ปลุกไฟ สร้างความฟิต ชวนนักโฆษณาวัยเก๋ามาคิดไอเดียเพื่อผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงวัย

ปลุกไฟ สร้างความฟิต ชวนนักโฆษณาวัยเก๋ามาคิดไอเดียเพื่อผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงวัย

มาทำร่างกายให้แอคทีฟ แล้วออกไปใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย กับแคมเปญโฆษณา The Oldie Ads จาก AminoMOF

‘เพราะชีวิตไม่ได้จบที่ลมหายใจ แต่จบเมื่อคุณหยุดใช้ชีวิต มาใช้ชีวิตให้มีชีวิตกัน’ 

โปรเจคพิเศษในครั้งนี้ The Oldie Ads ชวนนักโฆษณาวัยเก๋ามาฝากฝีไม้ลายมือในการทำโฆษณาของแคมเปญของ AminoMOF ผลิตภัณฑ์สุขภาพสำหรับผู้สูงวัยโดยผ่านมุมมองของผู้สูงวัยเอง น่าติดตามว่าทั้งสามคนที่มาร่วมโปรเจคนี้ไล่เรียงลำดับตามความอาวุโส ประกอบด้วย ลุงมานิตย์ - มานิตย์ วรฉัตร 77 ปี (นักพากย์หนังขายยา), ลุงเขียว - เจียร แสงแก้ว 59 ปี (นักวาดป้ายคัทเอาท์หนัง) และ ลุงเอ๋ย - วินัย สัตตะรุจาวงษ์ 57 ปี (ผู้กำกับโฆษณา) จะถ่ายทอดเรื่องราวออกมาในแบบฉบับของตัวเองไว้อย่างไร ชวนผู้อ่านมาทำความรู้จักกับลุงๆ ที่ยังคงทำในสิ่งที่รัก โดยไม่ว่าเวลาจะผ่านไปกี่ปี คุณค่าและความหมายของชีวิตไม่เคยหยุดลง 

ลุงมานิตย์ - มานิตย์ วรฉัตร 77 ปี (นักพากย์)

ปลุกไฟ สร้างความฟิต ชวนนักโฆษณาวัยเก๋ามาคิดไอเดียเพื่อผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงวัย
ฝึกฝนด้วยตัวเองสู่วิชาชีพ ‘นักพากย์ภาพยนตร์’
ด้วยความที่เด็กชายมานิตย์เป็นหลานเจ้าของโรงหนัง ความใกล้ชิดทำให้เขาซึมซับไปกับบรรยากาศจนก่อเกิดความหลงใหล เขาหาเวลาฝึกฝนการพากย์ภาพยนตร์หลังกลับจากเรียนหนังสือ โดยช่วงเวลาสำคัญที่จุดประกายในอาชีพนี้เกิดขึ้นที่โรงภาพยนตร์เฉลิมจิตร จังหวัดยโสธร 

เด็กชายมานิตย์ในวันนั้นได้มาชมการพากย์ของอาจารย์พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา (ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง) นักพากย์ระดับครูในสมัยนั้น แล้วอาศัยครูพักลักจำเทคนิกต่างๆ จนเมื่อโอกาสแจ้งเกิดมาหล่นที่มือ ในวันที่อาจารย์ พงษ์ศักดิ์เกิดป่วยกระทันหัน ทำให้ลุงมานิตย์ได้แสดงความสามารถ แล้วก้าวแรกของอาชีพก็ได้เริ่มต้นขึ้นนับแต่วันนั้นจนถึงปัจจุบัน 
 

จากนักพากย์หน้าใหม่กลายเป็นนักพากย์ประจำวิก
เมื่อประมาณปีพ.ศ. 2506-2507 ถือเป็นปีที่ ลุงมานิตย์ ได้กลายเป็นนักพากย์ประจำโรงภาพยนตร์ของจังหวัดขอนแก่นอย่างเป็นทางการ โดยเขากล่าวว่าความนิยมของนักพากย์ในยุคนั้น เรียกผู้ชมเข้ามาดูภาพยนตร์ได้มากกว่าดารานักแสดงเสียอีก ชื่อเสียงของลุงมานิตย์จึงเป็นที่โด่งดังในสายหนังภูมิภาคอีสานนับจากนั้นมา จนได้รับการทาบทามจากบริษัทโอสถสภา (ในชื่อเดิม เต๊ก เฮง หยู) จำกัด ให้มาเป็นนักพากย์ประจำบริษัทตั้งแต่ในปีพ.ศ. 2515-2530 รวมแล้วเป็นเวลากว่า 15 ปี 

ซึ่งความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของลุงมานิตย์ไม่หยุดอยู่แค่นั้น ในระหว่างที่เขาได้รับหน้าที่เป็นนักพากย์เต็มตัว นอกจากการพากย์เสียงให้กับตัวละครในภาพยนตร์อีกหนึ่งหน้าที่สำคัญในยุคนั้นคือการรับบทบาทเป็นนักประชาสัมพันธ์ให้กับบริษัทยาที่สังกัดไปด้วยระหว่างฉายภาพยนตร์ 

จึงทำให้เขาสนใจในการแพทย์แผนไทยและลงเรียนอย่างจริงจังควบคู่กับงานพากย์จนเรียนจบการศึกษาในฐานะ ‘แพทย์แผนไทย’ นำไปสู่โอกาสถวายงานรับใช้เป็นวิทยากรให้กับโครงการในพระราชดำริสวนป่าสมุนไพรของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในเวลาต่อมา

 

ยุครุ่งเรืองสูงสุดของอาชีพนักพากย์หนังกลางแปลง

ปลุกไฟ สร้างความฟิต ชวนนักโฆษณาวัยเก๋ามาคิดไอเดียเพื่อผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงวัย


“นักพากย์เป็นอาชีพที่สมัยก่อนคนนิยมชื่นชอบมากกว่าดารา ชื่อของนักพากย์คนไหนขึ้นบนป้ายผ้าโฆษณา แฟนๆ ที่ติดตามก็จะมารอดูภาพยนตร์กันแล้ว”

