กัณฑ์พงศ์ สุระวรรณวิจิตร : คนเชื่อมโยงแนวคิด 20 อำเภอ 20 Soft Power โชว์ของดี จ.อุดรธานี

กัณฑ์พงศ์ สุระวรรณวิจิตร : คนเชื่อมโยงแนวคิด 20 อำเภอ 20 Soft Power โชว์ของดี จ.อุดรธานี

จากอารมณ์น้อยใจของชายคนหนึ่ง ตั้งแต่ช่วงที่เรียนต่างประเทศ (ประเทศอังกฤษ) แล้วคนไม่รู้จักจ. ‘อุดรธานี’ บางคนก็ไม่รู้จัก ‘ประเทศไทย’ เขาเก็บเกี่ยวประสบการณ์ และความน้อยใจเอาไว้ จนวันหนึ่งที่พร้อมจะผลักดันให้บ้านเกิดตัวเองเติบโตขึ้น โดยมีแนวคิดอยากจะปั้น Soft Power ให้กับ 20 อำเภอในจ. นี้ และประกาศให้โลกรู้ว่า อุดรธานีไม่ได้มีดีแค่การกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างเดียว

KEY

POINTS

  • Soft Power โมเดลแรกของอุดรธานี 'กางเกงไหบ้านเชียง'
  • รองหอการค้าจังหวัด วางเป้าหมายปั้น 20 อำเภอ 20 Soft Power
  • 5F โมเดล จุดเชื่อมโยง Soft Power ทั้งหมด

จากอารมณ์น้อยใจของชายคนหนึ่ง ตั้งแต่ช่วงที่เรียนต่างประเทศ (ประเทศอังกฤษ) แล้วคนไม่รู้จักจ. ‘อุดรธานี’ บางคนก็ไม่รู้จัก ‘ประเทศไทย’ เขาเก็บเกี่ยวประสบการณ์ และความน้อยใจเอาไว้ จนวันหนึ่งที่พร้อมจะผลักดันให้บ้านเกิดตัวเองเติบโตขึ้น โดยมีแนวคิดอยากจะปั้น Soft Power ให้กับ 20 อำเภอในจ. นี้ และประกาศให้โลกรู้ว่า อุดรธานีไม่ได้มีดีแค่การกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างเดียว

‘พงศ์ - กัณฑ์พงศ์ สุระวรรณวิจิตร’ เขาไม่ใช่นักการเมือง ไม่ใช่ผู้ว่าราชการจังหวัด แต่เขาเริ่มต้นจากเส้นทางธุรกิจของครอบครัว และก้าวขึ้นสู่บทบาทใหม่ ‘รองประธานหอการค้า’ จ. อุดรธานี ซึ่งเข้ามามีส่วนร่วมกับโปรเจกต์มากมาย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจระดับรากหญ้า

กัณฑ์พงศ์ สุระวรรณวิจิตร : คนเชื่อมโยงแนวคิด 20 อำเภอ 20 Soft Power โชว์ของดี จ.อุดรธานี

เราสนใจเกี่ยวกับอุดรธานี ตั้งแต่ที่เห็น ‘กางเกงไหบ้านเชียง’ ซึ่งน่าจะเป็น Soft Power ตัวแรก ๆ ที่ถูกปล่อยจากจังหวัดนี้ ก่อนเริ่มสัมภาษณ์เรามีคำถามมากมายเกิดขึ้นในหัว โดยเฉพาะเรื่องป่าคำชะโนด หรือวังนาคินทร์ เพราะเมื่อปี 2023 สร้างรายได้ไปกว่า 2,000 ล้านบาท และเหตุผลที่กางเกงบ้านเชียงเป็นสิ่งแรกอุดรธานี อยากจะปั้น

กัณฑ์พงศ์ สุระวรรณวิจิตร : คนเชื่อมโยงแนวคิด 20 อำเภอ 20 Soft Power โชว์ของดี จ.อุดรธานี

พงศ์ บอกกับเราว่า “ช่วงหลัง ๆ คนมองภาพอุดรธานีเป็นเส้นทางสายมูครับ ก็คือคนมาไหว้พระ กราบไหว้พญานาค มาขอพรพระเกจิอาจารย์ สิ่งเหล่านั้นดีนะครับไม่ใช่ไม่ดี เพียงแต่การท่องเที่ยวที่มีอยู่ในอุดรธานี หลาย ๆ อำเภอซบเซาลงครับ ทั้งที่คำขวัญอุดรธานีมีที่ท่องเที่ยวหลายอย่างมาก แต่คนไม่ได้มาท่องเที่ยวแบบนั้น”

