เริ่มจากหนังสือ เปลี่ยนเป็น สคส. สู่ธุรกิจ ‘เสื้อแตงโม’ ยุคแรกกับการ ‘แบขายกะดิน’

เริ่มจากหนังสือ เปลี่ยนเป็น สคส. สู่ธุรกิจ ‘เสื้อแตงโม’ ยุคแรกกับการ ‘แบขายกะดิน’

เรื่องราวของธุรกิจเสื้อแตงโม ตั้งแต่วันที่ยังไม่มีชื่อเรียก เปิดที่มาของชื่อแบรนด์แตงโม และสไตล์การทำธุรกิจแบบ เซน – อดิศรา พวงชมภู ทายาทรุ่น 2 ผู้นำศิลป์และศาสตร์การตลาดมารวมกัน

เซน – อดิศรา พวงชมภู เปิดใจกับ The People ในฐานะที่เป็นทายาทรุ่น 2 ของธุรกิจเสื้อแตงโม ถึงวันวานของแตงโมก่อนที่จะมีชื่อเรียกอย่างจริงจังว่า “คุณพ่อเป็นคนที่ชอบลองผิดลองถูกตลอดเวลาค่ะ ในยุคแรกของแตงโมเราเริ่มจากที่แบขายกะดินเลย”

เธอเล่าว่าคุณพ่อ ‘อดิศร พวงชมภู’ ผู้ก่อตั้งธุรกิจแตงโม ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีชื่อเรียกอย่างทุกวันนี้ คุณพ่อได้เริ่มต้นด้วยการขายหนังสือก่อนเพราะเป็นคนที่รักหนังสือมาก ๆ แต่ข้อจำกัดก็คือหนังสือมันหนักเกินไปสำหรับแบกไปขายตามตลาดนัด คุณพ่ออดิศร จึงเปลี่ยนธุรกิจมาเป็นการขาย ‘สคส.’ เพราะเบากว่า และคิดว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องใช้ตามงานเทศกาลต่าง ๆ

เริ่มจากหนังสือ เปลี่ยนเป็น สคส. สู่ธุรกิจ ‘เสื้อแตงโม’ ยุคแรกกับการ ‘แบขายกะดิน’

แต่สุดท้ายก็เจออุปสรรคจนได้เพราะ สคส. แม้ว่าจะเป็นสินค้าที่ขายได้ดี แต่ก็ขายได้เฉพาะที่เป็นช่วงเทศกาลเท่านั้น หลังจากนั้นคุณพ่ออดิศร จึงคิดหาทางทำธุรกิจใหม่ จนมาตกผลึกเป็นหการ ‘ขายเสื้อ’ ที่สกรีนเอง ทำเองกับเพื่อน ๆ โดยเริ่มจากสิ่งใกล้ตัวอย่าง ‘คำคมที่คนชอบ’ บนเสื้อ

“หลังจากที่ขายหนังสือ และสคส. ก็เผชิญปัญหาหลายเรื่อง คุณพ่อก็เลยกลับมาดูว่า งั้นลองขายเสื้อผ้าดู แล้วด้วยความที่คุณพ่อคุณแม่เป็นนักศึกษาธรรมศาสตร์ ก็จะพิมพ์ปรัชญาบนปกบนเสื้อ ก็เป็นอะไรที่เขาโดนอกโดนใจกันอยู่แล้ว จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจนั้นขึ้นมา”

“เซนคิดว่าเสน่ห์ของคนธรรมศาสตร์ คือคุณพ่อจะพูดเสมอว่า ธรรมศาสตร์สอนคุณพ่อคุณแม่รักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน เซนก็เลยคิดว่าพวกโควท คำคมอะไรอย่างนี้อยู่ในอณูของความเป็นเด็กธรรมศาสตร์ บวกกับคุณพ่อเป็นคนรักหนังสือมาก เพราะฉะนั้น เขาจะมีความคิดกับภาษาที่สวยมาก ๆ”

เราจึงถามต่อว่า แล้วช่วงแรก ๆ ของธุรกิจขายเสื้อเป็นอย่างไร เพราะคุณพ่อคุณแม่ชอบลองผิดลองถูก และพยายามปรับการขายสินค้าต่าง ๆ มาตลอด

