะได้ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการดูแล แทบไม่น่าเชื่อว่าเหตุการณ์แบบนี้จะเกิดในประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจระดับต้น ๆ ของโลก แต่ประชาชนทั่วไปอาจยังไม่สามารถดูแลตนเองหรือคนในครอบครัวได้เท่าที่ควร

ในช่วงท้ายของภาพยนตร์ สถานการณ์อันวุ่นวายตั้งแรกเริ่มของเรื่อง ดูเหมือนจะค่อย ๆ คลายลง เมื่อวันเวลาเลยถึง 2 ปี เหล่าเด็ก ๆ เริ่มปรับตัวยอมรับความจริงถึง ‘บาดแผล’ ทางใจที่ต้องรับก่อนเข้าสถานเลี้ยงเด็ก แต่เมื่อแผลใจค่อย ๆ ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เด็กก็สามารถปรับตัวและมุ่งมั่นที่จะเดินตามเส้นทางที่ใฝ่ฝัน แม้ว่าพ่อหรือแม่ของพวกเขาจะถูกจองจำ แต่การยอมรับสภาพความจริง และเรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน จึงเป็นเหตุให้เด็ก ๆ ภายใต้การดูแลของหมู่บ้านพระอาทิตย์ไท่หยางซุนจึงเดินหน้าต่อไปด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ  “โอกาส Open House สร้างโอกาสการศึกษา คืนเยาวชนกลับสู่สังคม” เมื่อเปิดภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ คำถามมากมายก็พรั่งพรูในหัวของผู้ชมหลายคนที่มองว่า สังคมจีนที่ควรจะเป็นสังคมต้นแบบของคนในยุคสมัยใหม่นั้น ทำไมถึงไม่ให้ความสำคัญกับความเป็น ‘มนุษย์’ เท่าที่ควรโดยเฉพาะกับเด็ก ๆ ที่มีปัญหาในด้านครอบครัว แทนที่รัฐบาลที่มั่นคงที่สุดแห่งหนึ่งของโลกควรจะทำหน้าที่ดูแลเด็ก ๆ ในประเทศได้ดีกว่านี้ ภาพยนตร์นี้นับเป็นการนำเสนอสารคดีที่สะเทือนใจที่สุดเรื่องหนึ่งเลยก็ว่าได้

แม้ภาพยนตร์จะจบลง แต่กิจกรรมยังคงมีต่อเนื่อง โดยได้มีการตั้งวงสนทนากันถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ว่าให้แง่คิดอะไรกับเราบ้าง ซึ่งผู้ร่วมสนทนาแต่ละท่านที่ได้รับเชิญล้วนแต่เป็นบุคคลที่ทำงานกับเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม ท่านแรกคือ ทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน (ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก อีกท่านคือ อรุณฉัตร คุรุวาณิชย์ ผู้ก่อตั้ง Life Education Thailand และวิทยากรท่านสุดท้ายคือ วิทิต เติมผลบุญ ผู้อำนวยการศูนย์การเรียน CYF ซึ่งได้ชี้ชวนดำเนินรายการโดย คุณทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ บรรณาธิการบริหาร Mutual “โอกาส Open House สร้างโอกาสการศึกษา คืนเยาวชนกลับสู่สังคม”

คำถามแรกที่ถูกตั้งขึ้นใจกลางเวทีสนทนาอย่างน่าสนใจคือ ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้สร้างผลกระทบทางจิตใจต่อวิทยากรอย่างไร เพราะเนื่องจากทุกท่านในที่นี้ล้วนแต่ต้องผ่านประสบการณ์เจอเด็กในลักษณะที่คล้ายกันกับในภาพยนตร์ ทิชา ณ นคร หรือที่คนทั่วไปรู้จักกันในชื่อป้ามล ได้เริ่มต้นพูดถึงอดีตที่เคยทำงานกับเด็กกำพร้า ซึ่งภาพยนตร์ดังกล่าวทำให้ป้ามลหวนนึกถึงประโยคคำพูดในอดีตที่ว่า

“จริง ๆ มนุษยชาติมีพันธะที่จะต้องให้สิ่งที่ดีที่สุดกับเด็ก ๆ ในวันที่เขาล้ม ครอบครัวเขาล้ม”

