‘ศิริพงษ์ เจริญด้วยศิริ’ อดีตข้าราชการ ย้ายกลับบ้านเพราะอยากใช้เวลากับครอบครัวให้ดีที่สุด

‘ศิริพงษ์ เจริญด้วยศิริ’ อดีตข้าราชการ ย้ายกลับบ้านเพราะอยากใช้เวลากับครอบครัวให้ดีที่สุด

คำว่า 'บ้าน' สำหรับบางคนมันคือความอบอุ่น แต่สำหรับชายที่ชื่อว่า ‘ศิริพงษ์ เจริญด้วยศิริ’ เจ้าของร้านบ้านสวน เชื่อว่าบ้านคือความสงบ ความสุข การได้นอนตื่นสาย และรถไม่ติด

KEY

POINTS

  • ร้านบ้านสวน ในจ.ฉะเชิงเทรา เริ่มจากร้านเผากุ้งสด กลายเป็นร้านอาหารได้เพราะลูกค้า
  • ‘ศิริพงษ์ เจริญด้วยศิริ’ อดีตข้าราชการ เจ้าของกิจการร้านกุ้งก้ามกราม และตัวแทนภาคประชาชนที่เข้าทำงานร่วมกับตำรวจ

“ผมอยู่ที่นี่สบายใจกว่าครับ”

คุณลุงเจ้าของร้านบ้านสวน ที่จ.ฉะเชิงเทรา หน้าตาใจดียิ้มแย้มตลอดเวลา ‘ศิริพงษ์ เจริญด้วยศิริ’ พูดออกมาราวกำลังนึกถึงชีวิตวุ่นวายชวนน่าปวดหัวในกรุงเทพฯ เมื่อผู้เขียนถามถึงชีวิต ณ ตอนนี้เมื่อเทียบกับกรุงเทพฯ ว่าเขาเคยหวนนึกถึงวันเก่า ๆ สมัยที่ยังใช้ชีวิตเป็นชาวกรุง บ้างหรือไม่?

‘ศิริพงษ์ เจริญด้วยศิริ’ อดีตข้าราชการ ย้ายกลับบ้านเพราะอยากใช้เวลากับครอบครัวให้ดีที่สุด

แต่ความหนักแน่นในน้ำเสียงที่เปล่งออกมา แม้หน้าตายังยิ้มแย้มอยู่ เรารับรู้ได้ว่าเขากำลังจริงจัง ระหว่างที่พูดว่า “ที่นี่แม้ว่าเพื่อนจะน้อยกว่า แต่อากาศดี รถก็ไม่ติด ไม่มีความเสี่ยงด้วย เพราะกรุงเทพฯ มลพิษเยอะนะ ไปไหนก็ต้องขับรถไกลแต่อยู่ที่นี่ผมขับรถใกล้ ๆ ไป ๆ กลับ ๆ ตลาด วันหนึ่งก็ 30 กม.ครับ”

‘ศิริพงษ์ เจริญด้วยศิริ’ อดีตข้าราชการ ย้ายกลับบ้านเพราะอยากใช้เวลากับครอบครัวให้ดีที่สุด

บทสัมภาษณ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของ Coming Home Project by The People ที่เราต้องการนำเสนออีกแง่มุมหนึ่งของชีวิตคนในต่างจังหวัด โดยครั้งนี้ผู้เขียนได้เดินทางไปที่จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งสิ่งแรกที่สัมผัสได้เลยก็คือ ชีวิตที่นี่ช่างสงบและเรียบง่ายจัง...

แดดรำไรยามเช้า และสายลมอ่อน ๆ ที่กำลังเล่นสนุกกับใบไม้ให้ชวนพลิ้วไหวตาม มันช่างฟูลฟิลหัวใจมนุษย์เงินเดือนอย่างผู้เขียนเสียเหลือเกิน

คุณลุงวัย 56 ปี เริ่มเล่าถึงชีวิตตัวเองเมื่อครั้งหนึ่งเคยเป็น ‘ข้าราชการ’ ที่กรุงเทพฯ ก่อนตัดสินใจกลับบ้านเกิดพร้อมภรรยาสุดที่รัก เพราะอยากจะดูแลคุณแม่ยายตามปรารถนาของภรรยาให้ดีที่สุด เขาหวังเพียงว่า การได้ใช้เวลาอยู่กับครอบครัว ทำกิจกรรมในสิ่งที่ตัวเองรัก และภรรยาก็มีความสุข ลูก ๆ ก็มีความสุข สิ่งเหล่านี้สำหรับบางคน เรียกกันว่า ‘บ้าน’

 