เซน เล่าจุดเริ่มต้นว่า ตอนแรกคุณพ่อคุณแม่รับเสื้อยืดมาก่อน แล้วก็เอามาสกรีนขาย ซึ่งตอนที่สกรีนก็ทำกันเองใต้ตึกแถวที่อาศัย พอเจอเพื่อน เจอลูกพี่ลูกน้อง ก็ชวนเขามาทำธุรกิจด้วยกัน

ส่วนคุณแม่อมรา ก็ถูกวางตำแหน่งเป็น ‘ฝ่ายขาย’ อันดับหนึ่งของธุรกิจตั้งแต่ตอนนั้น เพราะเป็นคนพูดเก่ง และคุณพ่อก็จะชมตลอดเวลาที่คุณแม่ช่วยขายเสื้อ

“ช่วงแรก ๆ ที่เรารับเสื้อมาขาย และตอนหลัง ๆ เราเริ่มผลิตเอง แต่ด้วยความที่ช่วงแรกไม่มีเงินทุนจะลงทุนกับจักรเย็นมากนัก แทนที่จะไปซื้อจักรที่เป็นจักรโพ้งจักรอะไร กลายเป็นว่าเราต้องมาเย็บเข้าถ้ำ มันจึงกลายเป็นอีกเทคนิคหนึ่งของเสื้อแตงโมตั้งแต่ตอนที่ยังไม่มีชื่อเรียก แล้วคุณแม่ก็สามารถขายเป็นของพรีเมียมได้ด้วย มันมันเป็นเทคนิคการเย็บที่ยากกว่า คุณพ่อก็เลยแบบว่าเออ มันเป็นเทคนิคการขายที่เป็นของอมราจริง ๆ”

แต่ด้วยความที่ช่วงแรก ๆ ยังมีการฝากขายเสื้อในร้านกิฟต์ชอป หรือร้านอื่น ๆ บ้าง พอไม่มีชื่อแบรนด์เรียกจึงทำให้ลูกค้าถามว่า สรุปเสื้อนี้จะให้เรียกว่าอะไร? หรืออย่างบางทีลูกค้าอยากแนะนำต่อให้เพื่อนซื้อ ก็ไม่รู้จะเรียกเสื้อว่าเป็นยี่ห้ออะไร เป็นต้น

เริ่มจากหนังสือ เปลี่ยนเป็น สคส. สู่ธุรกิจ ‘เสื้อแตงโม’ ยุคแรกกับการ ‘แบขายกะดิน’

 

ที่มาของชื่อแตงโมและภาษาญี่ปุ่น

จากที่ไม่มีชื่อเรียก ลูกค้าตั้งคำถามบ่อยครั้งว่าจะให้เรียกว่าอะไร วันหนึ่งคุณพ่อ ซึ่งตอนนั้นขายอยู่ในตลาดแห่งหนึ่ง แล้วมองว่า ร้านผลไม้พร้อมทานแตงโมมักจะเป็นผลไม้ที่หมดก่อนผลไม้อื่นเสมอ จึงคิดว่าใคร ๆ ก็น่าจะชอบทานแตงโม และตัวเขาเองก็ชอบทานเหมือนกัน จึงนำมาตั้งชื่อแบรนด์ ‘แตงโม’ สรุปง่าย ๆ แบบนั้นเลย

ส่วนตัวอักษรภาษาญี่ปุ่น ‘すいか’ อ่านว่า SUIKA มาจากไอเดียของคุณแม่ซึ่งได้ทุนเรือเอเชียอาคเนย์อยู่ในขณะนั้น ประจวบเหมาะกับช่วงนั้นคนไทยนิยมสินค้าของญี่ปุ่นมาก ๆ เพราะมองว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพสูง จึงนำ すいか มาใช้เพราะอาร์ตเวิร์คลงตัวพอดี สวยงาม ไม่ยาวเกินไป

ทั้งนี้ บริษัทแรกของแตงโมจึงไม่ใช่ ‘สยามแฮนด์ส’ แต่เป็นชื่อบริษัท ‘วาย เจแปน’ (WHY JAPAN) เป็นเชิงการตั้งคำถามไปในตัวว่า “ทำไมทุกคนถึงเชิดชูญี่ปุ่นนัก”

เริ่มจากหนังสือ เปลี่ยนเป็น สคส. สู่ธุรกิจ ‘เสื้อแตงโม’ ยุคแรกกับการ ‘แบขายกะดิน’