โดยได้เปรียบเทียบกับเด็กในภาพยนตร์ว่า ในวันที่ครอบครัวของเหล่าเด็ก ๆ ล้มลง ในเชิงโครงสร้างเมื่อไม่มีบ้านที่เป็นครอบครัว มันต้องมีบ้านทดแทนชั่วคราวให้กับเด็ก ๆ แทน ซึ่งป้ามลได้กล่าวเสริมว่า ธรรมชาติของเด็กคือเขาจำเป็นต้องเติบโตในครอบครัว ซึ่งมีเพียงครอบครัวเท่านั้นที่จะทำได้ แต่หากทำไม่ได้ หน้าที่ของบ้านทดแทน หรือครอบครัวทดแทนจึงเป็นหน้าที่สำคัญ เพราะบาดแผลทางใจของเด็กต้องได้รับการเยียวยา ทั้งนี้ป้ามลยังเป็นห่วงกลัวเด็กเหล่านี้จะมีแผลทางจิตใจติดตัวตลอดไป “โอกาส Open House สร้างโอกาสการศึกษา คืนเยาวชนกลับสู่สังคม” ขณะที่ อรุณฉัตร คุรุวาณิชย์ ได้ถ่ายทอดความรู้หลังดูภาพยนตร์จบ ด้วยในชีวิตจริงของเขาก็เป็นเด็กกำพร้าเช่นกัน แต่โชคดีที่ได้อยู่กับครอบครัว โดยลุงของเขาเป็นคนเลี้ยงดู ซึ่งอรุณฉัตรระบุว่า ในช่วงวัยเด็กก็เป็นคล้าย ๆ กับเด็กในภาพยนตร์คือปฏิเสธการพยายามช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ โดยเขาระบุว่า แต่นั่นคือหนึ่งในสภาวการณ์ ณ โมงยามแห่งความเป็นเด็กขณะนั้น แต่ประเด็นสำคัญที่ได้ยกขึ้นมาคือ ในเวลานั้นไม่มีใครให้คำปรึกษา แต่โชคยังดีกว่าเด็กอีกหลายคน เพราะอรุณฉัตรยังมีพี่ชายที่คอยดูแลห่วงใยด้วยเสมอ ขณะที่อีกสถานะหนึ่งของเขาที่ได้ระบุคือ ฐานะของคนเป็นพ่อเมื่อดูภาพยนตร์เรื่องนี้ ในฉากหนึ่งได้มีการนำเสนอเรื่องของพ่อที่ติดคุกได้คุยกับลูกทางโทรศัพท์ของเรือนจำ ซึ่งมีกระจกคั่นกลางอยู่ แต่ถึงอย่างนั้นผู้เป็นพ่อกลับไม่กล้าพอที่จะสบสายตาของลูก ๆ ที่มาเยี่ยม นี่คือหนึ่งในฉากสะเทือนใจของอรุณฉัตร เพราะว่าการกระทำ ณ ช่วงเวลาหนึ่งของคนคนหนึ่ง มันไม่ได้หมายความว่าคนคนนั้นจะต้องเป็นคนที่กระทำผิดในทุก ๆ วินาทีแต่อย่างใด “โอกาส Open House สร้างโอกาสการศึกษา คืนเยาวชนกลับสู่สังคม” ขณะเดียวกัน ทิชา ณ นคร ก็ได้แสดงความเห็นที่สอดคล้องกัน พร้อมกับระบุว่า ตลอดเวลาที่ดูแลเด็กบ้านกาญจนาภิเษก มักจะบอกเสมอว่าในวินาทีนั้นมันเป็นสิ่งที่ผิดพลาดจริง ๆ แต่อีกร้อยพันหมื่นแสนล้านวินาทียังคงเป็นเวลาที่ยังดีอยู่เสมอ “โอกาส Open House สร้างโอกาสการศึกษา คืนเยาวชนกลับสู่สังคม” วิทิต เติมผลบุญ ผู้อำนวยการศูนย์การเรียน CYF ได้กล่าวต่อว่า จากการที่เคยลงพื้นที่ในจังหวัดนครพนมก็ได้เคยพบเจอกับเด็กที่มีเรื่องราวเหมือนกับในภาพยนตร์ คือ เกิดมาไม่เคยเจอหน้าพ่อแม่ และไม่มีผู้ปกครองดูแล สิ่งนี้กระทบกระเทือนต่อจิตใจของเขาเป็นอย่างยิ่ง และมองว่าสิ่งที่เราสามารถให้กับเด็กเหล่านี้คือ โอกาสทางการศึกษาที่ทัดเทียมกับเด็กคนอื่น ๆ ในช่วงวัยเดียวกัน