The People อยากพาไปรู้จักกับตัวตนของพงศ์ และแนวคิดของเขาเกี่ยวกับเรื่องนี้ เรามองว่าเขาอยู่ในบทบาทที่ช่วยวางกลยุทธ์ให้กับจังหวัดได้ และเขามี pain point จากอะไร ถึงอยากทำเพื่อบ้านเกิดตัวเอง

เพราะเมืองนอกไม่รู้จักอุดรธานี

เหตุผลนี้อาจจะไปซ้ำกับอีกหลาย ๆ จังหวัดในไทยก็ได้ แต่สุดท้ายแล้วมันคือเรื่องจริง พงศ์ เกิดและโตในจ.อุดรธานี ที่บ้านทำธุรกิจค้าปลีกค้าส่งโตขึ้นอีกหน่อย พงศ์ได้ย้ายเข้ามาเรียนในกรุงเทพ และก็ไปต่อปริญญาโทที่อังกฤษ

ฟังดูชีวิตราบรื่นสวยงาม แต่พงศ์ มีเหตุน้อยใจตั้งแต่ที่เรียนในอังกฤษ เพราะคนไม่รู้จักอุดรธานี และบางคนไม่รู้จักไทย แต่เขามองว่า อุดรธานี มีของดีมากมายที่สามารถไปอวดสายตาคนทั่วโลกได้ เพียงแต่ยังมีโอกาสได้ไปพรีเซนต์ หรือทำให้มันดีมากพอ

คือเราไม่ใช่นักการเมือง เราเป็นทายาทรุ่นที่ 4 ของธุรกิจครอบครัว เรามองว่าจุดที่เราจะช่วยได้ก็คือ ร่วมมือกับภาครัฐ ทำให้เอกชนร่วมมือกันมากขึ้น เราไม่ได้มองแค่ผู้ประกอบการรายใหญ่ เราอยากมองถึงรากหญ้าถึงชุมชนในการที่ช่วยเขา เพราะเศรษฐกิจอุดรธานีจะดีขึ้นได้ เราต้องกระตุ้นตั้งแต่ระดับรากหญ้าครับ”

“ผมเริ่มจากธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตของตัวเองของครอบครัวนี่แหละครับ เราก็น่าจะเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตใหญ่อันดับต้น ๆ ของจังหวัด ก็คือผมนำผลิตภัณฑ์ชุมชนมาจำหน่ายที่ผมเลย เราขายให้”

กัณฑ์พงศ์ สุระวรรณวิจิตร : คนเชื่อมโยงแนวคิด 20 อำเภอ 20 Soft Power โชว์ของดี จ.อุดรธานี

ด้วยความที่ พงศ์ รู้จักผู้ใหญ่เยอะ มีคนชวนให้ไปช่วยงาน เปิดโอกาสให้ทำงานกับอบจ. อุดรธานี และ เทศบาลนครอุดรธานี จนมารับหน้าที่เป็นรองประธานหอการค้าของจังหวัด เพื่อดึงมาช่วยสร้างประโยชน์ให้กับจังหวัดบ้านเกิดมากขึ้น

เราถามถึงช่วงแรก ๆ ที่ยังเป็นอุดรธานีแบบก่อน พงศ์ มองว่าเป็นแบบไหน

“จริง ๆ ช่วงหลัง ๆ คนมองภาพอุดรธานีเป็นเส้นทางสายมูครับ ก็คือคนมาไหว้พระ กราบไหว้พญานาค มาขอพรพระเกจิอาจารย์ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ไม่ดีนะ แต่ว่าในอุดรธานีมีแหล่งท่องเที่ยวอีกเยอะมาก แต่ในหลายอำเภอกลับซบเซาลงครับ”

และนี่คือจุดเริ่มต้นที่เขาและทีมให้ความสำคัญกับ Soft Power ซึ่งโมเดลแรกก็คือ ‘กางเกงไหบ้านเชียง’ รุ่นคลาสลิก

 