อย่างไรก็ตาม เซนเล่าว่า ในวันที่แตงโมส่งออกไปให้ลูกค้าญี่ปุ่นรายแรกของ เป็นวันที่บริษัทตัดสินใจเปลี่ยนชื่อ เพื่อสะท้อนความเป็นสินค้าไทยและเป็นของคนไทย จึงเกิดชื่อ ‘สยามแฮนด์ส’ ขึ้นมา เพื่อให้ลูกค้าจำได้ว่าเสื้อนี้แหละที่เป็นสินค้าด้วยน้ำมือของชาวสยาม และคำว่าคุณภาพแบบสยามเป็นอย่างไร

 

ดีเอ็นเอของเสื้อแตงโมรุ่น 2

“เสื้อรุ่นแรกของแตงโมเลยเป็นเสื้อสีดำ เป็นเสื้อสีดำพิมพ์ลายปรัชญาต่าง ๆ นี่แหละค่ะ ส่วนที่มาของเสื้อแตงโมที่เริ่มเป็นสีสัน เซนคิดส่วนตัวว่าสีสัน เนื่องจากว่าเสื้อผ้าก็ต้องตอบโจทย์ของลูกค้า การทำธุรกิจเราต้องตอบโจทย์ของลูกค้า และคุณพ่อจะพูดเสมอว่า เสื้อแตงโมเป็นเสื้อของคนอารมณ์ดี แล้วการที่เรามีสีสันเพิ่มขึ้น สีสันสดใสต่าง ๆ น่าจะเป็นการสะท้อนมาจากความร่าเริง ความน่ารัก ความเป็นกันเองของคนไทยมากกว่า ที่ทำให้เสื้อแตงโมมีสีสันมากขึ้น เพราะเราได้อยู่ใกล้ชิดกับคนไทย มันเป็นเสน่ห์ของเรา เราเป็น land of smile เพราะฉะนั้น เสื้อสำหรับคนอารมณ์ดีจะไม่มีสีสันสดใสได้ยังไง ก็เลยกลายเป็นว่า เสื้อสีของแตงโม เห็นแต่ไกลก็รู้เลยว่าเป็นแตงโม"

“สมมุติถ้าเราดูเสื้อแตงโมในตู้ แล้วเราจะหยิบเขาขึ้นมาใส่ ถ้าวันนั้นเราไม่ได้มีจิตใจที่อารมณ์ดี เราคงไม่กล้าหยิบเสื้อตัวนั้นมาใส่นะ เพราะเสื้อแตงโมมันสีสดมาก”

“และด้วยความที่เป็น casual wear มันค่อนข้างมี scope limitation ของการออกแบบอะไรยังไงได้บ้าง เพราะฉะนั้น รูปแบบง่ายสุดของการทำก็คือเปลี่ยนสี เปลี่ยนลาย มันก็เลยเป็นอะไรที่เราเข้าถึงง่ายด้วยค่ะ”

เริ่มจากหนังสือ เปลี่ยนเป็น สคส. สู่ธุรกิจ ‘เสื้อแตงโม’ ยุคแรกกับการ ‘แบขายกะดิน’

และสิ่งที่หลายคนอาจจะไม่รู้ว่า จริง ๆ แล้วแตงโมมีเสื้อทั้งหมดกี่สี เพราะมันเยอะมาก ๆ เซน บอกกับเราว่า เสื้อแตงโมเมื่อก่อนมีสีเยอะมากถึง 300 สีเพราะทำออกมาเรื่อย ๆ ซึ่งถ้าใครยังจำได้สมัยก่อนเสื้อแตงโมมีสโลแกนที่ว่า “ใส่ 7 สีดี 7 วัน” แต่เหตุผลที่ทำให้สีเสื้อแตงโมเยอะมาก ๆ เพราะในแต่ละเฉดจะสีต่างกันออกมาอีก เช่น สีเหลืองมี 5 เฉด และสีแดงมี 12 จึงทำให้เสื้อแตงโมกลายเป็นแบรนด์ที่เคยทำเสื้อสีออกมาเยอะที่สุดแบรนด์หนึ่งแล้วในความทรงจำคนไทย

จนกระทั่งแตงโมรุ่นที่ 2 เธอเลือกที่จะคัดสีที่คนไทยใส่แล้วสวยที่สุด เหมาะที่สุด ให้เหลือเพียง 50 สีเท่านั้น และการที่เสื้อแตงโมไม่ใช่ธุรกิจที่อิงกระแสหรือติดเทรนด์ มุมมองการทำธุรกิจแบบ ‘เซน- อดิศรา’ เธออธิบายว่า