Waiting หรือ การรอคอย คือสิ่งที่หยิบขึ้นมาบนเวทีเสวนา โดยพิธีกรได้ถามว่าพื้นที่แห่งการเฝ้ารอควรเป็นอย่างไร ป้ามล ระบุว่า การรอคอยของเด็ก ๆ คือการรอคอยอย่างมีความหวัง ซึ่งในการปฏิบัติจริง ๆในฐานะคนดูแลเด็กต้องทำให้การรอคอยของเด็ก ๆ มีความหวังให้ได้ เพราะว่าเด็ก ๆ ที่ต้องเข้ามาในสถานพินิจ เขาไม่ได้เกิดมาเพื่อทำผิดพลาดทั้งเด็กและผู้ปกครองของเขา อย่างไรก็ตาม คนที่ทำงานจำพวกนี้ต้องทำให้ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้จากที่เป็นปัญหาขนาดใหญ่ค่อย ๆ เล็กลง ไม่ใช่สร้างบาดแผลเพิ่มให้กับเด็ก โดยอรุณฉัตรตอบในประเด็นเดียวกันว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะเป็น จาก Waiting for The Sun เป็น Waking to The Sun เพราะเราต้องทำให้เด็กเชื่อว่า ‘เด็กต้องเดินต่อไปข้างหน้า’ มองเห็นอนาคต มองเห็นความหวัง ซึ่งคนปฏิบัติต้องทำอย่างไรก็ได้ที่ทำให้เด็กมีความรู้สึกในเรื่องดีขึ้น โดยอรุณฉัตรเสนอว่า เด็กควรมีกิจกรรมที่เพิ่มประสบการณ์เชิงบวก แต่ดูเหมือนวิทิต เติมผลบุญ จะเป็นหนึ่งผู้ปฏิบัติงานจริงที่ตามข้อเสนอของอรุณฉัตร โดยหน้าที่ของ CYF นั้น คือการให้โอกาสกับเด็กที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม โดยการทำให้เยาวชนเหล่านั้นได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมกับเด็กทั่ว ๆ ไป จนสามารถสำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้ได้เป็นอย่างน้อย เพื่อให้เด็กได้มีพื้นฐานทางการเรียนและสามารถทำงานต่อได้ตามมาตรฐานของรัฐ

การศึกษาจึงกลายเป็นประเด็นต่อมาของวงสนทนาว่ามันสำคัญต่อเด็กในกระบวนการยุติธรรมอย่างไร ซึ่งป้ามล ทิชา ได้ให้ข้อเสนอที่ดูจะเป็นเรื่องต่อสังคมไทยว่า การศึกษาที่เน้นให้เด็กสามารถประกอบวิชาชีพได้ในอนาคตนั้น มันไม่สำคัญเท่ากับการให้ชีวิตเขากลับคืนมาสู่ปกติก่อน จากนั้นสิ่งต่าง ๆ ทางการศึกษาจึงตามมา เพราะว่าเด็กที่ผ่านประสบการณ์อันเลวร้าย ความรู้สึกของพวกเขาได้พังลงไปแล้ว เพราะฉะนั้นในฐานะคนทำงานจึงจำเป็นต้องกอบกู้ความรู้สึกที่พังให้กลับมายืนโดดเด่นมุ่งมั่นอีกครั้ง ซึ่งเราต้องยืดหยุ่นกับกฎหรือวินัยอันเคร่งครัด เพราะหากใช้งานมันก็ไม่สามารถช่วยเหลือเด็กให้กลับมามีความมั่นใจได้จริง ขณะที่อรุณฉัตรกล่าวต่อว่า ผู้ใหญ่มักจะมีสมมติฐานให้กับเด็ก แต่ไม่มีกลไกใดเลยที่จะทำให้เด็กไปสู่เป้าหมายได้อย่างแท้จริง โดยมองว่าสังคมควรสร้างกลไกให้กับครอบครัวในการเลี้ยงเด็ก ขณะเดียวกันมองว่าสำหรับเด็กในกระบวนการยุติธรรม สังคมไม่ควรเอาโครงสร้างทางการศึกษาเป็นตัวนำเด็ก แต่สังคมควรที่จะทำให้เด็กเกิดความมั่นใจอีกครั้งอย่างมีความหวัง และพื้นที่แห่งการเรียนจะเปิดออกให้กับเด็ก ๆ เหล่านี้ 