แต่ละสายหนังตามภูมิภาคต่างๆ จะมีนักพากย์ประจำที่มีชื่อเสียง อย่างเช่น คนที่โด่งดังในสายใต้ก็จะเป็น ‘ชัยเจริญ’ ส่วนในสายอีสานชื่อของ ‘โกญจนาท’ เป็นแมกเนตดึงดูดคนดู สำหรับนักพากย์หนังขายยากับนักพากย์ประจำโรงภาพยนตร์ลุงมานิตย์กล่าวว่าทั้งสองรูปแบบจะมีเสน่ห์ที่แตกต่างกัน 

“นักพากย์ประจำโรงหนังจะนั่งอยู่ในห้องส่วนตัว คนดูจะจดจำเสียงพากย์ได้ แต่ไม่เห็นหน้าตาของคนให้เสียง ในทางกลับกันการพากย์หนังกลางแปลงคนเยอะเพราะเปิดให้ดูหนังฟรี เสน่ห์อยู่ที่นักพากย์จะไปนั่งพากย์ตรงไหนก็ได้จะพากย์บนหัวรถก็ได้ คนจะมาล้อมวงดูลีลานักพากย์สลับกับการดูภาพยนตร์”

 

พิพิธภัณฑ์หนังกลางแปลงแห่งแรกและแห่งเดียวของไทย
อำเภองาว อำเภอเล็กๆ ในจังหวัดลำปาง เป็นที่ตั้งของ พิพิธภัณฑ์หนังกลางแปลง โลเคชั่นสวยงามท่ามกลางธรรมชาติและขุนเขาที่โอบล้อม พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2530 หลังจากที่ลุงมานิตย์เกษียณจากอาชีพนักพากย์ประจำภายใต้ บริษัทโอสถสภา (ในชื่อเดิม เต๊ก เฮง หยู) จำกัด ประจวบกับการเดินทางเข้าสู่ยุคขาลงของการฉายภาพยนตร์กลางแปลงซึ่งถูกแทนที่ด้วยสื่อใหม่อย่างเช่น โทรทัศน์ แต่ด้วยความรักที่มีต่อการพากย์และสมุนไพรไทย ทั้งสองสิ่งนี้จึงโคจรมาบรรจบกันในที่แห่งนี้นั่นเอง 

ปลุกไฟ สร้างความฟิต ชวนนักโฆษณาวัยเก๋ามาคิดไอเดียเพื่อผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงวัย

“จากความคิดที่อยากทำประโยชน์เพื่อชุมชนและดึงดูดให้มีผู้คนที่สนใจเข้ามาเยี่ยมชม ผมก็เลยใช้วิธีสร้างจุดขายสองอย่างคือหนึ่งการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์หนังกลางแปลงมีนิทรรศการและการฉายหนังเพื่อเป็นจุดสนใจ สองการให้ความรู้เรื่องสมุนไพรไปด้วย ทุกอย่างนี้เปิดให้คนทั่วไปเข้าชมฟรี”

ลุงมานิตย์ หล่อเลี้ยงพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ด้วยรายได้จากค่าจ้างที่รับพากย์ภาพยนตร์และการเปิดให้หน่วยงานต่างๆ เข้ามาเรียนรู้ จึงทำให้สามารถเปิด พิพิธภัณฑ์หนังกลางแปลง แห่งนี้มาจนถึงปัจจุบันเข้าสู่ปีที่ 37 เฉลี่ยแล้วมีผู้เข้าชมทั่วประเทศเดือนทางมาเยี่ยมเยือนไม่ต่ำกว่าเดือนละหลายหมื่นคนเลยทีเดียว

 

เรียนรู้และถ่ายทอดตลอดชีวิต
ถ้าเป็นสมุนไพรก็ต้องเรียกว่าสรรพคุณทางยาของลุงมานิตย์มีแบบครอบจักรวาล เพราะนอกจากทั้งสองตำแหน่งที่กล่าวไปข้างต้น เขายังพ่วงบทบาทหน้าที่อาจารย์สอนพากย์หนังและรองประธานสมาคมนักพากย์แห่งประเทศไทย เรื่อยมาจนขออำลาแหน่งด้วยตัวเองในวัย 77 ปี 

จากน้ำเสียงถึงแม้จะฟังก็รู้แล้วว่าไม่ใช่คนในเจเนอเรชั่นใกล้ๆ กันกับผู้เขียน (Gen Y) แต่ก็มีเนื้อเสียงที่ชัดถ้อยชัดคำ หนักแน่น แรงดีไม่มีตกเลยจริงๆ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความรู้ด้านสมุนไพรที่ช่วยทำให้ลุงมานิตย์มีองค์ความรู้ในการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของตัวเอง  

“ผมโชคดีไม่มีโรคภัยเบียดเบียน ด้วยความที่เราเรียนรู้เรื่องสมุนไพร ผมก็เอาสมุนไพรนี้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ทุกคนจนมีลูกศิษย์อยู่ทั่วประเทศ”

‘อายุเป็นเพียงตัวเอง’ เป็นคำที่เหมาะกับลุงมานิตย์จริงๆ เพราะในวัยนี้เขาก็ยังมีความสนใจใคร่รู้และไม่หยุดพัฒนาตัวเอง โดยเร็วๆ นี้เขากำลังคว้าปริญญาใบที่สี่ในชีวิตในสาขา รัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแขวนเพิ่มอีกหนึ่งใบ 

 

เสน่ห์เฉพาะตัวที่สร้างคาแรคเตอร์ให้แฟนๆ ติดตาม
ถ้าใครได้ชมภาพยนตร์เรื่อง ‘มนต์รักนักพากย์’ จะได้เห็นทิวทัศน์ที่สวยงามกลางป่า กลางดง นั่นเป็นหนึ่งในเสน่ห์ของอาชีพนักพากย์กลางแปลงในสมัยนั้นที่ได้ออกเดินทางไปตามที่ต่างๆ ออฟฟิศไม่ได้จำกัดอยู่ในห้องสี่เหลี่ยม ความอิสระนี่เองที่เป็นสิ่งที่ทำให้ลุงมานิตย์ ยึดอาชีพนี่มาจนปัจจุบัน 

