28 พ.ค. 2567 | 18:00 น.
KEY
POINTS
พอใช้คำว่า ‘Deepfake’ หลายคนอาจจะงง ๆ คิดว่าอาจจะไม่เคยได้ยินมาก่อน แต่ความจริงคือ เราเห็นหลาย ๆ ฟีเจอร์ที่ใช้เทคโนโลยี Deepfake มาค่อนข้างมาก โดยเฉพาะฟีเจอร์ใน TikTok
Deepfake หรือ AI Deepfake ก็คือ Generative AI รูปแบบหนึ่ง ที่จะมีการใช้ตั้งแต่ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ที่ไปพร้อม ๆ กับภาพเคลื่อนไหวที่เราเห็น ถ้ายังคิดภาพไม่ออกให้นึกถึงเรากำลังดู ‘ประกาศข่าวโทรทัศน์ AI’ หรือ พิธีกร AI ที่พูดได้อย่างคล่องแคล่ว เสมือนจริง จนแทบแยกไม่ออกว่าเป็นระบบ AI หรือ คนกันแน่?
โดยคำว่า ‘Deepfake’ มาจาก 2 คำรวมกัน ก็คือ Deep Learning (การเรียนรู้ในเชิลลึก) และ Fake ที่หมายถึงเทคนิคการปลอมแปลงข้อมูลด้วย AI
เราพอเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี AI Deepfake ในเบื้องต้นแล้ว แล้วมันมาเชื่อมโยงกับระบบ Huawei Cloud ในแง่ไหน? ทำไมถึงมาช่วยพัฒนาประสบการณ์ให้ดีขึ้นได้ สมจริงขึ้นได้
ภายในงาน SCBX Unlocking AI EP8: Seeing is Believing? Navigating the Digital Human Landscape ร่วมจัดโดย SCBX และ Huawei ที่เพิ่งจบไปเมื่อวานนี้ 27 พฤษภาคม 2567 ‘สุรศักดิ์ วนิชเวทย์พิบูล’ CTO และธุรกิจคลาวด์ของ Huawei Thailand ได้นำเสนอยุทธศาสตร์ที่มาช่วยดึงดูดลูกค้ายุคใหม่ โดยใช้โมเดล Digital Human เป็นหลัก ซึ่งระบบคลาวด์และความเสถียรของระบบมีความจำเป็นอย่างมากต่อการพัฒนา
สุรศักดิ์ เล่าว่า “Huawei เชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยี 5G มานาน ดังนั้น ระบบคลาวด์ของเราซึ่งมุ่งพัฒนามานานแล้ว จึงเป็นความถนัดของเราด้วย เรายึดหลัก Consumer Centric มาตลอด โดยลูกค้าของ Huawei ที่เป็น Digital Human มีเยอะมาก ๆ ในประเทศจีน”
“จุดเริ่มต้นของ Huawei Cloud ก็มาจาก Pain point ของลูกค้าเดิมที่เราเห็น และเราต้องการต่อยอดรูโหว่นั้นให้มีประโยชน์ต่อผู้ใช้ของเรา”
ทั้งนี้ สุรศักดิ์ ได้แชร์ตัวอย่างที่ Huawei Cloud ได้เข้าไปช่วย โดยเฉพาะสร้างประสบการณ์ให้ผู้ใช้ เช่น
ความสมจริงในโลกดิจิทัลที่ Huawei Cloud เข้ามาช่วย อย่างน้อยจะทำให้ AIGC ในเชิงเรียลไทม์สมจริง จนคนดูแยกไม่ออก
ดังนั้น ความสมจริงจนผู้คนแยกไม่ออกว่าสิ่งที่เห็นอยู่มีการใช้ AI เข้ามาช่วยหรือไม่ จะสร้างคุณค่าอย่างมหาศาล เช่น ในอุตสาหกรรมเกมและกีฬา, บันเทิง, อีคอมเมิร์ซ, ไลฟ์สด เป็นต้น ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานของคลาวด์ทั่วโลกของ Huawei พร้อมโหนดเครือข่ายประมาณ 2,800 โหนด ถือว่าโลกแห่งความเป็นจริงและโลกของ AI ที่มีการใช้เทคโนโลยี Deepfake จะสร้างการตอบโต้แบบเรียลไทม์ได้ยิ่งกว่าที่เคยสัมผัสมา
ในแง่ดีของเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นในมุมของการใช้งานแน่นอนว่า มันดีและมีประโยชน์ แต่หลายคนที่มาแชร์ภายในงาน อย่าง ‘ชาคริต ข่วงอารินทร์’ ที่มาแชร์เกี่ยวกับเรื่องราวเบื้องหลังการพัฒนา ‘ณิชชาและเนทรานส์’ ผู้ประกาศข่าว AI สุดล้ำจาก Nation TV ที่ยืนยันว่า ณ ตอนนี้ยังต้องใช้ ‘คน’ มากถึง 80% ในการพากย์เสียงทับกับผู้ประกาศข่าว AI ซึ่งการพัฒนา Deepfake อย่างครบด้าน เชื่อว่าในอนาคตจะสามารถสร้างเสียงของผู้ประกาศข่าว AI ได้เอง
อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีใดก็ตามที่ล้ำสมัยมาก ๆ ย่อมเป็น ‘ดาบ 2 คม’ เสมอ โดยพาะในมุมของ ‘มิจฉาชีพ’ ซึ่งจำเป็นต้องมีระบบป้องกัน หรือ สร้างวิธีการรับมือกับปัญหาที่จะตามมาได้ เพราะหากเทคโนโลยี Deepfake มีความแม่นยำและเสถียงมากขึ้น ทั้งภาพ และเสียงที่ล้อไปพร้อม ๆ กัน มีโอกาสที่เราอาจเห็น ‘เหยื่อ’ ที่หลงเชื่อมากขึ้นเช่นกัน
พอคิดภาพตามก็ถือเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับเทคโนโลยีสมัยนี้ หากวันหนึ่งมีคนโทรวิดีโอคอล พร้อมหน้าและเสียงที่เหมือนกับคนสนิทของเรา ขอยืมเงินหรือใช้เทคโนโลยีไปในทางที่ผิด วันนั้นเราจะมีวิธีการที่จะรับมือ ป้องกัน เพียงพอใช่หรือไม่?
ภาพ: Huawei