มาร์กาเร็ต แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ: ผู้นำหญิงเหล็กที่มีทั้งความสำเร็จและล้มเหลว

มาร์กาเร็ต แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ: ผู้นำหญิงเหล็กที่มีทั้งความสำเร็จและล้มเหลว

มาร์กาเร็ต แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ: ผู้นำหญิงเหล็กที่มีทั้งความสำเร็จและล้มเหลว

“เราต้องสร้างสังคมที่ผู้คนมีอิสระในการเลือกคิด เลือกทำ รวมถึงอิสระที่จะได้พบกับความล้มเหลว”

หากย้อนกลับไปยังยุคที่ผู้หญิงไม่มีบทบาททางโลกการเมือง คงไม่มีใครคาดคิดว่า มาร์กาเร็ต แทตเชอร์ (Margaret Thatcher) นักการเมืองจากพรรคอนุรักษนิยมจะสามารถขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกแห่งสหราชอาณาจักรได้ ทว่าเธอก็สามารถทำสิ่งที่ยากจะเป็นไปได้ให้เกิดขึ้นได้จริง ๆ ซ้ำยังเป็นนายกรัฐมนตรีที่ชนะการเลือกตั้งถึง 3 สมัย ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในศตวรรษที่ 19-20 เมื่อย้อนดูต้นสายตระกูลก็ต้องพบว่า มาร์กาเร็ต แทตเชอร์ ไม่ได้เป็นลูกคุณหนูจากตระกูลดัง หรือมีครอบครัวที่พัวพันกับการเมืองอังกฤษเข้มข้น เธอเป็นลูกสาวเจ้าของร้านขายของชำในเมืองแกรนแทม มณฑลลิงคอล์นไชร์ พ่อของเธอทำงานหลายอย่าง ทั้งเจ้าของร้าน ผู้ว่าราชการจังหวัด ควบกับตำแหน่งนักเทศน์ของนิกายเมโทดิสต์ มาร์กาเร็ตกับพี่สาวชื่อมูเรียลเติบโตมาในครอบครัวที่ค่อนข้างเคร่งศาสนา   พวกเธอถูกส่งไปเรียนในโรงเรียนสำหรับเด็กผู้หญิงจนจบมัธยมฯ และมีโอกาสได้เลือกสิ่งที่ตัวเองอยากเรียน ซึ่งหญิงสาวที่ควรจะเรียนโรงเรียนการเรือนหรือบัญชีตามสมัยนิยม แต่มาร์กาเร็ตกลับเลือกเรียนเอกผลิกศาสตร์ สาขาวิชาเคมี ควบคู่กับการทำกิจกรรมในรั้วมหาวิทยาลัยจนได้เป็นประธานสมาคมอนุรักษนิยมแห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดในปี 1946 ที่ในช่วงเวลานั้นมีผู้หญิงเพียงแค่ 3 คนเท่านั้นที่เคยรับตำแหน่งดังกล่าว [caption id="attachment_28471" align="aligncenter" width="1200"] มาร์กาเร็ต แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ: ผู้นำหญิงเหล็กที่มีทั้งความสำเร็จและล้มเหลว มาร์กาเร็ต แทตเชอร์ และ สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 ในซีรีส์ The Crown[/caption] มาร์กาเร็ตเรียนจบพร้อมกับคว้าเกียรตินิยม เข้าทำงานเป็นนักเคมีวิจัย เมื่อย้อนดูชีวิตตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยทำงาน ก็คงไม่มีใครคาดคิดอยู่ดีว่าเธอจะกลายเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งอังกฤษ เพราะเวลากว่า 20 กว่าปี ผู้หญิงคนนี้ก็ไม่มีท่าทีมีเหตุผลที่ทำให้กระโดดเข้าสู่โลกการเมืองเลยด้วยซ้ำ การเข้าสู่โลกการเมืองของมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ เกิดขึ้นในปี 1959 สตรีวัย 34 ปี ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแห่งฟินช์เลย์ อยู่ในคณะรัฐมนตรีเงาซึ่งคือกลุ่มการเมืองอาวุโสที่ทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงให้กับฝ่ายค้าน วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลและรัฐมนตรีตัวจริง ตามระบบการเมืองอังกฤษแบบเวสต์มินสเตอร์ โดยรัฐมนตรีเงาจะทำงานควบคู่อยู่กับรัฐมนตรีตัวจริง จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก้าวสู่คณะรัฐมนตรีเงา ในตอนนี้มาร์กาเร็ตได้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการและวิทยาศาสตร์ (ค.