25 ก.พ. 2568 | 18:15 น.
การประชุม SAMVAD เกิดจากความคิดริเริ่มของ ฯพณฯ นเรนทราโมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย และ ฯพณฯ ชินโสะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ระหว่างที่ “นายกรัฐมนตรีอินเดีย” เดินทางเยือน “ญี่ปุ่น” ในปี ค.ศ.2015
การประชุม SAMVAD เป็นเวทีเสวนาระหว่างศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางศาสนาในการหลีกเลี่ยงความขัดแย้งและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
การจัดการประชุม SAMVAD 3 ครั้ง
การประชุม SAMVAD ครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่กรุงนิวเดลี และพุทธคยา ในหัวข้อ Global Hindu Buddhist Initiative on Conflict Avoidance And Enviroment Conciousness ในปี ค.ศ.2015 (ความคิดริเริ่มโดยศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ในการหลีกเลี่ยงความขัดแย้งและสร้างความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม
SAMVAD เข้าใจข้อจำกัดของกรอบแนวคิดแบบ “โลกตะวันตก” จึงตั้งใจใช้คุณค่าที่ลึกซึ้งของ “ศาสนาฮินดู” และ “ศาสนาพุทธ” มาใช้ โดยตั้งเป้าเปลี่ยนวาทกรรม เพื่อแก้ไขความขัดแย้ง จากอุดมการณ์มาสู่การใช้ปรัชญาที่มีรากฐานมาจากศาสนาฮินดูและพุทธศาสนา
การประชุม SAMVAD ครั้งที่ 2 จัดขึ้นที่กรุงย่างกุ้ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยแห่งสหภาพเมียนมา เมื่อปี ค.ศ.2017 นอกจากหัวข้อหลักความคิดริเริ่มระดับโลกเพื่อการหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง (Conflict Avoidance) และการสร้างความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Enviroment Conciousness) แล้วยังมีการเจรจาเพื่อสร้างสันติภาพ ความสมานฉันท์และความมั่นคง
SAMVAD พยายามสร้างโมเดล สำหรับการสร้างสันติภาพ และความร่วมมือที่ไร้พรมแดน
การประชุม SAMVAD ครั้งที่ 3 ที่กรุงอูลานบาร์ตอน เมืองหลวงของมองโกเลีย หัวข้อหลักของการประชุม
SAMVAD ทั้ง 3 ครั้งยังชูเรื่องความคิดริเริ่มระดับโลกกับการหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง และการสร้างความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม แต่ครั้งนี้มีการเจรจาเพื่อสันติภาพ การดำรงอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจระหว่างศาสนา และความยั่งยืนที่เกิดจากการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
การประชุม SAMVAD หรีอ “สัมวาทะ“ ครั้งที่ 4 ชูประเด็น ศตวรรษแห่งธรรมด้วยหลักมนุษยธรรม การประชุม SAMVAD ครั้งที่ 4 เกิดจากความร่วมมือขอบสถาบันคลังปัญญา หรือ Think Tank 2 แห่ง ทั้ง อินเดีย และ ไทย นำโดย Vivekananda International Foundation หรือ VIF ซึ่งเป็น”สถาบันอิสระไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดเป็น “เจ้าภาพหลัก” โดยมี “เจ้าภาพร่วม” คือสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 หรือ BGVI เป็น “สถาบันคลังปัญญาที่เผยแผ่และปกป้องพุทธศานามานานกว่า 20 ปี โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิวีระภุชงค์ ซึ่งมีบทบาทในการสนับสนุนกิจการหลักด้านพุทธศาสนาและวัฒนธรรม
นอกจากนี้ยังมีเจ้าภาพร่วมคือ ศูนย์อินเดียศึกษา มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย , International Buddhist Confederation หรือ IBC และ Japan Foundation, Japan (TBC by Japan)
ความสำคัญของการประชุม SAMVAD หรือ สัมวาทะ ครั้งที่ 4 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ผลักดันให้ชูประเด็น “ศตวรรษแห่งเอเซียของธรรมะ-ธรรม” เป็นการประสาน “หลักธรรมะ” ของศาสนาฮินดูและ “หลักธรรม” ของศาสนาพุทธ มาเชื่อมโยงวิสัยทัศน์ “ศตวรรษแห่งเอเซีย” ของนายกรัฐมนตรีอินเดีย ที่กล่าวไว้ในปี ค.ศ.2015 ว่า “ศตวรรษแห่งเอเซีย” จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีหลักคำสอนของพุทธศาสนา
เวที SAMVAD จึงเป็นเวทีที่ได้ตระหนักถึงความสำคัญในพระพุทธศาสนา บนความหลากหลายทางเชื้อชาติ ประเพณี วัฒนธรรม ลัทธิความเชื่อ ซึ่งยึดโยงถึงความหมายที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมะไว้อย่างเป็นสากลเหมาะกับทุกคนในโลก ที่สามารถนำไปใช้ได้โดยไม่รู้สึกว่าเป็นของลัทธิความเชื่อหรือศาสนาใด แต่เป็นสมบัติของมวลมนุษยชาติ