‘หลุยส์ ฟรองซัวร์ คาร์เทียร์’ ผู้สร้างแบรนด์ Cartier ตำนานเครื่องประดับหรูคู่ราชวงศ์กว่า 177 ปี

‘หลุยส์ ฟรองซัวร์ คาร์เทียร์’ ผู้สร้างแบรนด์ Cartier ตำนานเครื่องประดับหรูคู่ราชวงศ์กว่า 177 ปี

‘คาเทียร์’ (Cartier) หรือ การ์คทิเยร์ แบรนด์ลักชัวรีจากฝรั่งเศส แบรนด์ที่อยู่คู่กับราชวงศ์ทั่วโลกมานานกว่า 177 ปี เรื่องราว และการเติบโตทั้งภายใตการบริหารของผู้ก่อตั้ง และทายาททั้ง 2 รุ่น

  • ‘คาเทียร์’ (Cartier) แบรนด์หรูจากฝรั่งเศส ที่เกิดขึ้นเพราะทำงานหนัก เรียนรู้เยอะ และมานะ
  • แบรนด์นาฬิกาและเครื่องประดับที่ราชวงศ์ในหลายประเทศเลือก
  • Cartier เคยเปลี่ยนสร้างอาวุธในช่วงสงคราวโลกครั้งที่ 2 

สำหรับเครื่องประดับลักชัวรีในตำนานที่หลายคนยกให้เป็นเจ้าแห่งอัญมนี ก็คือ ‘คาเทียร์’ (Cartier) หรือ การ์คทิเยร์ ถ้าอ่านแบบสำเนียงภาษาฝรั่งเศส ซึ่งกลายมาเป็นแบรนด์ที่คนระดับบน รวมถึงราชวงศ์ในหลายประเทศยกย่องในเรื่องคุณภาพและงานดีไซน์จนเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์

“Jeweller of Kings, King of Jeweller” สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร (Edward VII) ได้เอ่ยวาจาชื่นชม Cartier หลังจากที่ในปี 1904 พระองค์ทรงเลือกเพื่อให้ทำงานออกแบบมงกุฎ 27 องค์ สำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระองค์เอง อีกทั้งยังพระราชทาน ตราสินค้ารับรองจากราชสำนัก (royal warrant of appointment) ให้ Cartier อีกด้วย

สำหรับประเทศไทยต้องพูดว่าบุคคลแรกที่มองเห็นความสวยงามของแบรนด์นี้ และเป็นคนไทยคนแรก ๆ ที่ซื้อ ก็คือ ‘พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5’ พระองค์ทรงเสด็จเยือนบูติกคาร์เทียร์ ที่กรุงปารีสเป็นครั้งแรก แล้วได้ทรงซื้อเครื่องประดับชั้นสูงแก่พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นกุศโลบายเพื่อแสดงความศิวิไลซ์และวัฒนธรรมอันทัดเทียม เพื่อไม่ให้ชาติยุโรปมาอ้างและใช้เป็นเหตุผลในการรุกรานเอาดินแดนสยามไปเป็นอาณานิคมได้

นอกจากนี้ ยังทรงซื้อเครื่องระดับของ Cartier มอบให้กับ ‘เจ้าจอม หม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์’ ซึ่งเป็นพระสนมเอกคนสุดท้ายในรัชกาลที่ 5

เรื่องราวของ Cartier ก่อนที่จะถูกพูดถึงในฐานะที่เป็นแบรนด์เครื่องประดับและนาฬิกาหรูระดับโลก ‘หลุยส์ ฟรองซัวร์ คาร์เทียร์’ (Louis-François Cartier) ผู้ก่อตั้งที่เปิดกิจการครั้งแรกในวัยเพียง 28 ปี ถือว่าเป็นบุคคลที่น่ายกย่อง และมีความมานะอย่างมากเพื่อวิชาชีพ

ทำงานหนักเพราะต้องดูแลครอบครัว

ย้อนไปในวัยเด็กครอบครัวของหลุยส์ ฟรองซัวร์ คาร์เทียร์ เขาเติบโตมาในครอบครัวที่มีฐานะปานกลางไปถึงต่ำ คือไม่ได้รวยมากแต่ก็พอส่งลูกเรียนได้ และด้วยความที่เขาเป็นพี่ชายคนโตของบ้าน เมื่อจบชั้นประถมจึงต้องออกไปหางานทำ เพื่อช่วยพ่อแม่ดูแลครอบครัว