ศ. 1970-1974) โดยวีรกรรมเด่นของเธอคือนโยบายเลิกแจกนมให้กับเด็ก ๆ ในโรงเรียนจนถูกเรียกว่า ‘ยัยแทตเชอร์จอมฉกนม’ (Thatcher the mike snatcher) [gallery size="large" columns="2" link="none" ids="28467,28473"] ปัญหาเรื่องการขโมยนมของเธอถูกแก้ต่างในภายหลัง เมื่อโรงเรียนมัธยมฯ ต้นสายอาชีพเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นเท่าตัวช่วงที่เธอดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เด็ก ๆ ที่มีความถนัดทางสายอาชีพจำนวนมากสามารถเรียนในโรงเรียนใกล้ ๆ บ้านได้โดยไม่ต้องเดินทางข้ามเมืองเพื่อการศึกษา อันที่จริงนโยบายโรงเรียนสายอาชีพเกิดขึ้นโดยพรรคแรงงาน แต่ตัวของพรรคหรือรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการและวิทยาศาสตร์คนก่อน ๆ ยังไม่สามารถเพิ่มจำนวนโรงเรียนได้ตามที่เคยร่างไว้ ซึ่งมาร์กาเร็ตสามารถทำได้ ประเด็นเรื่องการขโมยนมของเธอจึงตกไป เพราะเธอตัดงบที่จำเป็นน้อยที่สุดเพื่อสร้างโรงเรียน เธอเริ่มเป็นที่สนใจทั้งในคนการเมืองด้วยกัน รวมถึงประชาชนคนทั่วไปมากขึ้น มาร์กาเร็ตก้าวสู่การเป็นหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมในปี 1977 แทน เอ็ดเวิร์ด ฮีท สร้างปรากฏการณ์ครั้งใหญ่ให้กับการเมืองอังกฤษเพราะไม่เคยมีสตรีคนไหนได้เป็นหัวหน้าพรรคมาก่อน ซ้ำพรรคที่ว่ายังเป็นพรรคอนุรักษนิยมอีกต่างหาก การสร้างแรงสะเทือนทางการเมืองของเธอยังไม่หยุดอยู่แค่นี้ หลังจากเป็นผู้นำพรรคอนุรักษนิยมได้ 2 ปี การเลือกตั้งปี 1979 ก็มาถึง มาร์กาเร็ตเป็นตัวแทนพรรคลงสมัครชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งอังกฤษแทนเอ็ดเวิร์ด ฮีท ที่หลังพ้นวาระผู้นำลงสมัครชิงเก้าอี้นายกฯ แต่ก็แพ้ทุกครั้ง นโยบายของเธอค่อนข้างเป็นไปตามหลักการเดิมของพรรค เน้นใช้นโยบายที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ประกาศกร้าวจะควบคุมสหภาพแรงงานและลดภาษีเงินได้ มาร์กาเร็ต แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ: ผู้นำหญิงเหล็กที่มีทั้งความสำเร็จและล้มเหลว ระหว่างหาเสียงมาร์กาเร็ตยืนยันที่จะสนับสนุนกิจการของเอกชนมากขึ้น ในเวลาเดียวกันก็จะผ่อนคลายความตึงเครียดเศรษฐกิจในประเทศด้วยการคืนธุรกิจ อุตสาหกรรม สาธารณูปโภค ที่รัฐบาลก่อน ๆ เคยยึดมาคืนให้กับเอกชนด้วยการกระจายหุ้น สิ่งสำคัญที่เธอบอกทิ้งท้ายในตอนหาเสียงคือเธอจะให้ความสำคัญกับด้านการศึกษาและสาธารณสุขไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเรื่องอื่น นโยบายของเธอไม่เป็นที่ถูกอกถูกใจเหล่าชนชั้นแรงงาน ทว่าอนุรักษนิยมจ๋า แต่พร้อมสร้างความคึกคัก เปิดกว้างให้กับตลาดเสรี กลับถูกใจเหล่ามนุษย์เงินเดือนและเจ้าของกิจการ เมื่อวันเลือกตั้งมาถึง มาร์กาเร็ต แทตเชอร์ ได้รับคะแนนโหวตมาแรงกว่าชายคนอื่นจากพรรคอื่น คว้าเก้าอี้นายกรัฐมนตรีไปครอง กลายเป็นสตรีคนแรกในประวัติศาสตร์อังกฤษและยุโรปที่ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อมาร์กาเร็ตได้เป็นนายกรัฐมนตรี เธอทำตามคำมั่นช่วงหาเสียงที่ให้ไว้กับประชาชน รัฐบาลประกาศลดภาษี กระจายธุรกิจคืนภาคเอกชน เปิดตลาดเสรีคู่กับการรัดเข็มขัดเศรษฐกิจอังกฤษ การทำงานของรัฐบาลภายใต้การนำของเธอสามารถลดอัตราเงินเฟ้อของประเทศได้จริง ๆ แต่ในเวลาเดียวกันปัญหาการว่างงานของชาวอังกฤษก็ยังคงพุ่งสูงขึ้นอยู่ดี ซ้ำเงินเฟ้อที่ลดลงก็มีวี่แววจะพุ่งสูงขึ้นได้ทุกเมื่อ มาร์กาเร็ต แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ: ผู้นำหญิงเหล็กที่มีทั้งความสำเร็จและล้มเหลว แม้จะโดนโจมตีหนักเรื่องปัญหาตลาดแรงงาน ควบคู่กับความคิดหัวโบราณที่ยังคงอยู่กับนักการเมืองชายจำนวนมาก นายกฯ หญิงต้องเจอกับการวิพากษ์วิจารณ์รุนแรง อย่างไรก็ตาม เธอสามารถควบคุมอารมณ์ได้อย่างดี ซ้ำยังสามารถแสดงวุฒิภาวะของผู้นำได้อย่างน่าประทับใจอยู่เสมอ เวลาขึ้นกล่าวคำปราศรัย เธอมั่นใจและหนักแน่น วาทศิลป์ของเธอสร้างความนิยมให้ตัวเองและพรรค จนนโยบายทางการเมืองของเธอถูกเรียกว่า ลัทธิแทตเชอร์ (Thatcherism) แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้จริง ๆ ว่าในช่วงทศวรรษ 1980 เธอกลายเป็นนักการเมืองที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งของอังกฤษไปเสียแล้ว เวลาเดียวกับที่มาร์กาเร็ตทำหน้าที่นายกรัฐมนตรี ประเทศอาร์เจนตินาเกิดการยึดอำนาจโดยทหาร จนเกิดเรื่องอื้อฉาวเรื่องการบังคับสูญหาย การสร้างค่ายกักกันคนเห็นต่าง การใช้อำนาจโดยมิชอบของรัฐบาล ซึ่งความสำเร็จในการยึดอำนาจ การแทรกแซงทางการเมือง และการสืบทอดอำนาจจากทหารสู่ทหาร สร้างความมั่นใจให้เหล่านายพลที่อาร์เจนตินา ในปี 1982 อาร์เจนตินาส่งกองกำลังเข้ายึดหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ที่เป็นหนึ่งในอาณานิคมของอังกฤษ ประกาศสงครามกับสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการ มาร์กาเร็ตต้องเร่งจัดตั้งคณะรัฐมนตรีสงครามเพื่อวางแผนโต้ตอบการกระทำของอาร์เจนตินา มาร์กาเร็ต แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ: ผู้นำหญิงเหล็กที่มีทั้งความสำเร็จและล้มเหลว สงครามหมู่เกาะฟอล์กแลนด์กินเวลาราว 3 เดือน ในที่สุดชัยชนะเป็นของสหราชอาณาจักร นายกฯ หญิงแห่งอังกฤษถูกโลกเรียกว่า ‘สตรีเหล็ก’ ความพ่ายแพ้ครั้งนี้ส่งผลให้ทหารอาร์เจนตินาเสียชีวิตไป 649 คน และกองทัพได้ทำลายแสนยานุภาพทางทหารและความน่าเชื่อถือของตัวเองทิ้งอย่างไม่มีชิ้นดี นายพลผู้ก่อสงครามโดนคดีเรื่องสิทธิมนุษยชนพ่วงการปฏิบัติงานล้มเหลว แถมประเทศผู้แพ้ยังต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามแก่อังกฤษอีก การคว้าชัยเหนือรัฐบาลเผด็จการในสงครามฟอล์กแลนด์ 1982 ถือเป็นถ้วยรางวัลใหญ่สำหรับการรับมือกับภัยคุกคามจากภายนอกประเทศที่ยากจะมีใครคัดค้าน การลงสมัครเลือกตั้งในปี 1983 เธอได้รับคะแนนโหวตท่วมท้นจากชาวอังกฤษอีกครั้ง ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 เมื่อกลับมาทำงานต่อจากสมัยแรก มาร์กาเร็ตต้องเจอกับปัญหาเรื่องแรงงาน เมื่อคนงานเหมืองจำนวนมากนัดกันหยุดงานประท้วงรัฐบาล ซึ่งเธอได้โต้ตอบด้วยการปฏิเสธทุกข้อเรียกร้อง การตัดสินใจเด็ดขาดของเธอทำให้การประท้วงของเหล่าแรงงานล้มเหลว นอกจากนี้เธอยังรอดจากการลอบสังหารปี 1984 โดยกลุ่ม IRA หรือ กองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์มาได้อย่างหวุดหวิด หลังจากนั้นเธอออกงานสังคมและทำงานต่อโดยไม่ได้แสดงอาการวิตกกังวลใด ๆ ซึ่งความเด็ดเดี่ยวออกสื่อของเธอสร้างความประทับใจให้กับชาวอังกฤษไม่น้อย มาร์กาเร็ต แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ: ผู้นำหญิงเหล็กที่มีทั้งความสำเร็จและล้มเหลว