ตามมาด้วยวิทิต เติมผลบุญ อธิบายต่อว่า เด็กที่ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมคือเด็กที่ก้าวพลาดจากการขาดพื้นฐานในครอบครัว ซึ่งทำให้เกิดโอกาสกระทำสิ่งผิดได้ แต่ถ้าเป็นเด็กทั่วไปในโรงเรียนโอกาสกระทำผิดมีน้อยกว่ามาก แต่สิ่งสำคัญคือต้องให้การศึกษาที่เสมอภาคกัน “โอกาส Open House สร้างโอกาสการศึกษา คืนเยาวชนกลับสู่สังคม” ช่วงท้ายของเวทีเสวนาจากภาพยนตร์ เรื่องของสิทธิของเด็กและเยาวชนได้ถูกพูดถึงอย่างน่าสนใจ โดยไม่ว่าเด็กคนนั้นจะกระทำถูกหรือผิดอย่างไร สิทธิของเขาย่อมยังคงต้องมีอยู่โดยได้รับการดูแลจากผู้ใหญ่ ป้ามล ทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน (ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก กล่าวนำอย่างน่าตรึกตรองถึงลักษณะสำคัญของสังคมไทยที่ว่า “รู้จักสิทธิแล้วรู้จักหน้าที่หรือเปล่า” นี่คือมุมมองเฉพาะตัวที่เกิดกับผู้ใหญ่ในสังคมประเทศไทยที่มีต่อเด็กและเยาวชน โดยยกระเบียบวินัยอันเข้มงวดเฉพาะกับกลุ่มเด็กเท่านั้น แต่หากเทียบกับระเบียบวินัยที่ใช้กับผู้ใหญ่ กลับพบว่าระเบียบวินัยแทบไม่มีความสำคัญใด ๆ  เพราะโลกของผู้ใหญ่คือการประนีประนอมระหว่างกัน ดังนั้นป้ามลจึงมีจุดยืนอันมุ่งมั่นที่จะทำในสิ่งที่แตกต่าง กล่าวคือ “ยอมประนีประนอมกับเด็ก แต่ขอไม่ประนีประนอมกับผู้ใหญ่” ประโยคเด็ดดวงนี้เรียกเสียงฮือฮาจากทั่วทุกมุมห้องได้เป็นอย่างดี 

ขณะที่ อรุณฉัตร คุรุวาณิชย์ ผู้ก่อตั้ง Life Education Thailand มองว่าระบบการศึกษาควรเปิดกว้างให้กับเด็กเพิ่มมากขึ้น และสามารถออกแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองได้ พร้อมกับสังคมไทยควรพัฒนาผู้สอนหรือ ‘ครู’ ในเรื่องการดูแลเด็กให้มากพอ เด็กจึงจะสามารถหาโอกาสเลือกทางเดินของชีวิตได้ ตบท้ายด้วยวิทิต เติมผลบุญ ผู้อำนวยการศูนย์การเรียน CYF มองว่าปัจจุบันนี้เด็กไม่รู้สิทธิของตัวเองเท่าไรนัก โดยยกตัวอย่างว่า เด็กในกระบวนการยุติธรรมบางคนยังไม่ทราบเลยว่า การทำงานต้องมีวุฒิจบมัธยมต้น (ม.3) จึงจะสามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ตามสถานประกอบการได้ และจะได้รับสวัสดิการต่าง ๆ ได้ ซึ่งต่อมาการทำงานของศูนย์การเรียน CYF ก็จะเน้นการดูแลสิทธิของเด็กเสมอคือ สิทธิที่จะได้การอยู่รอด การคุ้มครอง และการได้เรียนตามรัฐกำหนด โดยถือว่านี่คือสิทธิสำคัญที่เด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรมสมควรได้รับ “โอกาส Open House สร้างโอกาสการศึกษา คืนเยาวชนกลับสู่สังคม” ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวในจอหรือนอกจอภาพยนตร์ เราคงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการดำรงอยู่ของปัญหาในเด็กและเยาวชน เหตุเบื้องต้นมักเกิดจากการขาดการดูแลโดยสถาบันครอบครัว จึงทำให้เด็กขาดกลไกในการเรียนรู้เพื่อจะเป็นสิ่งนั้น ๆ ที่พ่อแม่ใฝ่ฝันหรือคาดหวัง แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเด็กก้าวพลาดสู่หนทางที่ผิด เราในฐานะผู้ใหญ่ก็ไม่ควรที่จะผลักไสไล่ส่งพวกเขา แต่ควรหาทางทำให้เยาวชนกลุ่มนี้กลับคืนสู่สังคมให้ได้ อย่างไม่ถูกตีตราว่าร้ายใด ๆ เพิ่มศักยภาพในเด็กไทยให้มีการศึกษาที่เท่าเทียมกันทั้งประเทศ โดยมุ่งเน้นความสำคัญภายในระบบการศึกษาให้มากขึ้นมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ ควรเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีความสามารถที่จะเรียนได้ โดยเราไม่ควรทิ้งใครไว้ข้างหลัง ไม่ว่าเขาจะเคยกระทำสิ่งใดไว้ก็ตาม เพราะเขาเหล่านั้นก็คือคนเช่นกันกับเรา ๆ นี่เอง