โมเดลแรก Soft Power

ทุกคนน่าจะรู้อยู่บ้างว่า ‘ไหบ้านเชียง’ ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก ลำดับที่ 359 จาก UNESCO ซึ่งเหตุผลที่ พงศ์ และหอการค้าเลือกที่จะเป็นไหบ้านเชียงและตัวกางเกงเพราะว่า ‘แฟชั่น’ น่าจะเข้าถึงง่ายกว่า และเป็นไวรัลได้

“เราตั้งใจที่จะทำเรื่องของแฟชั่นขึ้นมาก่อนครับ เพราะว่าเวลาเราใส่มันอาจจะเป็นไวรัลได้เร็วครับ ทำให้คนรู้จักจังหวัดเราได้เร็วขึ้น ส่วนไหบ้านเชียงเป็นความภาคภูมิใจของชาวอุดรธานีอันดับแรกเลย เพราะเป็นมรดกโลกเลยนะครับ คำว่ามรดกโลกสำหรับผมมันยิ่งใหญ่มาก ๆ ตอนนี้ก็น่าจะมีอายุ 5,300, 5,600 กว่าปีแล้วมั้งครับ”

“แล้วถ้าเกิดว่ากางเกงเรามีชื่อเสียงขึ้น ต่อไปเครื่องปั้นดินเผาไหบ้านเชียงก็จะพลอยขายได้เร็วด้วย”

กัณฑ์พงศ์ สุระวรรณวิจิตร : คนเชื่อมโยงแนวคิด 20 อำเภอ 20 Soft Power โชว์ของดี จ.อุดรธานี

พงศ์ ใช้ประสบการณ์ชีวิตจากที่เรียนต่างประเทศมาปรับเปลี่ยนกับการพัฒนาบ้านเกิดตัวเอง เขาวางให้กางเกงไหบ้านเชียงสีอิฐซึ่งเป็นสีเดียวกับไหบ้านเชียงจริง ๆ เป็นรุ่นคลาสลิกที่จะวางขายตลอด แล้วก็จะมีเสื้อที่ใส่คู่กันได้ แต่เขามองว่า ของฝาก ของที่ระลึก ไม่จำเป็นต้องมีแบบใดแบบหนึ่ง

ดังนั้น หลังจากนี้เราก็น่าจะได้เห็นกางเกงไหบ้านเชียงสีอื่นเพิ่มเติม ซึ่ง พงศ์ มองว่า เขาสามารถปั้นโมเดลนี้ให้เหมือนเป็น fast fashion ได้ในอนาคต

ส่วนคนที่รับผิดชอบเรื่องการดีไซน์กางเกงไหบ้านเชียง ก็คือ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดที่ดูแลเกี่ยวกับผ้าไทยอยู่แล้ว โดยไปดีไซน์ร่วมกับทางวัฒนธรรมจ.อุดรธานี ส่วน พงศ์ เป็นคนดูแลเรื่องการโปรโมต การตลาด และการขายเกี่ยวกับ Soft Power นี้

“เราต้องการให้เศรษฐกิจดี เพราะเอาจริง ๆ ถ้าจังหวัดเรามีเศรษฐกิจดี แล้วก็มีความเคลื่อนไหวที่มีสีสันอยู่ในเมือง ธุรกิจของแต่ละคนก็ดีตามไปด้วย เราเชื่ออย่างนั้นครับ”

 

20 อำเภอ 20 Soft power

ด้วยความที่ อุดรธานีไม่ได้มีแค่ วังนาคินทร์ แต่มีอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกมาก เช่น ผ้าย้อมคราม, ผ้าไทย หรืออย่าง ไหบ้านเชียง ที่พงศ์ และหอการค้าจังหวัดพยายามผลักดันมาตลอด ซึ่งคำตอบของพงศ์ น่าสนใจมาก เพราะนับจากนี้อุดรธานี จะมีมากกว่า 1 Soft Power ให้เราเห็น

“ผมตั้งใจทำเป็น 20 อำเภอในอุดรธานี แล้วก็ 20 Soft Power ต่อไป ผมกับท่านผู้ว่าราชการจ.อุดรธานี 'วันชัย คงเกษม' และ นงรัตน์ คงเกษม ซึ่งเป็นนายกเหล่ากาชาดจ.อุดรธานี ผู้ใหญ่ที่เคารพและให้โอกาสเราเตรียมที่จะโปรโมตทุกอำเภอเรื่องเด่น ๆ ให้นักท่องเที่ยวได้รู้จักอุดรธานีมากกว่าที่รู้ตอนนี้”