ปลุกไฟ สร้างความฟิต ชวนนักโฆษณาวัยเก๋ามาคิดไอเดียเพื่อผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงวัย

“มันยากนะครับที่พากย์แล้วจะมีคนจ่ายเงินให้ แล้วยิ่งทำให้คนทั่วไปชื่นชอบยิ่งหายาก ผมมีเทคนิคที่ทำให้คนอยากมาดูการพากย์ของผมเพื่อสร้างฐานของตัวเอง”

หนึ่งในเอกลักษณ์ของคุณลุงมานิตย์คือการพากย์สด ซึ่งตลอดชีวิตการทำงานในหน้าที่นี้เขาไม่เคยอัดเสียงพากย์ของตัวเองลงเทปเลย เมื่อไหร่ก็ตามที่ขึ้นชื่อ มานิตย์ วรฉัตร เป็นนักพากย์ภาพยนตร์เรื่องที่ฉายคืนนี้รับประกันความจุเต็มพื้นที่ 

 

นักพากย์ 5 เสียง หมัดเด็ดเรียกผู้ชมแห่งสายหนังภาคอีสาน 
ฉายานักพากย์ 5 เสียงมาจาก อุ๋ย - นนทรี นิมิตรบุตร หลังจากแวะเวียนมาเยี่ยมที่ ‘พิพิธภัณฑ์หนังกลางแปลง’ อยู่บ่อยครั้งและชื่นชมความสามารถของของลุงมานิตย์ จนขอขนานนามนี้ให้แกเขา

“ปกติแล้วผมจะพากย์ตัวละครทั้งหมดที่มีในภาพยนตร์ ไม่ว่าเป็น เป็ด ไก่ หมู หมา ก็พากย์ด้วยเช่นกัน ซึ่งจริงๆ ก็มากกว่า 5 เสียง”

แรงบันดาลใจจากชีวิตของลุงมานิตย์จึงเป็นที่มาของคาแรคเตอร์ ‘หัวหน้ามานิตย์’ ในภาพยนตร์เรื่อง ‘มนต์รักนักพากย์’ ซึ่งนำแสดงโดย เวียร์ - ศุกลวัฒน์ นักแสดงที่เขาก็เป็นคนเสนอชื่อให้มาเล่นในคาแรคเตอร์นี้ด้วยเช่นกัน 

 

‘นักพากย์’ สู่ ‘นักแสดง’ ครั้งแรกในภาพยนตร์โฆษณาของ AminoMOF
ลุงมานิตย์ออกปากชมบรรยากาศการถ่ายทำภาพยนตร์โฆษณา The Oldie Ads ของ AminoMOF กล่าวถึงความประทับใจที่มีกับทีมงานรุ่นใหม่ให้ความเป็นกันเองและการทำงานที่ราบรื่นสนุกสนาน 

“ตอนแรกทีมงานส่งบทละครวิทยุมาให้ผมคิดบทพากย์ (ไดอะล็อค) พอมารู้ตัวอีกทีผมต้องแสดงเป็นตัวละครหลายคาแรคเตอร์ด้วย นี่เป็นสิ่งใหม่ที่ผมได้ทดลองเมื่อทำแล้วรู้สึกสนุก ทำให้ผมจากอายุ 77 ปี ลดเหลือ 30 ปีเลยครับ ตอนนี้ก็ยังคิดถึงทีมงานในกองถ่ายวันนั้นทุกคนและรอชมผลงานของตัวเองเผยแพร่”

 

เบื้องหลังการโปรโมตแบบโฆษณา AminoMOF
ด้วยไอเดียตั้งต้นที่ก่อตั้ง ‘พิพิธภัณฑ์หนังกลางแปลง’ คือต้องการให้คนมาดูภาพยนตร์และได้ฟังการพากย์สดไปด้วย แต่ไฮไลท์สำคัญจริงๆ คือการสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและการดูแลสุขภาพ ซึ่งตรงกับคอนเซปต์ของการนำเสนอแบบ AminoMOF ที่ให้นักโฆษณารุ่นเก๋ามาออกแบบการโปรโมตสินค้าเพื่อคนในวัยเดียวกัน

ปลุกไฟ สร้างความฟิต ชวนนักโฆษณาวัยเก๋ามาคิดไอเดียเพื่อผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงวัย

“ไอเดียการของบริษัทนี้ดีครับ ไม่ได้ขายสินค้าแบบสื่อสารตรงๆ เจาะจงไปที่การขาย เป็นการยิงอ้อมๆ เฉียดใจแต่เจ็บครับ ได้ผลแบบธรรมชาติและแหวกวิธีการส่วนใหญ่ของตลาด คิดว่าคนจะดูเยอะแน่ๆ ครับ”

จากปากคุณปู่ด้านแพทย์แผนไทยที่เชี่ยวชาญในการประชาสัมพันธ์ขายยามาตลอดทั้งชีวิตแบบลุงมานิตย์ เราก็เชื่อมั่นได้ว่าสินค้าชิ้นนี้ที่เขาได้มีส่วนร่วมต้องเป็นประโยชน์กับผู้บริโภค กลยุทธ์การขายโดยที่ใส่ไอเดียทำให้น่าติดตามเป็นสิ่งที่ทำให้เขาชื่นชมและทึ่งกับวิธีคิดของทีมงานคนรุ่นใหม่

“ฝากความคิดถึงและคำชมเชยให้กับทีมงานกองถ่ายนี้ด้วยครับ ผมดีใจและขอส่งกำลังใจให้คนรุ่นใหม่”

 

สุขภาพต้องมาก่อน
“อยากบอกผู้สูงอายุทุกคนมีบางคนที่ท้อถอย ท้อแท้ ทุกอย่างมันอยู่ที่ตัวเองเอง เราควรสร้างกำลังใจหรือมองหาสิ่งที่จะมาดูแลตัวเอง เพราะหมอที่ดีที่สุดไม่ใช่หมอในโรงพยาบาลแต่คือตัวเราที่รู้จักร่างกายตัวเอง หาสิ่งที่ทำให้มีความสุขให้เจอ การเรียนรู้จึงเกิดได้ตลอดชีวิต”