ตอนนั้น หลุยส์ ฟรองซัวร์ คาร์เทียร์ ตัดสินใจทำงานที่ร้านผลิตเครื่องประดับแห่งหนึ่งชื่อว่า ‘Picard’ ซึ่งเป็นอีกร้านที่มีชื่อเสียงด้าน Jewelry Workshop ในยุคนั้น และถือว่าเป็นเรื่องโชคดีอีกเรื่องที่เขามีโอกาสได้ทำงานกับ ‘อดอล์ฟ พิการ์ด’ (Adolphe Picard) ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำนาฬิกาของยุคนั้น

ต้องพูดว่า ในสมัยนั้นมีเด็กวัยรุ่นอายุไล่เลี่ยกับ หลุยส์ ฟรองซัวร์ คาร์เทียร์ ทำงานที่ร้านแห่งนั้นหลายคน แต่เขาเป็นเพียงคนเดียวที่ผ่านการฝึกงาน ส่วนหนึ่งอาจจะเพราะว่าเขาพยายามอย่างหนักที่จะทำงานและเรียนรู้เทคนิคต่าง ๆ ให้มากที่สุด และยอมทำงานถึง 15 ชั่วโมงต่อวันแม้เขาได้ค่าตอบแทนจากงานนี้เพียงน้อยนิด

สุดท้าย หลุยส์ ฟรองซัวร์ คาร์เทียร์ ก็สามารถเข้ามารับช่วงต่อในการดูแลร้านแห่งนั้นในเวลาต่อมา ซึ่งเขาได้รับความไว้วางใจมากจากบุคคลผู้ที่เขานับถือเหมือนอาจารย์ และจุดเปลี่ยนของเขาก็กำเนิดขึ้นตั้งแต่ปี 1847 เป็นต้นมา

 

สงครามโลกทำให้ต้องผลิตอาวุธ

ย้อนไปเมื่อ 177 ปีก่อน หลุยส์ ฟรองซัวร์ คาร์เทียร์ ได้รับกิจการต่อจากอดอล์ฟ พิการ์ด ซึ่งเดิมทีเขาขายแค่นาฬิกา แต่หลุยส์ ฟรองซัวร์ คาร์เทียร์ ได้เพิ่มสินค้าอื่นเข้ามาเพื่อให้ร้านดูหลากหลายขึ้น เขารับเครื่องเพชรคุณภาพดีจากฝรั่งเศส และจากเมืองอื่น ๆ เข้ามาขายที่ร้าน โดยใช้คอนเซปต์ว่าเพชรทุกชิ้นต้องคุณภาพพรีเมียมคัดมาเพื่อลูกค้า

ขณะที่ ตัวเขาเองก็ยังทำนาฬิกาที่มีรูปลักษณ์ที่น่าจดจำและคงความคลาสลิก จนเกิดเป็นนาฬิการุ่น Tank และ Presidential ในปี 1919 สองรุ่นคลาสิกที่คนทั่วโลกรู้จัก

ใครอาจยังไม่รู้ว่า Cartier เคยเผชิญกับเหตุการณ์เลวร้ายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จนทำให้ธุรกิจต้องเปลี่ยนหน้าตาไป ไม่ใช่เครื่องประดับและนาฬิกาเช่นเดิม ด้วยความที่ในช่วงสงครามดังกล่าวมีความขัดแย้งระหว่างฝรั่งเศสและกองทหารของฮิตเลอร์ด้วย

Cartier จึงเป็นหนึ่งในร้านที่ทหารของฮิตเลอร์หมายตามากที่สุดร้านหนึ่งในฝรั่งเศส เพื่อปล้นและยึดสินค้าที่เป็นของคนฝรั่งเศส ดังนั้น หลุยส์ ฟรองซัวร์ คาร์เทียร์ จึงสั่งให้ปิดร้านและเริ่มผลิตอาวุธขึ้นมาแทนชั่วคราว