“เมืองไทยเป็นประเทศที่เป็นซัมเมอร์ตลอดเวลา everyday summer เพราะฉะนั้น เราจะบอกว่าเอ๊ะ ลายดอกเราต้องใส่สงกรานต์เท่านั้นมั้ย? สงกรานต์อาจจะเป็นช่วงที่ดอกไม้บานเยอะที่สุด แต่ถามว่าเสน่ห์ของเมืองไทย คือทุกคนมีความ happiness ทุกคนมีความเบ่งบานตลอดเวลา ดังนั้น ในช่วงมิถุนายนที่เป็นหน้าฝน มันก็อาจจะเป็นโทนดอกไม้ที่แตกต่างออกไปก็ได้ค่ะ”

เริ่มจากหนังสือ เปลี่ยนเป็น สคส. สู่ธุรกิจ ‘เสื้อแตงโม’ ยุคแรกกับการ ‘แบขายกะดิน’

ขณะที่ปัจจุบัน เราจะเห็นว่าเสื้อแตงโม ไม่ได้มีแค่ ‘เสื้อ’ เพียงอย่างเดียว แต่มีชุดชั้นใน กระเป๋า กางเกง ฯลฯ สำหรับ เซน เธอพูดว่า “ลูกค้าแตงโมบางคนคือใส่ชุดแตงโมไปงานแต่งงาน บางคนใส่อยู่บ้าน บางคนใส่ทำงาน คือ range มันเยอะมากเลย เราก็มาคิดว่าเอ๊ะ ถ้าเกิดลูกค้าเราซื้อเสื้อตรงนี้ไป แล้วเขาต้องไปสัมภาษณ์งาน เขามีกระเป๋าสวย ๆ หรือยัง แล้วถ้าเราทำกระเป๋าราคาเพื่อลูกค้า อย่างน้อยให้เขามีกระเป๋าเข้าชุด และใช้ก็ทำให้เขาดูดีนะเวลาใส่ทำงาน จึงเป็นที่มาว่าทำไมตอนนี้เรามีมากกว่าเสื้อแตงโมค่ะ”

เริ่มจากหนังสือ เปลี่ยนเป็น สคส. สู่ธุรกิจ ‘เสื้อแตงโม’ ยุคแรกกับการ ‘แบขายกะดิน’

“เซนว่า success ที่สุดของแตงโม ก็คือถ้าตู้เสื้อผ้าของคนไทยทุกตู้ มีเสื้อแตงโมอยู่ในนั้นอย่างน้อย 1 ตัว และเป็นเสื้อที่พอเขาหยิบมาใส่ปั๊บ เขารู้สึกเขาสบายใจที่สุด เสื้อแตงโมจะน่ารักมากว่าด้วยความที่เราไม่มีเทรนด์ใช่ไหมคะ เอาไปใส่เที่ยวก่อน จากเป็นเสื้อไปเที่ยวก็กลายเป็นเสื้อนอน นี่คือเสื้อที่รักจริง ๆ นะคะถึงจะได้ไปเป็นเสื้อนอน"

“แล้วแตงโมจะรู้สึกพิเศษกว่านั้นอีก ถ้ามันเริ่มขาดเป็นรูแล้ว คอย้วยแล้ว แต่ลูกค้ายังไม่ทิ้ง ลูกค้าให้ไปเป็นผ้าเช็ดพื้น ผ้าขี้ริ้วอีก เซนจะรู้สึกว่า โห เสื้อตัวหนึ่งเนี่ยเราดูแลลูกค้าดีเหลือเกิน สำหรับเซนน่ะอันนั้นคือ success แล้วของการทำเสื้อ เพราะท้ายที่สุดแตงโมทำเสื้อให้ได้มาซึ่งรอยยิ้มของผู้คน ไม่ว่าจะได้มาจากรอยยิ้มของคนที่ใส่ คนที่ซื้อ คนที่ให้ หรือกำไรจากแตงโมไปทำอะไรต่อได้อีก มันคือ success ของแตงโมที่อยู่ที่ความสุขของคนที่ได้ทำค่ะ”

 