คุณค่าในตัวเองไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุ การหาแรงกระตุ้นให้ผู้สูงวัยได้มีโอกาสให้ตัวเองได้ทดลองทำอยู่เสมอก็อาจช่วยให้พวกเขาค้นพบความสามารถใหม่ๆ ที่ซ่อนอยู่ ทำให้ร่างกายและหัวใจยังแอคทีฟ

“สิ่งที่ทำให้ผมมีความสุขคือการได้ให้ความรู้เรื่องสมุนไพรแก่ผู้สูงวัย นำไปถ่ายทอดต่อให้คนรุ่นใหม่ เมื่อได้เรียนรู้คุณค่าของสมุนไพร เมื่อใช้แล้วก็จะมีกำลังใจทำให้การถ่ายทอดเรื่องสมุนไพรจะไม่มีที่สิ้นสุด การได้ให้ความรู้เรื่องสุขภาพเป็นสิ่งที่ผมภาคภูมิใจ แม้จะมีเงินกี่พันล้านแต่ถ้าสุขภาพไม่ดีก็จบ”

 

ลุงเขียว - เจียร แสงแก้ว 59 ปี (นักวาดป้ายคัทเอาท์หนัง) 

ปลุกไฟ สร้างความฟิต ชวนนักโฆษณาวัยเก๋ามาคิดไอเดียเพื่อผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงวัย

 

จากสงขลาสู่สุไหงโกลกสู่ก้าวแรกของอาชีพปัจจุบัน 
เด็กชายเจียร ในตอนที่เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (อายุ 13 ปี) ได้ออกเดินทางไปกับการเรียนรู้ศิลปะการวาดภาพบนป้ายคัทเอาท์ภาพยนตร์จากคุณอาแท้ๆ ของเขาที่พาเข้าวงการวาดรูปตั้งแต่ยังเด็ก จากบ้านมาไกลและเริ่มต้นใช้ชีวิตกินนอนอยู่ใกล้ๆ กับโรงภาพยนตร์ในสมัยนั้น  

“ผมย้ายมาอยู่กับอาที่เปิดร้านขายข้าวแกง ช่วยล้างเช็ดจานทำงานในร้านไปด้วยและได้เห็นอาทำงานวาดรูปเขาก็ค่อยๆ สอนผมเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่น ล้างพู่กัน ผสมสี ยกป้าย เป็นผู้ช่วยฝึกหัดกับอาอยู่ 4-5 ปีกว่าจะได้ลงมือทำจริงๆ”

หลังจากที่ ลุงเขียว ได้มีโอกาสโชว์ฝีมือให้คุณอาเห็นก็เริ่มมั่นใจว่าเขาน่าจะมีแววรุ่ง จึงเริ่มขยับขยายจากที่เคยวาดบนแผ่นเล็กๆ ค่อยๆ ขยายสู่ผืนผ้าที่ใหญ่ขึ้น โดยมีอาของเขาคอยนั่งดูและชี้แนะอย่างใกล้ชิด

“คุณอามานั่งคุมข้างๆ เห็นว่าผมก็วาดได้ดีเหมือนกันนะ พอผมได้เขียนภาพมันก็เกิดความสนุก เขียนเพลินจนเขียนลืมเวลา ถ้าตรงไหนทำไม่ถูกอาผมก็จะมาช่วยสอนให้ ฝึกฝนต่อเนื่องอีกหลายปีจนเก่งขึ้นเรื่อยๆ จนได้ขึ้นมาวาดป้ายแทนอาของผมเอง”

ถึงฝีไม้ลายมือจะไปได้ดีแต่เส้นทางอาชีพก็ยังไม่นิ่ง ด้วยความที่เป็นวัยรุ่นทำให้อยากรู้อยากเห็นและทดลองใช้ชีวิตแบบอื่นบ้าง แต่สุดท้ายก็ไม่พ้นเสียงเรียกให้กลับมายึดอาชีพ นักวาดป้ายคัทเอาท์หนัง จนถึงปัจจุบัน เรียกได้ว่าถ้าถามถึงช่างเขียนคัทเอาท์หนังในสามจังหวัดชายแดนใต้ไม่ว่าจะจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา ต้องมีชื่อของ เขียว - เจียร แสงแก้ว คนนี้อยู่ในใจคอภาพยนตร์ในแถบนั้น  

 

ช่างเขียวแห่งโรงหนังโคลี่เซี่ยมยะลา
เมื่อพี่เขียวได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์และแสดงฝีมือจนเตะตา จึงได้รับการทาบทามจากเถ้าแก่ของโรงหนังโคลี่เซี่ยมยะลาที่มองหาช่างเขียนคัทเอาท์ฝีมือดี ผู้จัดการของโรงหนังแห่งนี้จึงจีบให้เขาย้ายมาปักหลักอีกครั้งยาวๆ ที่จังหวัดยะลา 

ปลุกไฟ สร้างความฟิต ชวนนักโฆษณาวัยเก๋ามาคิดไอเดียเพื่อผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงวัย

“ยิ่งผมได้เขียนรูป ยิ่งเกิดความรัก เพราะว่าการวาดคัทเอาท์หนังมันเป็นอาชีพของผม”

ถ้าจำกันได้สองสามปีที่ผ่านมาป้ายคัทเอาท์และรถแห่ของโรงหนังโคลี่เซี่ยมยะลา ได้กลายเป็นไวรัลในโซเชียลมีเดีย ทำให้คนไทยได้หันมาให้ความสนใจและตามหาตัวเจ้าของฝีแปรงเบื้องหลัง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือผลงานของพี่เขียวคนนี้ที่ทำให้ภาพเขียนนักแสดงดูมีชีวิต

โดยภาพยนตร์เรื่อง 'ขุนพันธ์ 3' ก็เป็นหนึ่งในผลงานของ ลุงเขียว ทางเฟซบุ๊กของค่ายสหมงคงฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล ได้แสดงความชื่นชมกับวิธีการโปรโมตของโรงหนังโคลี่เซี่ยมยะลาที่สร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวเป็นเสน่ห์น่าจดจำให้กับทั้งตัวเมืองและภาพยนตร์