หลังสงครามสงบลง ผู้คนโหยหาที่จะซื้อสินค้าที่นอกเหนือของจำเป็น เช่น นาฬิกา เครื่องประดับ กำไร กระเป๋า ฯลฯ และนั่นจึงเป็นอีกครั้งที่ Cartier เพิ่มไลน์สินค้าให้หลากหลายขึ้น ตั้งแต่ กำไล, สร้อยคอ, กระเป๋าสตางค์, รองเท้า ไปจนถึงแว่นกันแดด

 

ราชวงศ์ที่เคยสวมใส่ Cartier

มีราชวงศ์ในหลายประเทศจำนวนไม่น้อยที่ชื่นชอบความงาม และมนต์เสน่ห์ของ Cartier แต่ผู้เขียนขอยกตัวอย่างราชวงศ์ที่ถูกเอ่ยชื่ออยู่บ่อย ๆ เมื่อพูดถึงแบรนด์นี้ ตัวอย่างเช่น

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร ผู้ที่เอ่ยวาจาชมความงามและคุณภาพของ Cartier เป็นกษัตริย์องค์แรก ๆ ทั้งยังเป็นผู้ที่ขอให้ Cartier มาเปิดร้านสาขากรุงลอนดอนด้วย

ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ที่ชื่นชอบการสวมใส่นาฬิกา Tank และแหวน Trinity อัตลักษณ์ที่ใครเห็นก็รู้ว่าเป็น Cartier

พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และเจ้าจอม หม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ ในรัชกาลที่ 5 นอกจากนี้จะมี สมเด็จพระราชชินีมาเรีย คริสติน่า แห่งสเปน ที่ทรงมงกุฏเทียร่า ที่ออกแบบโดย Cartier ในปี 1935 ซึ่งเป็นมรดกสืบทอดในการเปลี่ยนผ่านรัชสมัยด้วย

เจ้าหญิงเกรซแห่งโมนาโก (Princess Grace of Monaco) ที่มักจะสวมใส่เครื่องประดับที่ออกแบบโย Cartier เช่นกัน ซึ่งสร้อยคอเพชรสามเส้นฝังเพชรเจียระไนแบบบริลเลียนคัตต์และบาแก็ตต์คัตต์ ถูกส่งต่อมาอีกครั้งตอนที่ ‘ชาร์ล็อตต์ คาสิรากี’ หลานสาวเจ้าหญิงเกรซฯ ฉลองพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส

 

รุ่นทายาทพา Cartier รู้จักทั่วโลก

ต้องพูดว่าจุดเปลี่ยนที่สำคัญของ Cartier เกิดขึ้นในช่วงปี 1894 หลังจากที่ทายาทของ หลุยส์ ฟรองซัวร์ คาร์เทียร์ เข้ามารับช่องต่อธุรกิจของผู้เป็นพ่อ ‘อัลเฟรด’ (Alfred) ลูกชายคนเดียวของผู้ก่อตั้ง Cartier ทั้งยังเป็นคนที่ออกแบบโลโก้ให้กับ Cartier จากเดิมที่เป็นแค่ตัวอักษรภาษาอังกฤษ

นอกจากนี้ อัลเฟรด ยังเป็นผู้ที่ตัดสินใจเปลี่ยนโลเกชั่นร้าน Cartier ให้มาอยู่จุดที่เป็นทำเลทอง อยู่ในย่านชอปปิ้งด้วย โดยเขาได้ย้ายร้านไปที่ใจกลางกรุงปารีส บนถนน Rue de La Paix ซึ่งถือว่าเป็นทำเลที่แพงที่สุดในตอนนั้น จุดประสงค์เพราะเขาคิดว่า Cartier เริ่มที่เป็นรู้จักมากขึ้นในกลุ่มคนระดับบนในฝรั่งเศส และประเทศที่ราชวงศ์สวมใส่แบรนด์นี้ แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการเติบโตของธุรกิจ เพราะยุคนนั้นการแข่งขันของสินค้าลักชัวรีเริ่มแรงขึ้น