“อย่างเช่น เรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างอำเภอพิบูลย์รักษ์ ที่เรามีหลวงพ่อพิบูลย์, ผ้าย้อมครามพิบูลย์รักษ์, อำเภอกุมภวาปีที่เรามีทะเลบัวแดงที่เป็นจุดขาย แล้วก็มีข้าวหลามด้วยแต่หลายคนยังไม่รู้, หรือแม้แต่ อำเภอบ้านผือที่เราก็มีภูพระบาท และข้าวงาโค ขนมของชาวไทยพวนที่มีชื่อเสียงมาก และมีแค่ที่เดียวในประเทศไทย”

“หรือ อำเภอบ้านดุง ที่คนส่วนใหญ่จะรู้จักเพียง ป่าคำชะโนด ที่จริง ๆ แล้วเรามีสปาบ้านดุง แล้วก็เกลือบ้านดุงที่มีชื่อเสียง”

กัณฑ์พงศ์ สุระวรรณวิจิตร : คนเชื่อมโยงแนวคิด 20 อำเภอ 20 Soft Power โชว์ของดี จ.อุดรธานี

"ผมมองในเรื่องของการต่อยอดครับว่าสิ่งที่มีอยู่แล้วที่คำชะโนด จะทำยังไงให้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจการซื้อการขายการจับจ่ายในภาพรวมทั้งอำเภอได้ ซึ่งที่นี่รีสอร์ตก็เยอะมาก ๆ คนอาจจะยังไม่รู้เพราะส่วนใหญ่ไปเช้าเย็นกลับ"

เมื่อเราถามว่า ณ ตอนนี้ พงศ์ ได้นำร่องทำอะไรไปแล้วบ้าง เพราะเป้าหมายของเขาใหญ่มาก ๆ พงศ์บอกว่า นอกจากที่ปล่อยโมเดลกางเกงไหบ้านเชียงแล้ว ก็จะมีมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ของดีอำเภอหนองวัวซอ ที่พยายามแปรรูปให้น่าสนใจ รวมไปถึงการจัดงานเทศกาล Udonthani Namdokmai Destination ในธีมทุกอย่างที่ทำมาจากมะม่วงน้ำดอกไม้ เช่น ไวน์มะม่วงน้ำดอกไม้

กัณฑ์พงศ์ สุระวรรณวิจิตร : คนเชื่อมโยงแนวคิด 20 อำเภอ 20 Soft Power โชว์ของดี จ.อุดรธานี

เราจะเห็นว่าที่ผ่านมา หลายจังหวัดที่มีการทำกางเกง Soft Power แต่สำหรับอุดรธานี ที่พยายามมีมากกว่ากางเกง เรามองว่าน่าสนใจ แม้ว่า พงศ์ จะกังวลอยู่บ้างว่า Soft Power มากเกินไปอาจทำให้คนอื่นสับสน อย่างไรก็ตาม เขามองว่า การสื่อสารว่าเราจะทำอะไร มีอะไร อาจจะช่วยเรื่องนี้ได้

พงศ์ ได้พูดถึงไอเดีย 5F ด้วย ซึ่งจะอยู่ในธีมของ 20 อำเภอ 20 Soft Power ทุกอย่างจะเกี่ยวโยงกันทั้งหมด โดย 5F ที่พูดถึงก็คือ Food - Fashion - Festival - Fighting - Film ยิ่งเราฟังแบบนั้นก็ยิ่งตื่นเต้นเข้าไปใหญ่ เพราะไอเดียนี้หลายจังหวัดที่ทำกันอยู่แล้วน่าจะเกิดไอเดียใหม่ ๆ ขึ้นได้

สร้างรากฐานให้แข็งแรงทั้งจังหวัด ก่อนจะสเกลอัพเป็นระดับประเทศ และ Soft Power ของเมืองไทยจะยิ่งแข็งแรง 

“สิ่งหนึ่งที่ผมคาดหวังที่สุดก็คือ ให้ชาวบ้านรากหญ้ามีรายได้ ผมคาดหวังมาก ๆ เลยเรื่องนี้ เพราะเอาจริง ๆ เหมือนที่ผมทำตลอดก็คือการส่งเสริมตั้งแต่รากหญ้า ให้เขามีรายได้ ให้เขามีความภาคภูมิใจว่าในสิ่งที่เขาทำอยู่ เขาไม่ตาย”