16 พ.ค. 2562 | 21:40 น.
พรรคประชาธิปัตย์ พรรคการเมืองที่แม้จะก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2489 แต่ในช่วงระยะเวลา 70 กว่าปี มีหัวหน้าพรรคมา 8 คนเท่านั้น ซึ่งหัวหน้าพรรคคนที่ 8 ก็เพิ่งจะรับตำแหน่งไปเมื่อกลางเดือนพฤษภาคม ปี 2562 เก้าอี้ผู้นำพรรคคนที่ 8 ตกเป็นของ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ผู้ทำหน้าที่รักษาการหัวหน้าพรรคฯ ซึ่งถือเป็นตัวเต็งจ๋ามาตั้งแต่ต้น ทันทีที่ “อดีตนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ลาออกจากแม่ทัพประชาธิปัตย์ หลังจากอยู่ในตำแหน่งมา 14 ปี เป็นการทำตามสัญญา (ที่ไม่ต้องขอเวลานานนัก) หากพรรคได้เก้าอี้ ส.ส. ต่ำกว่า 100 ที่นั่ง ในการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม ปี 2562 “จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์” วัย 63 ปี เกิดวันที่ 15 มีนาคม ปี 2499 ชื่อเล่นว่า “อู๊ด” แต่นิกเนมที่สื่อมวลชนเรียกกันว่า “อู๊ดด้า” นั้น เนื่องจากในสมัยเรียนมีเพื่อนร่วมชั้นที่ชื่อเล่นว่า “อู๊ด” เหมือนกัน เพื่อนคนนั้นเลยเปลี่ยนเป็น “อู๊ดดี้” ส่วนตัวเองก็เป็น “อู๊ดด้า” และเมื่อได้มาเป็นคอลัมนิสต์เขียนการ์ตูนล้อการเมืองให้กับหนังสือพิมพ์หลายฉบับ ก็ใช้ชื่อเล่นนี้มาเป็นนามปากกาด้วยเช่นกัน “เดอะอู๊ดด้า” ชาวจังหวัดพังงา เป็นลูกชายคนโตในจำนวนพี่น้อง 9 คน จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนศิริราษฎร์วิทยา จ.พังงา โดยสอบได้เป็นที่ 1 ของจังหวัด จบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (เพื่อนรุ่นเดียวกับเขาคือ รศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ “คนเดือนตุลา” นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต สาขาบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อด้วยระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะและการวางแผน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า ) ด้านชีวิตส่วนตัว เขาสมรสกับ “อรอนงค์ บุญดิเรก” มีบุตรสาว 2 คน คือ “แพร - แพรวแพร ลักษณวิศิษฏ์” และ “เอ๊ะ - อรจรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์” เวลาว่าง จุรินทร์ชอบท่องเที่ยวและรักการวาดรูปอย่างมาก เคยนำภาพวาดฝีมือตัวเองมาพิมพ์เป็นการ์ดอวยพรในเทศกาลสำคัญ ๆ อย่างวันปีใหม่ วันสงกรานต์ และเมื่อโลกเปลี่ยนไป เจ้าตัวก็หันมาวาดรูปบนไอแพด และนอกจากจะวาดการ์ตูนแล้ว จุรินทร์ยังเป็นนักเขียนหนังสือ ทั้งหนังสือสารคดีท่องเที่ยว หนังสือถ่ายทอดความรู้เรื่องต่าง ๆ ที่ได้จากการทำหน้าที่ทางการเมือง อีกด้วย สำหรับการเข้าสู่งานทางการเมือง เจ้าตัวเล่าว่า สนใจพรรคประชาธิปัตย์มาตั้งแต่ตอนเรียนอยู่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมาสมัครเป็น “ยุวประชาธิปัตย์” และยังเป็นคนออกแบบโลโก้ “YD” ที่ย่อมาจาก “Young Democrat” กระทั่งปี 2524 เขามีตำแหน่งเป็นประธานสาขาพรรค จ.พังงา และยังได้รับเลือกให้เป็นกรรมการบริหารพรรค สัดส่วนตัวแทนสาขาพรรค ยุคที่“ท่านพิชัย รัตตกุล” เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จนมาถึงปี 2529 เขาได้รับโอกาสครั้งยิ่งใหญ่ของชีวิต จาก 2 บุคคลสำคัญของประชาธิปัตย์ คือ “ชวน หลีกภัย - บัญญัติ บรรทัดฐาน” ที่ร่วมสนับสนุนและผลักดันให้ศิษย์สิงห์แดงผู้นี้ชนะโหวตภายในพรรคเพื่อชี้ขาดการส่งคนสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. จ.พังงา และในการเลือกตั้ง ส.ส. ปีนั้นเอง เขาก็ยังสามารถเอาชนะคู่แข่งคนสำคัญอย่าง “บรม ตันเถียร” นักการเมืองชื่อดังของพังงา และชนะเลือกตั้งเป็น ส.ส. เรื่อยมา รวม 10 สมัย (นายจุรินทร์มีน้องชายคนหนึ่งคือ นายจุฤทธิ์ ลักษณวิศิษฏ์ อดีต ส.ส. พังงา พรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้ง “มีนา’ 62” พังงาลดเขตเลือกตั้งจาก 2 เขต เหลือ 1 เขต พรรคตัดสินใจส่ง นางกันตวรรณ ตันเถียร กุลจรรยาวิวัฒน์ บุตรสาวของนายบรมลงสมัครแทน และได้รับเลือกเป็น ส.ส.) งานในสภาผู้แทนฯ ของนายจุรินทร์ ถือว่าฉายแสงมาตั้งแต่เป็น ส.ส. สมัยแรก ปี 2529 เขาได้รับเลือกจากสื่อมวลชนสายรัฐสภาให้เป็น “ส.ส. ดาวรุ่ง” และช่วงปี 2530 เขายังทำหน้าที่ ส.ส. ในฐานะกรรมาธิการการวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สภาผู้แทนราษฎร ร่วมดำเนินการทวงคืน “ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์” จากประเทศสหรัฐอเมริกา กลับเมืองไทยเป็นผลสำเร็จ ส่วนงานหน้าที่สำคัญ ๆ ในสภา นายจุรินทร์เคยดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล และประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน ขณะที่ลีลาการอภิปรายในสภาก็ไม่เป็นรองใคร มีฝีปากกล้า ประเด็นเฉียบแหลม วาทะคมคาย ทำให้มักได้รับหน้าที่ให้ร่วมทีมขุนพลในการอภิปรายนัดสำคัญ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีในรัฐบาลหลาย ๆ ชุด ครั้งหนึ่ง เกิดเหตุการณ์ที่รัฐมนตรีคนหนึ่งในยุครัฐบาล “ทักษิณ ชินวัตร” แสดงอาการไม่พอใจขั้นสุด ถึงกับควงเพื่อน ส.ส. ตามล่าตัวนายจุรินทร์นอกห้องประชุมสภา หลังถูกนายจุรินทร์อภิปรายซักฟอกอย่างดุเดือด แต่โชคดีที่เหล่า ส.ส. ประชาธิปัตย์ช่วยกันพานายจุรินทร์ออกจากสภาไปได้อย่างปลอดภัย [caption id="attachment_7441" align="aligncenter" width="640"]