อย่างไรก็ตาม Cartier ในยุคที่กำลังจะเปลี่ยนผ่านมาจากรุ่นที่ 2 มารุ่นที่ 3 เริ่มแกว่ง ๆ เพราะพิษเศรษฐกิจในฝรั่งเศส รวมถึงการแข่งขันของแบรนด์นาฬิกา และเครื่องประดับกำลังจะเป็น Red Ocean ที่มีคนเข้าสู่ตลาดนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ

แต่การฟื้นความต้องการของ Cartier ให้เป็นที่ต้องการ และจับต้องได้ของผู้คนทั่วไปไม่ใช่แค่ราชวงศ์ หรือ ระดับบนเท่านั้น เริ่มต้นขึ้นในรุ่นของ 3 หนุ่ม ซึ่งเป็นลูกชายของ อัลเฟรด ที่เข้ามาช่วยกิจการผู้เป็นพ่อตั้งแต่ที่ธุรกิจเริ่มเงียบ

ลูกชายทั้ง 3 คน ได้แก่ หลุยส์ (Louis), ปิแอร์ (Pierre) และ ฌาคส์ (Jacques) ถือว่ามีส่วนอย่างมากเกี่ยวกับการขยายธุรกิจ Cartier ไปที่ตลาดต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีการวางจำหน่าย Cartier ไปกว่า 125 ประเทศทั่วโลก ทั้งนี้ ผลงานสร้างชื่อให้กับ Cartier ที่หลุยส์เป็นผู้ออกแบบก็คือ นาฬิกาข้อมือรุ่น Santos de Cartier ซึ่งวางขายในปี 1904 เป็นครั้งแรก

Cartier ในการบริหารธุรกิจของ 3 หนุ่ม แม้ว่ามีช่วงที่เงีบบไปบ้าง แต่ยังสามารถคงความเป็นแบรนด์หรู พรีเมียม และเป็นแบรนด์ที่มีชื่อในเรื่องของคุณภาพและการดีไซน์ที่น่าประทับใจสำหรับผู้คนทั่วโลก ทั้งยังมีราชวงศ์ในหลายประเทศที่ยังมอบหมายให้ Cartier เป็นผู้ออกแบบของขวัญ และเครื่องประดับของพระองค์อยู่

เช่น กษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 8 ที่ทรงมอบให้ Cartier ออกแบบโชคเกอร์ให้แก่คู่หมั้นของพระองค์ ‘วอลลิส ซิมป์สัน’ เป็นของขวัญ ซึ่ง Cartier ได้ออกแบบผลงานชิ้นนั้นและสร้างความฮือฮาอย่างมากอยู่ช่วงหนึ่ง ปัจจุบันคนส่วนใหญ่จะรู้จักสร้อยคอเพชรชิ้นนั้นว่า ‘สร้อยคอเกือกม้า’ นั่นเอง

Cartier ในปัจจุบันที่แม้ว่าจะเป็นแบรนด์ที่เก่าแก่ และอยู่มานานเกือบ 180 ปี แต่ยังคงทรงคุณค่าทางจิตใจ อีกทั้งยังเป็นแบรนด์ที่ให้คุณค่ากับความเป็นอาร์ตที่แตกต่างได้ดีด้วย Cartier ทำให้เรารู้ว่า บางทีคุณภาพอย่างเดียวก็ไม่พอสำหรับโลกธุรกิจ แต่การดีไซน์ หรือคงความเอกลักษณ์บางอย่างที่มาจากสารตั้งต้นแรกของธุรกิจ ก็สร้างพลังและมูลค่าที่ยิ่งใหญ่ให้กับแบรนด์ได้มากทีเดียว

 

ภาพ: Cartier/ Vogue

อ้างอิง:

STORY & HERITAGE

A Brief History of the Iconic Cartier Jewelry Brand

The Complete History Of Cartier

MASTERS AT JEWELRY, CARTIER

The Story Behind The Royal Family’s Enduring Love Affair With Cartier

'Cartier' ประวัติ-เปิดกรุผลงานวินเทจสุดวิจิตรในกรุงเทพฯ

โฉมใหม่ คาร์เทียร์ บูติคแฟล็กชิพ สยามพารากอน ผสานกลิ่นอายวัฒนธรรมไทย