รถติด มลพิษ และห้องสี่เหลี่ยม

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2534 คุณลุงศิริพร ในบทบาทข้าราชการในชุดสีกากี ใช้ชีวิตวนเวียนซ้ำไปซ้ำมาอยู่แบบบนั้นราว 20 ปี ทำงาน สังสรรค์ และกลับมาที่ห้องสี่เหลี่ยมเคียงกายยามพักผ่อน ชีวิตที่ต้องทำงานและใช้เวลาเดินทางบนท้องถนนนานกว่าคนต่างจังหวัด บางวันต้องขับรถไกล บางทีต้องไปขอนแก่น, อุดรธานี, เชียงใหม่ แม้แต่โคราช ก็ต้องทำ

ชีวิตชาวกรุงที่แขวนอยู่บนความเสี่ยง ทั้งมลพิษ อากาศแย่ อุบัติเหตุ และความเหว่ว้าที่บางวันก็ชวนให้รู้สึกบ้างบางครา สำหรับคุณลุงศิริพร จึงเลือกตอบไม่ยากเลยว่า ‘ฉะเชิงเทรา’ บ้านเกิดที่เติบโตและอยู่มาตั้งแต่เด็ก ๆ คือความสุขของเขา และเป็นพื้นที่สงบที่เขาเลือกใช้ชีวิตในปัจจุบัน ไร้ซึ่งความอิจฉา หรือโหยหาชีวิตในเมืองกรุงแบบเดิม แม้ว่าจะมีความโอ่อ่าของห้างสรรพสินค้ามากมายก็ตาม

“อยู่กรุงเทพฯ มลพิษเยอะ เราก็ระวังตัวไม่ไหว ก็เลยเลือกที่จะมาอยู่ที่นี่ครับ มาด้วยความสมัครใจ”

“สำหรับลุงจริง ๆ แล้วอยู่ที่ไหนก็ได้หมดแหละครับ เพียงแต่ว่าถ้าที่กรุงเทพฯ เราจะไม่มีโอกาสมาทำกับข้าวกินเอง หรืออยากจะมาตกปลา ตกกุ้งก็หมดสิทธิ์นะ เพราะหันไปอีกทีก็ดึกแล้ว ต้องคอยไปตกตามร้านอาหารซึ่งไม่ค่อยเวิร์กเท่าไหร่ แต่ที่นี่ธรรมชาติครับ อยากจะตกปลาที่สวนเราก็มี หว่านแหเอาก็ได้”

“อยู่ที่นี่สบายใจกว่าครับ อากาศก็ดี ผู้คนก็เป็นมิตร รถไม่ติด ใช้ชีวิตที่นี่ได้สบาย ๆ ไม่ต้องตื่นเช้าตั้งแต่ตี 5 แล้วออกรถตั้งแต่เช้ามืด ที่นี่ตื่นสายได้ ตื่น 7 โมงก็ยังออกรถได้ เพราะว่ารถไม่ติด ไปไหนก็สะดวก อยู่ติดกับกรุงเทพฯ ด้วย”

 

ชีวิตใหม่กับกุ้งก้ามกราม

ก่อนที่คุณลุงศิริพรจะเปิดร้านอาหารที่ชื่อว่า ‘บ้านสวน’ หลังจากที่ออกจากข้าราชการ ในปี 2558 เขามีโอกาสได้เป็นอาจารย์สอนพิเศษช่วงหนึ่งเกี่ยวกับกฎหมาย แต่บังเอิญว่าเส้นทางที่จะไปวัดสมานรัตนาราม เจริญขึ้น มีผู้คน ร้านค้ามากขึ้น เศรษฐกิจส่อแววไปในทางที่ดีขึ้น

‘ศิริพงษ์ เจริญด้วยศิริ’ อดีตข้าราชการ ย้ายกลับบ้านเพราะอยากใช้เวลากับครอบครัวให้ดีที่สุด

โอกาสที่คนต้องการ ‘กุ้งก้ามกราม’ ก็มากขึ้น คุณลุงศิริพร จึงตัดสินใจทำบ่อกุ้งขึ้นมา ตอนแรกตั้งใจจะขายเพียง ‘กุ้งเผา’ แต่หลังด้วยความที่กุ้งสด น้ำจิ้มซีฟู้ดอร่อย ทำให้คนอยากจะมานั่งทานที่ร้าน และทานอาหารอื่นไปพร้อมกันด้วย คุณลุงจึงตัดสินใจเปิดเป็นร้านอาหารเต็มตัวหลังจากนั้น แต่ก็มีโต๊ะไม่เยอะเพราะคิดว่า อาจจะทำอาหารไม่ทันหากคนเยอะเกินไป