แตงโมสวนสนุกวัยเยาว์

“เซนย้อนกลับไปตั้งแต่เด็ก เซนอยู่ในตึกแถวที่ชั้นล่างสุดเป็นออฟฟิศ ชั้นที่ 2 เป็นบ้านเซน แล้วก็ชั้นที่ 3 เป็นบัญชีแล้วก็เป็นแผนกเย็บ เพราะฉะนั้น แตงโมสำหรับเซนมันเป็นสวนสนุกค่ะ เซนจะวิ่งเล่นวิ่งเข้าห้องนู้นไปห้องนี้ แต่ก่อนไม่มีคอมพิวเตอร์ใช่ไหมคะ พี่ ๆ เลิกงานก็จะแอบไปใช้คอมพิวเตอร์พี่ ๆ ที่ทำดีไซน์ ดังนั้น แตงโมจึงเป็นความสนุกสนานของเราตั้งแต่เด็ก”

แต่เมื่อโตขึ้นเธอได้เลือกเส้นทางชีวิตของตัวเองด้วยการเรียนทางด้านด้านศิลปะที่ University of the Arts London (UAL) แต่การที่เรียนจบทางการศิลป์ ไม่ได้ทำให้ด้านบริหารธุรกิจของเธอด้อยแม้แต่น้อย ณ วันที่เซน มารับช่วงต่อจากธุรกิจครอบครัว เธอมองว่า ศิลปะมันเป็น process ของการคิด แล้วเป็น mindset ของการ observe ดังนั้น มันเป็นรากฐานความคิดของคนธุรกิจที่ดี และเธอสามารถปรับใช้กับธุรกิจแตงโมได้ในสไตล์ของตัวเอง

เริ่มจากหนังสือ เปลี่ยนเป็น สคส. สู่ธุรกิจ ‘เสื้อแตงโม’ ยุคแรกกับการ ‘แบขายกะดิน’

“วันที่เซนเข้ามาทำแตงโม เซนก็เหมือนเป็น Art Project โดยเซนตั้งคำถามตลอดเวลาว่าจะเอาอย่างนี้ลองได้ไหม เพราะว่า arts ไม่มีผิดถูก เพราะฉะนั้น เซนจะเข้ามาทดลอง เซนจะเข้ามาทำอะไรในแตงโมเนี่ย มันเป็นเรื่องของการทดลองประสบการณ์ใหม่ ๆ มันเหมือนสร้าง Art Project เพียงแต่ว่า final piece เซนไม่ได้เป็นภาพสีน้ำมัน แต่มันดันเป็นโปรเจกต์ที่เป็นเสื้อผ้า หรือเป็นโปรเจกต์ที่เป็นระบบการทำงานแค่นั้นเอง เซนก็เลยรู้สึกว่าโชคดีที่ได้เรียนศิลปะมา”

“อย่างเซนกลับมาตอนแรกเลยค่ะ เซนก็ตั้งคำถามว่า ทำไมเซนไม่ใส่เสื้อแตงโมทั้งที่มันเป็น casual wear พอตั้งคำถามเสร็จก็มาไล่ดูเลย เหตุและผลของมัน จึงทำให้รู้ว่า ทำไมมันต้องมีสีแดงเยอะขนาดนี้ แล้วสีแดงไหนไม่สวยสำหรับคนไทย มันเหมือนเป็นการ scope ธุรกิจให้ชัดขึ้นค่ะ”

เริ่มจากหนังสือ เปลี่ยนเป็น สคส. สู่ธุรกิจ ‘เสื้อแตงโม’ ยุคแรกกับการ ‘แบขายกะดิน’

จากปากทายาทรุ่น 2

มีหลายมุมมองจากเซน ในทายาทที่เป็นทายาทรุ่น 2 ซึ่งเราอยากจะหยิบประโยคที่เขาพูดเพื่อให้เห็นมุมมองบางอย่างจากตัวเธอ และธุรกิจแตงโม...

“เซนรู้สึกโชคดีที่ได้เป็นลูกคุณพ่อ เพราะคุณพ่อจะมีทฤษฎี มีการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่ค่อนข้างละเอียดแล้วก็ลึกมาก เซนก็เลยได้ ambition ได้ความรู้ ความทะเยอทะยานนี้จากคุณพ่อเยอะ แล้วก็โชคดีได้เกิดเป็นลูกคุณแม่ เพราะคุณแม่จะสอนในเรื่องของความเมตตา ในเรื่องของจิต คุณพ่อจะเป็นเรื่องของ head คุณแม่จะเป็นเรื่องของ mind เราก็เลยรู้สึกว่าตรงนี้มันบาลานซ์กัน”