 

ศิลปินป้ายคัทเอาท์ ศิลปะรุ่นสุดท้ายของเมืองยะลาและไทย
40 กว่าปีที่พี่เขียวได้ยึดอาชีพนักวาดป้ายคัทเอาท์ภาพยนตร์เลี้ยงชีพตัวเองและครอบครัว ผ่านช่วงเวลารุ่งโรจน์ของวงการและเริ่มเห็นกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงที่คืบคลานเข้ามาใกล้มากขึ้นเรื่อยๆ ก็เป็นที่น่าใจหายถ้าวันหนึ่งศาสตร์การวาดคัทเอาท์ที่เขาได้รับช่วงต่อมาจะสูญหายไปกับกาลเวลา เหลือไว้เพียงภาพถ่ายที่บอกเล่าให้คนรุ่นต่อไปฟังแทนได้ดูตาของตัวเอง 

“เรายังมีใจรักและอยากทำอาชีพที่เราชอบอยู่ แต่ที่ยะลาก็มีศูนย์กลางค้าใหม่ๆ ที่ครบวงจรมาเปิดพร้อมโรงภาพยนตร์มากขึ้น ก็อาจทำให้คนหันไปดูหนังที่ที่ใหม่กว่าแทน”

จากคนที่เคยแน่น โรงหนังโคลี่เซี่ยมยะลา ทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ก็เริ่มบางตาลง โอกาสที่อาชีพของเขาจะถูกบอกเลิกอาจมาถึงไม่ช้าก็เร็วนี้ ยิ่งอุตสาหกรรมภาพยนตร์ซบเซา ไม่มีภาพยนตร์ที่สามารถดึงดูดให้คนเข้าไปดูในโรงหนังได้ต่อเนื่องก็ยิ่งส่งผลกระทบมาถึงอาชีพของเขาเช่นกัน 


วิชาชีพที่ติดตัวไปตลอดชีวิต
ถึงแม้ในอนาคตอาชีพนักวาดป้ายคัทเอาท์ภาพยนตร์อาจสิ้นสุดที่รุ่นพี่เขียวนี้ แต่เขาก็ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์และสามารถเปิดร้านรับวาดภาพออกแบบตัวอักษรของตัวเอง ซึ่งก็เป็นวิชาที่ได้รับมาจากการฝึกฝนกับการวาดภาพโปรโมตภาพยนตร์มาเป็นเวลาต่อเนื่องกว่า 40 ปีนั่นเอง 

ปลุกไฟ สร้างความฟิต ชวนนักโฆษณาวัยเก๋ามาคิดไอเดียเพื่อผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงวัย

“พอมีคนถ่ายรูปผลงานไปเผยแพร่ก็ทำให้คนจากต่างถิ่นรู้จักผมเยอะขึ้น ตามหาตัวช่างเขียนภาพ ติดต่อเข้ามาจ้างงานวาดรูป ก็ทำให้ผมมีรายได้จากตรงนั้นเช่นกัน”

ด้วยบรรยากาศและพฤติกรรมคนเปลี่ยนแปลงไป ความนิยมที่ลดลง อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยก็วูบวาบมีขึ้นมีลงแบบนี้ ทำให้พี่เขียวบ่นน้อยใจและท้อใจบ้าง แต่ด้วยความรักในอาชีพนี้ยังทำให้เขายังไม่ยอมทิ้งไปง่ายๆ 

“ถ้าถามผมก็ยังรู้สึกสนุกอยู่นะ ผมรักอาชีพนี้แบบฝังใจเลย เพราะทำให้มีวิชาติดตัว”

 

ยุคเฟื่องฟูของอุตสาหกรรมภาพยนตร์และภาพคัทเอาท์วาดมือ
เชื่อว่าหลายคนที่ได้อ่านบทสัมภาษณ์นี้อยู่อาจไม่เห็นภาพว่าในอดีตความยิ่งใหญ่ของอาชีพช่างเขียนประจำโรงหนังนั้นเป็นอย่างไร คนที่จะบอกเล่าเรื่องนี้ได้จะมีใครอื่นนอกจากพี่เขียว 

“เมื่อก่อนโรงหนังจังหวัดนึงจะมีประมาณ 3 โรงหนัง แล้วแต่ละแห่งก็จะมีช่างเขียนประจำโรงหนังแต่ละคนก็มีฝีมือดีๆ กันทั้งนั้น รถแห่ติดป้ายโฆษณาวิ่งไปในเมืองขับตามๆ หลังกันไปเสียงดังลั่นสนั่นประกาศผ่านไมค์ให้คนมาดูภาพยนตร์ รูปที่วาดโปรโมตก็สวยๆ ทั้งนั้น พี่เองก็มั่นใจฝีมือตัวเองนะว่าสู้เขาได้เพราะวาดมาหลายร้อยหลายพันเรื่อง ยุคนั้นมันสนุกไม่ว่าจะฉายเรื่องอะไรคนก็มาดูกันเต็มโรงทุกเรื่องทุกรอบ พอเห็นคนวาดสวยพี่เองก็อยู่เฉยไม่ได้ มันมีคู่เปรียบเทียบ หน้าโรงหนังสมัยก่อนติดป้ายโฆษณาสูงเท่าตึก 4-5 ชั้น”

แต่ก็น่าเสียดายที่นักวาดป้ายคัทเอาท์ดั้งเดิมกำลังเหลือเป็นเพียงความทรงจำที่เอาไว้บอกเล่าให้ลูกหลานฟังผ่านรูปภาพเท่านั้น เพราะพี่เขียวบอกกับเราว่าเขามองเห็นแนวโน้มอนาคตของอาชีพนี้ที่นอกจากจะยังหาคนสืบทอดต่อจากรุ่นของเขาไม่ได้แล้วนั้น ยังอาจถึงจุดสิ้นสุดของโรงหนังแบบสแตนอโลนของยะลาด้วยเช่นกัน 

ปลุกไฟ สร้างความฟิต ชวนนักโฆษณาวัยเก๋ามาคิดไอเดียเพื่อผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงวัย

ปลุกไฟ สร้างความฟิต ชวนนักโฆษณาวัยเก๋ามาคิดไอเดียเพื่อผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงวัย

“ผมนั่งคิดก็เสียดายเพราะเรายังทําไหวอยู่ คุยกับพี่ที่เป็นช่างเขียนมาด้วยก็นั่งนึกว่าหนังใหญ่ๆ บางเรื่องถ้าเราได้ทำ จะตัดเส้นให้รูปมีมิติออกมาแล้วต้องสวยแน่เลย คนเก่าคนแก่บางคนเขาชอบคัทเอาท์วาดมือ เพราะมีมนต์ขลังและมีเสน่ห์ มีชีวิตชีวามากกว่า”

แม้ว่าอนาคตจะยังไม่แน่นอนแต่พี่เขียวก็ยืนยันกับเราว่าเขายังคงรักในเส้นทางสายนี้ที่สร้างรายได้เลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวมาจนถึงทุกวันนี้ 

“ผมยังรู้สึกกระฉับกระเฉงและชอบกับสิ่งที่ทำอยู่ การได้เขียนรูปวาดภาพเป็นงานที่สนุก พอได้ลงมือทำแล้วไม่รู้สึกเบื่อเลย ยิ่งเขียนก็ยิ่งเพลินได้ใช้ไอเดียพลิกแพลงจากภาพต้นแบบให้เป็นแนวทางของตัวเอง”

 

ภาพเขียนชีวิต ช่างเขียวแห่งยะลาในโฆษณา AminoMOF 
กิจวัตรประจำวันหลังเลิกงานของช่างเขียว กลายเป็นเรื่องราวที่ถ่ายทอดลงป้ายคัทเอาท์ โฆษณา AminoMOF บนบริเวณเดียวกันกับโลเคชันที่เขาใช้วาดภาพยนตร์มาแล้วนับร้อยนับพันเรื่องตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีในเส้นทางสายอาชีพนี้เพื่อเป็นการบันทึกถึงบุคคลที่อยู่เบื้องหลังของศิลปะที่เป็นส่วนหนึ่งของเมืองและหนึ่งในกลไลที่ช่วยผลักดันอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยนั่นเอง 

ปลุกไฟ สร้างความฟิต ชวนนักโฆษณาวัยเก๋ามาคิดไอเดียเพื่อผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงวัย ปลุกไฟ สร้างความฟิต ชวนนักโฆษณาวัยเก๋ามาคิดไอเดียเพื่อผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงวัย

“ในป้ายมีผมที่นั่งวาดรูปอยู่ เวลาเลิกงานก็ไปนั่งตกปลากับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่ขายล็อตเตอรี่ ถีบรถอยู่ในเมืองยะลา รวมถึงลูกหลานของผมที่แวะมาเที่ยวได้ใช้เวลาด้วยกัน” 

“สมมุติถ้าผมไม่ได้มาทำหน้าที่นี้ ตอนนี้ชีวิตก็ไม่รู้ว่าจะเป็นอะไร อาจไปเป็นชาวสวน ชาวไร่หรือรวยไปแล้วก็ได้ อาชีพนี้ทำให้ผมมีวิชาชีพติดตัวทำมาหากินได้จนแก่ กลับไปบ้านคนเข้ามาชื่นชมภาพที่ผมเขียนก็รู้สึกภูมิใจ”


พี่เอ๋ย - วินัย สัตตะรุจาวงษ์ 57 ปี (ผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณา/สารคดี)
ปลุกไฟ สร้างความฟิต ชวนนักโฆษณาวัยเก๋ามาคิดไอเดียเพื่อผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงวัย

 

ผู้สร้างความเชื่อให้ลูกค้าและทีมงานฝ่ายผลิต
ลุงเอ๋ย - วินัย ได้เล่าภาพรวมของหัวใจการทำหน้าที่ผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณาให้เราได้เข้าใจถึงบทบาทและความรับผิดชอบ เพื่อให้เห็นบรรยากาศเบื้องหลังกองถ่ายทำภาพยนตร์โฆษณาในอดีตซึ่งมีความแตกต่างกับปัจจุบัน ด้วยความที่ทำโฆษณาหนึ่งชิ้นในอดีตมีต้นทุนการทำงานต่อครั้งสูง จึงทำให้ผู้กำกับซึ่งต้องอยู่ระหว่างทีมฝ่ายโปรดักชันและลูกค้า การทำงานจึงต้องมีความแม่นยำและใช้จิตวิทยาในการสื่อสาร 

“การทำโฆษณาเป็นการทำงานกับความรู้สึกคนหนึ่งเพื่อให้ผู้ชมตัดสินใจซื้อสินค้าหรือสองคนเกิดความรักความผูกพันในแบรนด์นั้นๆ ดังนี้จึงต้องใช้วิชาในชีวิตหลายๆ แบบประกอบเข้าด้วยกัน”

“หนึ่งในหน้าที่ของผู้กำกับโฆษณาคือการทำให้คนที่รู้จักสินค้าดีที่สุดมาเชื่อในเรื่องที่เราเล่า นี่แหละคือความท้าทายของงานโฆษณา” 

สำหรับคนดูหรือผู้บริโภคก็สำคัญเพราะงานโฆษณาต้องกระชับจึงต้องใช้ความแม่นยำในด้าน creative strategy ในการเล่าเรื่องการ รวมถึงการเคลื่อนไหวของการถ่ายภาพเพื่อให้ตอบโจทย์กับเป้าหมายที่ตั้งไว้ 

“อีกส่วนหนึ่งคือการทำงานกับตัวเอง เพราะผมต้องมั่นใจเพื่อทำให้ทุกคนเชื่อมั่นใจตัวผมและสิ่งพวกเรากำลังทำ ด้วยกระบวนการทำข้อมูลให้ครบถ้วนทั้งในส่วนสินค้าและจิตวิทยาการตลาดเหล่านี้จะช่วยสนับสนุนให้เกิดความเชื่อเดียวกัน”

 

