05 มิ.ย. 2567 | 23:12 น.
เช่นเดียวกับประเทศไทย ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพราะแม้จะขึ้นชื่อว่า เป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางด้านอาหาร โดย 70% เป็นการบริโภคภายในประเทศ อีก 30% เป็นการส่งออก แต่ด้วยปัจจัยการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่างเกิดขึ้น ทำให้เกิดผลกระทบต่อความยั่งยืนของอาหารไม่ต่างจากที่อื่น
อย่างไรก็ตาม การจะพัฒนาให้ Future Food เกิดขึ้นจริงและเดินหน้าได้ ‘สันติ อาภากาศ’ CEO และ Co-Founder ของ TASTEBUD Lab และ Bio Buddy มองว่า จำเป็นต้องอาศัยพลังจากทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อพยายามสร้างแรงกระตุ้นให้เกิด Ecosystem สำหรับเป็นแนวทางร่วมขับเคลื่อน และสนับสนุนผู้ประกอบการ ตลอดจนสตาร์ทอัพด้านอาหารแห่งอนาคตอย่างยั่งยืน
นอกจากยังต้องดำเนินการ ภายใต้กรอบ Life Comes Full Circle ประกอบด้วย 1. Symbiotic Growth อาทิ โปรตีนทางเลือก ฯลฯ ซึ่งเได้เทรนด์โลกที่เข้ามามีบทบาทสำคัญ และการฟื้นฟูในประเด็นนี้ต้องทำควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีอาหารอนาคต
2.Regeneative Food System การคิดถึงบริบทใหม่ในการผลิตอาหารแบบฟื้นฟูวงจรธรรมชาติให้กลับมาหรือการดึงระบบนิเวศที่เคยหายไปหรือถูกกระทบให้กลับคืนมา และนำไปใช้เพื่อการปรับตัวและพัฒนาอย่างเป็นระบบของ Food System
3. AI & Future of Food จะใช้ AI เข้ามาช่วยตอบโจทย์อาหารได้อย่างไร หรือต้องปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อมาปรับลดการสูญเสีย เพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างความยั่งยืนให้กับระบบอาหารได้อย่างไร
สำหรับ Future Food ที่น่าสนใจหลัก ๆ แบ่งออกเป็น
กลุ่มที่ 1 อาหารเพื่อสุขภาพ เน้นความสมดุลมีคุณค่าครบ 5 หมู่ ย่อยง่าย นอนหลับสบาย ขับถ่ายดี
กลุ่มที่ 2 อาหารผู้สูงอายุ เน้นคุณค่าทางโภชนาการ ป้องกันโรค
กลุ่มที่ 3 อาหารออแกนิค ปลอดสารเคมีและปลอดภัยต่อสุขภาพ
กลุ่มที่ 4 อาหารโปรตีน เน้นโปรตีนจากพืช ตอบโจทย์เทรนด์รักสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
กลุ่มที่ 5 อื่นๆ ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะกลุ่ม เช่น อาหารมังสวิรัติ อาหารสำหรับผู้แพ้อาหาร เป็นต้น
สุดท้ายไม่ว่า ประเทศไทย จะยังคงมีความมมั่นคงทางอาหาร แต่ Future Food ถือเป็นเทรนด์ที่จะสร้างโอกาสให้กับบ้านเรามากขึ้น หากสามารถนำนวัตกรรมมาพัฒนาและกระจายสินค้าสู่ตลาดได้ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคที่หลากหลายได้
.
บทความนี้ เป็นส่วนหนึ่งของงาน Future Food System Conference & Show 2024 จัดขึ้นโดย TASTEBUD Lab