เริ่มจากหนังสือ เปลี่ยนเป็น สคส. สู่ธุรกิจ ‘เสื้อแตงโม’ ยุคแรกกับการ ‘แบขายกะดิน’

“นอกจากนี้ เซนว่ามันเป็นความรู้สึกขอบคุณกับพี่ ๆ ที่โรงงานมาก เพราะถ้าถามว่าเซนรู้สึกภูมิใจอะไรที่สุดในแตงโม เซนภูมิใจที่ในรั้วเล็ก ๆ ของเรามันมีคนที่มีจิตใจของการเสียสละกับการให้เนี่ยสูงมาก พี่ ๆ ทิ้งครอบครัวมาเพื่อที่จะหาเงินส่งกลับบ้าน คุณพ่อเซนอยู่ในโรงงานมาตั้งแต่เซนจำความได้ เซนก็เลยรู้สึกว่าเซนโชคดีที่ได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบนี้กับคนแบบนี้มากกว่า แล้วถามว่าภูมิใจมั้ย เซนอยากสร้างความภูมิใจเป็นอีกแบบหนึ่งมากกว่า แต่ว่ารู้สึกขอบคุณที่พี่ ๆ ที่ให้เด็กอาร์ตตาดำ ๆ ได้มีโอกาส lead ธุรกิจกับพี่ ๆ”

“แตงโมเป็นลูกรักของคุณพ่อคุณแม่ แตงโมน่าจะเป็นลูกคนแรกของเขาด้วย สำหรับแตงโมเซนมองว่ามันเป็น family business ที่เสริมกันไปเสริมกันมามากกว่าค่ะ”

เริ่มจากหนังสือ เปลี่ยนเป็น สคส. สู่ธุรกิจ ‘เสื้อแตงโม’ ยุคแรกกับการ ‘แบขายกะดิน’

“ในรั้วโรงงานเราเนี่ยค่ะก็จะมีการทำเกษตรอยู่แล้ว คุณพ่อจะทำในเรื่องของเกษตรอินทรีย์เพื่อสอนพี่ ๆ ในวันอาทิตย์ค่ะ เพราะพี่ ๆ จะได้เอาความรู้กลับบ้าน ไปบอกที่บ้านว่าทำยังไง ส่วนคุณแม่จะเป็นสายบุญ น้องควายที่คุณแม่ไถ่ชีวิตออกมาก็สัญญากับหลวงปู่ว่าจะเลี้ยง ก็เลยกลายเป็นว่าน้องควายมาขโมยนาคุณพ่อไปหนึ่งไร่ เพื่อเปิดตัวร้านกาแฟ ‘คันนา’ ก็จะมีที่พักให้นั่งรอ ให้พักให้หายเหนื่อยจากชอปปิ้งค่ะ”

จากที่เล่าเรื่องราวและความคิดจากทายาทรุ่นที่ 2 เชื่อว่าคนอ่านน่าจะสัมผัสได้ว่า “แตงโมใช้หัวใจทำงานเยอะมาก ๆ” ทุกเรื่องราวทุกสตอรี่ที่อยู่เบื้องหลังการทำธุรกิจของแตงโม เพื่อบางสิ่งบางอย่างเสมอและเพื่อผู้คน อย่างที่เซน ย้ำทิ้งท้ายการสัมภาษณ์ว่า “แตงโมเก่งเรื่องการช่วยเหลือคน”

เริ่มจากหนังสือ เปลี่ยนเป็น สคส. สู่ธุรกิจ ‘เสื้อแตงโม’ ยุคแรกกับการ ‘แบขายกะดิน’

“แตงโมไม่ได้อยู่เพื่อทำให้เสื้อมันสวยที่สุด หรือเป็นแบรนด์อันดับ 1 เพราะแตงโมแทบจะไม่มีมาร์เก็ตติ้งเลย แต่เราอยู่เพราะคุณพ่อคุณแม่รักผู้คน รักสังคม และสิ่งนั่นก็ส่งต่อมาถึงเซนด้วย เซนรักคนแตงโม เซนรักลูกค้าที่เข้ามา แล้วเซนก็รักคนไทย เซนภาคภูมิใจที่เป็นคนไทย เซนดีใจที่ได้กลับมาดูแลพ่อแม่ เซนว่าถ้าธุรกิจมันเป็นอย่างนี้ เซนแฮปปี้ที่จะเป็นนักธุรกิจค่ะ”