ภาพจำของคาแรคเตอร์ผู้กำกับโฆษณา
อาจเคยได้ยินว่าผู้กำกับมักเป็นคนที่เด็ดขาดและตัดสินทุกเรื่อง ทำให้มีหน้าที่ออกคำสั่งให้กับทุกฝ่าย ด้วยความที่แต่เดิมงานโฆษณาต้องใช้ต้นทุนการผลิตสูง เวลาการทำงานทุกวินาทีจึงเหมือนเป็นการเผาเงินงบประมาณไปตามเข็มนาฬิกาที่เดินไป 

ยิ่งเวลาล่วงเลยกว่าที่กำหนดก็หมายถึงต้นทุนที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้กองถ่ายทำงานโฆษณาจึงมีความกดดันสูงเช่นกัน แต่สำหรับลุงเอ๋ย - วินัย เขาเชื่อมั่นในกระบวนการเตรียมงานและเคารพความเชี่ยวชาญของทีมงานที่มาประกอบกันสร้างผลงานนี้ขึ้นร่วมกัน โดยไม่ต้องแสดงความเกรี้ยวกราดออกมา 

ปลุกไฟ สร้างความฟิต ชวนนักโฆษณาวัยเก๋ามาคิดไอเดียเพื่อผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงวัย

“ผมเป็นผู้กำกับสไตล์ที่อยากทำให้ทีมเข้าใจในสิ่งที่ผมต้องการ ไม่ว่าจะเป็นช่างภาพ สไตล์ลิส หรืออาร์ตไดเรคชัน เป็นต้น เมื่อมองเห็นภาพเดียวกันตังแต่ต้น พวกเขาก็จะพยายามพาสิ่งที่ตอบโจทย์กลับมาทำงานกัน”  

โดยการสร้างความมั่นใจให้กับทีมงานนั้นต้องมาจากบุคคลิกของผู้กำกับเองด้วยเช่นกัน เพื่อทำให้ทีมฝ่ายแต่ละฝ่ายกล้าแสดงความคิดเห็นในมุมมองที่ทีมงานแต่ละคนเชี่ยวชาญด้วยการรับฟังอย่างเป็นมิตร

“ผมในฐานะผู้กำกับจะเป็นคนตัดสินใจเลือก โดยทีมงานที่ทำงานด้วยกันก็จะเชื่อว่าสิ่งที่ผมเลือกนั้นได้ผ่านการกลั่นกรองแล้ว ถึงจะไม่ใช่สิ่งที่เป็นดั่งใจเขา แต่ก็จะไม่มีคำถาม เพราะมันมาจากความเชื่อใจกันและกันที่ไม่จำเป็นต้องใช้อารมณ์”

 

ทุกสิ่งต้องอธิบายได้
แม้โฆษณาจะมีความยาวภาย 30 หรือ 60 วินาที แต่ลุงเอ๋ย - วินัย ย้ำว่าทุกรายละเอียดจะต้องมีคำอธิบายด้วยเหตุผล มีที่มาของการเลือกสิ่งที่นำมาใส่ในเรื่อง

“โฆษณา AminoMOF ที่ผมทำ สามารถอธิบายได้ในเชิงสัญญะที่ซ่อนอยู่ รวมถึงในเชิงการตลาดและพฤติกรรมของผู้สูงอายุด้วยเช่นกัน คุณแม่ที่ยกน้ำมาเสิร์ฟที่โต๊ะและเป็นคนอธิบายความนั่นเพราะปกติแม่เป็นคนซื้อของเข้าบ้าน คุณตาปฏิเสธไม่ดื่มเพราะดื่มอยู่แล้ว ส่วนคุณยายที่เคี้ยวนานเพราะต้องการดูแลสุขภาพ อยากให้กรดอะมิโนดูดซึมในกระเพราะด้วยเช่นกัน” 

ภาพยนตร์โฆษณา AminoMOF ฝีมือ ลุงเอ๋ย-วินัย ที่เราได้ชมกันนี้ ถึงจะมีเส้นเรื่องที่เรียบง่ายแต่ซ่อนรายละเอียดที่ผ่านการบวนการคิดและมีคำอธิบายให้กับทุกอย่างในเรื่อง

 

ตีโจทย์ด้วยการใช้ Insight ของตัวเองเล่าเรื่อง
การดื่มอาหาร (drink food) เป็นเทรนด์การดูแลสุขภาพโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ส่งเสริมให้คนเคี้ยวอาหารให้ละเอียด เพื่อให้เวลาน้ำลายได้ทำงานโดยประโยชน์ของกระบวนการนี้จะส่งผลต่อกระเพาะและลำไส้ของมนุษย์ ช่วยดึงกรดอะมิโนจากเนื้อสัตว์ออกมาได้ดีขึ้น การเคี้ยวเนื้อเหนียวๆ นานขึ้นก็เป็นการทำให้ฟันบดอาหารช่วยให้ย่อยง่ายนั่นเอง 

ไอเดียนี้มาจาก Insight ส่วนตัวของลุงเอ๋ย - วินัยเอง โดยนำเสนอทางเลือกที่แตกต่างจากบรีฟตั้งต้นที่ไปในทาง Superhero ด้วยวัยที่ใกล้เคียงกับกลุ่มเป้าหมายของสินค้า จึงทำให้เข้าถึงความรู้สึกของผู้สูงอายุที่ประสบกับ pain point แบบนี้อยู่ออกมาเป็นเส้นเรื่องหลักแทน

ปลุกไฟ สร้างความฟิต ชวนนักโฆษณาวัยเก๋ามาคิดไอเดียเพื่อผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงวัย

“หนังที่ผมชอบทำคือหนังที่มี Insight ส่วนตัว ดูแล้วรู้คุณค่า รู้สึกร่วมและได้รับสิ่งที่ลูกค้าต้องการสื่อสารออกไปด้วยพร้อมกัน”