“ฉันชอบการถกเถียง ฉันไม่ต้องการคนที่พยักหน้าเห็นด้วยกับฉันในทุกเรื่อง”

ทางด้านนโยบายต่างประเทศ ในฐานะที่อังกฤษเป็นประเทศมหาอำนาจที่มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ มาร์กาเร็ตได้สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน แห่งสหรัฐอเมริกา ที่ค่อนข้างจะเป็นกังวลกับการแผ่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ขณะเดียวกันนายกฯ หญิงแห่งอังกฤษก็ให้การต้อนรับบุคคลสำคัญของสหภาพโซเวียตอย่าง มิคาอิล กอร์บาชอฟ เป็นอย่างดีเช่นเดียวกัน เธอเป็นผู้นำชาติตะวันตกคนแรกที่ผูกมิตรกับเขา การสร้างสัมพันธ์ได้สร้างความประทับใจให้โซเวียตจนเรียกเธอว่า ‘สตรีเหล็ก’ (The Iron Lady) เหมือนกับที่ชาวอังกฤษเรียกเธอหลังชนะในสงครามฟอล์กแลนด์ 1982 ที่ทำให้ความตึงเครียดระหว่างฝั่งประชาธิปไตยและฝั่งคอมมิวนิสต์ผ่อนคลายลงบ้าง

“ประเทศอังกฤษจำเป็นต้องมีผู้หญิงที่แข็งแกร่งดั่งเหล็ก”