“ลุงคงไม่ขยายใหญ่กว่านี้แล้ว เพราะว่าขยายใหญ่เดี๋ยวทำไม่ทัน เราเน้นว่าเป็นร้านเล็ก ๆ ข้างถนน แล้วลูกค้าทานแปบเดียวก็กลับ ไม่เน้นขายสุรา ไม่มีแอลกอฮอล์ขาย ลูกค้าส่วนใหญ่ก็คือมากับครอบครัวเยอะครับ”

“ส่วนตอนกลางคืนลุงก็ไปช่วยตำรวจตรวจดูความเรียบร้อย เรามาอยู่ในภาคของประชาชนที่ทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อให้ประชาชนสบายใจว่ามีคนอยู่ข้าง ๆ พวกเขา”

‘ศิริพงษ์ เจริญด้วยศิริ’ อดีตข้าราชการ ย้ายกลับบ้านเพราะอยากใช้เวลากับครอบครัวให้ดีที่สุด

“ได้รับคำชมเชยจากประชาชนว่า มีประชาชนอยู่ด้วย ตำรวจไม่มีการรีดไถเงินแม้แต่บาทเดียวนะครับ เราไม่ได้สนใจเรื่องตังค์ สนใจแต่เรื่องความปลอดภัย ตอนนี้ก็น่าจะปีที่ 7 แล้วครับ ไปช่วยแบบนี้ไม่หยุดเลย”

จุดเด่นของร้านคุณลุงศิริพร อีกหนึ่งอย่างที่ใคร ๆ ก็ประทับใจก็คือ ‘การแจกแตงโมฟรี’ เพราะสำหรับคุณลุงมองว่า ลูกค้าทุกคนตั้งใจมาทานอาหารที่ร้าน เขาต้องการตอบแทนลูกค้าเล็กน้อยเท่าที่ทำได้ นอกจากนี้เราจะเห็นว่า คุณลุงมีการพูดคุย ทักทาย ลูกค้าแต่ละโต๊ะตลอด เพราะมองว่าการทำธุรกิจบริการความใกล้ชิดลูกค้า ความผูกพันระหว่างลูกค้า เป็นสิ่งที่มีค่ามาก

‘ศิริพงษ์ เจริญด้วยศิริ’ อดีตข้าราชการ ย้ายกลับบ้านเพราะอยากใช้เวลากับครอบครัวให้ดีที่สุด

นอกจากความใจดีของคุณลุง และความมุ่งมั่นจริงใจต่อประชาชนชาวฉะเชิงเทราแล้ว สิ่งที่เราชื่นชมและเห็นว่า คุณลุงศิริพร เป็นอีกหนึ่งคนที่น่ายกย่องมาก ๆ คนหนึ่งในสังคมไทย เพราะเขายังมีอีกหนึ่งความฝันใหญ่ที่อยากจะทำ หากปลดเกษียณตัวเองจากร้านบ้านสวนเมื่อครบ 60 ปีบริบูรณ์

“ผมวางแผนว่าจะอยู่ต่ออีกประมาณ 5 ปี แล้วจะไปสอนหนังสือ สอนกฎหมาย ถ้ายังแข็งแรงอยู่นะครับ”

“เหตุผลเพราะว่า เวลาที่เราสอนหนังสือใคร เราสามารถเล่าชีวิตให้เด็กฟังได้ว่า จากนี้ไปวางแผนได้อย่างไรบ้าง ผมจะแชร์ให้เด็ก ๆ ฟังว่าเราก็ผ่านจุดนี้มาแล้ว เราดื้อเราซน เราไม่ดีตรงไหน เขาจะได้วางแผนต่อได้ ผมว่ามันแก้ไขได้นะ เพียงแต่ต้องรีบนะ อย่าให้ปล่อยปละไปเรื่อย ๆ คือเรามีประสบการณ์มาแล้ว”

ส่วนตัวร้านบ้านสวนหากคุณลุงไม่ได้ต่อ เขาวางโครงการคร่าว ๆ ว่าเตรียมจะถมดินข้างในเพื่อทำเป็นบ้านพักเพราะมีคนมาขอเช่าหลายคนแล้ว แต่เขาไม่มีแผนจะขายที่ดินแปลงนี้ อย่างไรก็ตาม คุณลุงยังย้ำว่า การเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ตรงนี้ไม่ว่าอะไรก็ตามจะค่อยเป็นค่อยไปเท่านั้น

"เราไม่อยากเปลี่ยนมาก เพราะว่าบางทีเปลี่ยนมากมันเปลี่ยนเร็วไปครับ ค่อยเป็นค่อยไปดีกว่า”