อย่างไรก็ตามเขาไม่ลืมใส่ Insight ของเนื้อเรื่องลงไปในงานด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะในงานแบบโฆษณาหรือสารคดีก็ตาม ซึ่งเป็นหมัดฮุกที่จะมาช่วยแก้ไขปัญหาที่ผู้ชมมีร่วมกันนี้ได้ โดยเมื่อเขาและทีมได้นำเสนอไอเดียที่ตัวเองเชื่อและชอบให้กับลูกค้า AminoMOF ก็กลายเป็นว่าสามารถคลิกกันได้อย่างลงตัว ถึงแม้จะไม่ใช่แนวทางตั้งต้นที่วางไว้แต่ด้วยความที่ทาง AminoMOF เปิดกว้างและความไว้ใจเชื่อใจที่มีต่อผู้กำกับและทีมงาน จึงทำให้ไอเดียนี้ของเขาเกิดขึ้นจริง

“หนังตลกหน้าเดด หนังอาร์ตลากซ็อตยาวๆ สำหรับผมมันคือวิธีที่เลือกนำมาใช้ให้เหมาะกับหนัง ผู้กำกับต้องตอบกับตัวเองให้ได้ว่าเราเชื่อในสิ่งที่ทำอยู่รึเปล่า สำหรับโฆษณาต้องตอบโจทย์ในด้านการขาย ส่วนสารคดีต้องทำให้เกิดความรู้สึกรักหรือสร้างแรงบันดาลใจ”

 

เรียนรู้สิ่งที่ไม่อยากทำจากตำแหน่งผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณา
สิ่งที่พี่เอ๋ย - วินัยได้ค้นพบจากการกำกับโฆษณาคือการเรียนรู้สิ่งที่ตัวเองชอบและไม่ชอบทำ จนได้มาบรรจบพบเจอกับงานสารคดีซึ่งเข้ากับบุคลิกของเขามากกว่า แต่ภายใต้ตำแหน่งผู้กำกับโฆษณาก็ทำให้เขาได้เก็บเกี่ยวและเรียนรู้นำไปใช้ในเส้นทางสายสารคดีต่อหลังจากนั้น 

“การอ่านสถานการณ์ การเป็นศูนย์กลางของกระบวนการผลิต ภาษาการเล่าเรื่องที่เป็นงานศิลปะแบบโฆษณา และการเก็บความเรียบร้อย รวมถึงสุนทรียศาสตร์ในกระบวนการคิดงานต่างๆ เหล่านี้ได้เอามาช่วยงานสารคดีที่ต้องการสื่อสารความจริง แต่เสริมด้วยรายละเอียดทำให้ภาพออกมาได้งดงามเช่นกัน”

ในแง่ของความสัมพันธ์และการสร้างเครือข่ายจากคนในวงการโฆษณาที่มีความสนใจในงานสารคดีเหมือนกันนี้ก็ถือเป็นผลพลอยได้ที่เติบโตและงอกเงยขึ้นระหว่างทางให้กับลุงเอ๋ย - วินัย รวมถึงกลวิธีการถ่ายทอดเพื่อช่วยให้เห็นภาพและเป้าหมายเดียวกันซึ่งเป็นสิ่งที่นำมาใช้กับงานสายสารคดีได้เป็นอย่างดี

 

การทวนกระแสช่วยให้รู้ตัว
เมื่อถามถึงอายุยิ่งตัวเลขมากขึ้น เรามักคิดไปก่อนว่าสุขภาพจะถดถอยลง แต่ความเป็นจริงคนอายุยังน้อยจำนวนมากโดยเฉพาะคนเบื้องหลังในกองถ่ายทำภาพยนตร์โฆษณาเองก็มักละเลยกับการดูแลสุขภาพ จะด้วยความชะล่าใจหรือยังไม่เห็นความสำคัญของการออกกำลังกายก็ตาม ทำให้ใช้ร่างกายอย่างหนัก จนบางครั้งร่างกายก็ส่งเสียงเตือนกลับมาเป็นอาการเจ็บป่วยเพื่อทำให้เราต้องกลับมาทบทวนการใช้ชีวิตประจำวันกันอีกครั้ง

“น้องๆ รุ่นใหม่อาจไม่ค่อยออกกำลังกายเพราะใช้วัยมาสู้ ผมใช้หลักการทวนกระแสที่ได้มาจากคำสอนของพระอาจารย์ที่เคารพ ซึ่งช่วยให้รู้ว่าสิ่งใดเป็นกิเลส สิ่งใดเป็นทุกข์ ถ้าเราไหลไปเรื่อยๆ ก็จะไม่รู้ได้ว่าสิ่งใดที่เป็นความหมายของการมีชีวิต”

ปลุกไฟ สร้างความฟิต ชวนนักโฆษณาวัยเก๋ามาคิดไอเดียเพื่อผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงวัย

“การรักสุขภาพก็ถือเป็นการทวนกระแสของโลกแบบทุนนิยม ซึ่งการหาสิ่งที่ดีให้กับตัวเองได้เจอ ทำแล้วดีเหมาะสมกับร่างกายของเราเอง แล้วทำแบบนั้นให้ต่อเนื่อง จริงๆ ก็คือตามหลักธรรมชาติในการหาสมดุลนั่นเอง”

 

เราสุขภาพดีไปเพื่อ…
“ถ้าให้พูดตรงๆ ผมดูแลสุขภาพก็เพื่อตัวเอง นั่นเป็นความเห็นแก่ตัวไม่ได้ทำเพื่อใคร การออกกำลังกายที่ทำอยู่เป็นประจำก็เพื่อทำให้สุขภาพดี พอเริ่มแล้วมันติดเป็นนิสัย อยากฟิตและแข็งแรงเพื่อให้พร้อมอยู่เสมอ รวมถึงการได้เอาเหงื่อออกจากร่างกายก็ช่วยเรื่องการไหลเวียนของระบบต่างๆ เช่นกัน”

 

สิ่งที่ฝากถึงคนรุ่นใหม่ในวงการโฆษณา

“มีสองเรื่องที่อยากฝาก ใช้ได้กับทั้งเด็กและผู้ใหญ่คือเด็กทำตัวเป็นผู้ใหญ่ได้ แต่ผู้ใหญ่ไม่ควรทำตัวเด็ก สำหรับคนรุ่นใหม่ที่เข้ามาทำงานในสายนี้อยากให้ดูแลตัวเอง คิดให้ละเอียดและทำสิ่งที่เป็นประโยชน์”