SAMVAD IV The Asian Century of Dhama-Dhamma สัมวาทะ-ศตวรรษแห่งธรรม

SAMVAD IV The Asian Century of Dhama-Dhamma สัมวาทะ-ศตวรรษแห่งธรรม

SAMVAD IV “ศตวรรษแห่งธรรม” เสวนาฮินดู-พุทธ เน้นหลักมนุษยธรรม ลดขัดแย้ง รักษาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการสนทนาอย่างสร้างสรรค์เพื่อสันติภาพและความยั่งยืนระดับโลก

“มนุษย์” แม้ต่างชาติ ต่างศาสนา ต่างปฏิเสธไม่ได้ว่า เรามีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน นั่นคือ “ความทุกข์”

เมื่อมนุษย์อยู่ร่วมกันในโลกยุคใหม่ ที่กำลังเผชิญกับความขัดแย้ง ภัยสงครามที่มีการช่วงชิงทางภูมิรัฐศาสตร์ สงครามการค้า และอำนาจที่ท้าทายความเท่าเทียม ภายใต้สภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมที่ทวงความยุติธรรมเพราะถูกทำลายจากน้ำมือของมนุษย์มาเนิ่นนาน

การเริ่มต้นศตวรรษที่21 จึงมาพร้อมกับ “ศตวรรษแห่งเอเชีย” โดยย้อนยุค ปลุกอุดมการณ์ในคุณค่าของปรัชญาทางศาสนาโบราณจากอินเดียต้นทางแห่งอู่อารายธรรม ที่ยอมรับหลักธรรมคำสอน อันเป็นไปตามธรรมชาติ และความเป็นปกติ(ศีล) มาใช้รักษาจิตสำนึกของมนุษย์เพื่อลดความขัดแย้ง และคำนึงถึงความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยความมีเมตตา พึ่งพากันระหว่างมนุษย์และสิ่งมีชีวิต เพื่อความสันติสุขอย่างยั่งยืน

SAMVAD IV The Asian Century of Dhama-Dhamma สัมวาทะ-ศตวรรษแห่งธรรม หลักธรรม หรือธรรมะ คือสมบัติของมนุษยชาติ ด้วยเพราะหลัก “มนุษยธรรม” มีความเป็นสากลที่เหมาะกับทุกคนในโลก ไม่ได้อยู่เฉพาะศาสนาใด ศาสนาหนึ่ง บทบาทสำคัญของภูมิภาคเอเชีย ในฐานะผู้นำโลกศตวรรษใหม่ จึงยกระดับเป็น “ศตวรรษแห่งธรรม”

“SAMVAD” (อ่านว่า ซัม -หวาด) เป็นภาษาสันสกฤต ที่มาจากคำว่า “สัม” แปลว่า พร้อม ,กัป ,ด้วยดี กับคำว่า “วาทะ”  แปลว่า การพูด หรือการเสวนา มีความหมายโดยรวมว่า สัมวาทะ (Dialog ) คือ การพูดคุยโดยปราศจากความขัดแย้ง ไม่มีประเด็นถกเถียงเพื่อหาข้อยุติ แต่เป็นการพูด หรือเสวนาที่ไหลลื่นไปตามธรรมชาติเข้าสู่จิตใจและความรู้สึกอย่างลึกซึ้ง เพื่อหาทางออกร่วมกัน  ดังนั้น “สัมวาทะ” จึงตรงข้ามกับคำว่า “วิวาทะ” (Debate) ที่แปลว่า การพูดที่ทำให้ขัดแย้งกัน

SAMVAD IV The Asian Century of Dhama-Dhamma สัมวาทะ-ศตวรรษแห่งธรรม “สัมวาทะ” เป็นบรรหยัดของการพูด การเจรจา และการเสวนาด้วยสัมมาทิฏฐิ ในลักษณะของสัมมาวาทะ หรือ สัมมาวาจา คือ วาจาที่ถูกต้อง เจรจาชอบ หรือวจีสุจริต อันประกอบด้วย การเว้นจากการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ ซึ่งนับว่ามีความสำคัญยิ่ง ด้วยเป็นหนึ่งในมรรคแปด หนทางแห่งการดับทุกข์แปดประการ

SAMVAD หรือ สัมวาทะ บัณฑิตตานัญจะเสวนา นับเป็นการพูดคุยของสัตบุรุษ ผู้รู้ นักปราชญ์ ผู้มีความเข้าใจ และตั้งใจจะช่วยกันหาทางแก้ไขปัญหาที่มนุษย์ในโลกกำลังเผชิญร่วมกัน การรับฟังซึ่งกันและกัน และทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง อันเป็นหัวใจหลักของการประชุมและเสวนา หัวข้อ “ศตวรรษแห่งเอเชียของธรรมะ-ธรรม”  ด้วยการประสาน “หลักธรรมะ” ของศาสนาฮินดู และ “หลักธรรม” ของศาสนาพุทธกระตุ้นให้เกิดความรับผิดชอบร่วมกันในระดับสากล และความยั่งยืนด้วยจิตบริสุทธิ์ โดยไม่มีการเมืองแอบแฝง เผยแผ่หลักธรรมเสมือนการต่อเทียนจากเอเชียไปยังดินแดนอื่นด้วยหลักมนุษยธรรม

“มนุษยธรรม” มาจากคุรุธรรม หรือธรรมของชาวแคว้นคุรุ อันมีต้นทางมาจากอุตรคุรุทวีป โลกอันศิวิไลที่มนุษย์ทั้งหลายอาศัยอยู่ร่วมกันด้วยหลักธรรมความเป็นปกติ(ศีล5) และกุศลกรรมบถ อันเป็นหลักการประพฤติของมนุษย์ในสากลจักรวาล

ก่อนหน้าที่จะมีการบรรหยัดความเชื่อทางศาสนาเกิดขึ้น มนุษย์ต่างประพฤติโดยความเป็นปกติอยู่ก่อนแล้ว เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุข นั่นคือหลักของความเมตตา ไม่เบียดเบียนชีวิต ไม่เอาเปรียบฉ้อโกง ไม่กล่าวเท็จ ส่อเสียดต่อกัน และไม่ทำลายสติด้วยของมึนเมา อันเป็นหลักธรรมของมนุษย์โดยไม่ขึ้นตรงกับความเชื่อทางศาสนา เป็นหลักแห่งความยุติความโลภ ความโกรธ และความหลงผิด เพื่อเกิดความสงบภายในจิตใจ นำพาไปสู่สันติสุขภายนอก คือสังคมโลกที่เราต่างพึ่งพาอาศัยอยู่ร่วมกัน

“มนุษยธรรม เป็นคุณสมบัติของนุษยชาติ”