การเลือกตั้งวนกลับมาอีกครั้งในปี 1987 มาร์กาเร็ตก็ยังคงลงสมัครเป็นนายกรัฐมนตรีดังเดิม โดยคราวนี้ได้ชูนโยบายภาษีส่วนบุคคลและยืนกรานที่จะไม่ร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจกับ EC (ต่อมาคือ EU หรือสหภาพยุโรป) ผลคือเธอชนะการเลือกตั้งครั้งที่ 3 กลายเป็นนายกรัฐมนตรีสามสมัยที่ดำรงตำแหน่งยาวนานมากที่สุดนับตั้งแต่ลอร์ดซอลส์บรี ทว่าการทำงานในตำแหน่งผู้นำรัฐบาลสมัยที่สามของเธอต้องเจอกับปัญหาใหญ่ เมื่อนโยบายการอยู่อย่างโดดเดี่ยวของเธอถูกคัดค้านจากสมาชิกพรรคเดียวกัน ปัญหาความขัดแข้งในพรรคอนุรักษนิยมมีท่าทีบานปลายไม่จบง่าย ๆ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายมาร์กาเร็ตเองหรือนักการเมืองท่านอื่นที่อยากให้อังกฤษมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศอื่น ๆ ยุโรปก็ยืนยันว่ามาร์กาเร็ตจะต้องเปลี่ยนนโยบายในเรื่องนี้ จนทำให้ในที่สุดพรรคอนุรักษนิยมเกิดการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคคนใหม่ ซึ่งผลคะแนนคือ 204 ต่อ 152 เสียง มาร์กาเร็ตมีคะแนนมากกว่านายไมเคิล เฮเซลไทน์ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม แต่ถึงอย่างนั้นเธอจะต้องมีคะแนนเสียงข้างมากเกิน 15 เปอร์เซ็นต์ จึงทำให้ต้องลงเลือกตั้งรอบสอง มาร์กาเร็ต แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ: ผู้นำหญิงเหล็กที่มีทั้งความสำเร็จและล้มเหลว ระหว่างที่พวกเขากำลังต่อสู้กันทางอุดมการณ์ ปัญหาบ้านเมืองก็หยุดชะงักตามไปด้วย วันที่ 22 พฤศจิกายน 1990 มาร์กาเร็ตจึงตัดสินใจไม่ลงเลือกตั้งหัวหน้าพรรครอบสอง ประกาศลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมและนายกรัฐมนตรี แม้การก้าวลงจากตำแหน่งของเธอไม่ได้สวยงดงามอย่างที่หวัง แต่มาร์กาเร็ต แทตเชอร์ ได้พิสูจน์ตัวเองในฐานะการเป็นผู้นำอังกฤษที่ชนะใจประชาชนได้มากถึง 3 ครั้ง ยืดอดรับทั้งเสียงชมเชยและคำด่าทอ เมื่อเกิดปัญหาเธอก็ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งเพื่อให้ประเทศได้ก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่ติดขัด ภายหลังเธอได้รับบรรดาศักดิ์ชนชั้นบารอน เป็นบารอนเนสแทตเชอร์แห่งเมืองเคสตีเวน ซึ่งเธอก็ได้เดินสายกล่าวคำปราศรัย เป็นที่ปรึกษา ทำงานด้านสังคมต่อจนกระทั่งปี 2002 ที่ต้องหยุดพักไปเพราะเธอมีอาการเจ็บป่วยจากความชราด้วยอาการสมองเสื่อม ในปี 2008 โลกเกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่เรียกกันว่า วิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ (Hamburger Crisis) รัฐบาลอังกฤษต้องเร่งหาวิธีการมารับมือสภาพเศรษฐกิจที่พร้อมจะดิ่งลงเหวได้ทุกเมื่อ ณ การประชุมสภามีมติเป็นเอกฉันท์ให้รื้อนโยบายเศรษฐกิจในช่วงที่มาร์กาเร็ตเป็นนายกฯ มาปรับใช้เพื่อรับมือกับปัญหาเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ อย่างไรก็ตาม อดีตนายกรัฐมนตรีหญิงแห่งอังกฤษได้จากโลกนี้ไปเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2013 ด้วยวัย 87 ปี จากอาการเส้นเลือดในสมองอุดตัน แต่ถึงอย่างนั้นตำนานสตรีเหล็กแห่งอังกฤษก็จะยังคงถูกกล่าวขานตลอดไป มาร์กาเร็ต แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ: ผู้นำหญิงเหล็กที่มีทั้งความสำเร็จและล้มเหลว

ที่ไหนมีความขัดแย้ง ที่นั่นต้องมีความปรองดอง

ที่ไหนมีความผิดพลาด แปลว่าที่นั่นมีความจริง

ที่ไหนไม่มีศรัทธา เราก็จะสร้างศรัทธา

ที่ไหนมีความสิ้นหวัง เราจะมอบความหวังให้พวกเขา

  ที่มา https://www.nytimes.com/2013/04/09/world/europe/former-prime-minister-margaret-thatcher-of-britain-has-died.html https://www.britannica.com/biography/Margaret-Thatcher https://www.biography.com/political-figure/margaret-thatcher https://www.theguardian.com/politics/2013/apr/08/margaret-thatcher-political-phenomenon-dies https://www.theguardian.com/politics/2013/apr/08/margaret-thatcher-hugo-young   เรื่อง: ตรีนุช อิงคุทานนท์