ดร.นพ.สกล สิงหะ แพทย์ที่วางหัวใจและจิตวิญญาณไว้กับงาน Palliative Care

ดร.นพ.สกล สิงหะ แพทย์ที่วางหัวใจและจิตวิญญาณไว้กับงาน Palliative Care

“...เพราะการตายดีต้องมีการเตรียมตัวในหลายมิติ ทุกคนควรจะเริ่ม Palliative Care ก่อนตายอย่างน้อยที่สุด 3 เดือน ...ถ้าเรามีชีวิตในแบบที่ตระหนักถึงการตายดี มีเป้าหมายว่าจะอยู่อย่างไรเพื่อให้ตายดี เราจะใช้ชีวิตอีกแบบหนึ่ง นี่เป็นเรื่องสุขภาวะทางปัญญา”

จุดมุ่งหมายสูงสุดของการรักษาโรค นั่นคือ รักษาเพื่อให้หายจากโรค 
...แต่ถ้าคนไข้เป็นโรคที่รักษาไม่หาย หรือไม่มีวันหายล่ะ จะดูแลอย่างไร...

“Palliative Care เป็นการดูแลระยะประคับประคองสำหรับคนไข้กลุ่มจำเพาะที่ถูกวินิจฉัยว่าถึงระยะที่ควรจะรักษาแบบปรับเป้าหมาย โดยหมอจะต้องร่วมกำหนดเป้าหมายการรักษากับผู้ป่วยและครอบครัวให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น ซึ่งถ้าหมอไม่เตรียมให้ดีก็อาจมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความเสียหายกับคนไข้ได้”

ดร.นพ.สกล สิงหะ อาจารย์แพทย์ที่สนใจมิติด้านจิตวิญญาณทางการแพทย์แห่งหน่วยชีวันตาภิบาล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) อธิบายถึงคำว่า “Palliative Care – การดูแลระยะประคับประคอง” ซึ่งมีความสำคัญมากกับชีวิตของทุกคน 

...แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่รู้จัก หรือไม่แม้แต่จะเคยได้ยินด้วยซ้ำ...

การดูแลแบบประคับประคองไม่ใช่เป็นเพียงการดูแลผู้ป่วยในช่วงใกล้เสียชีวิต แต่หมายรวมถึงการดูแลตั้งแต่แรกวินิจฉัยว่าเป็นโรคหรือภาวะที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ร่างกายไม่ตอบสนองต่อการรักษา ซึ่งผู้ป่วยยังอาจอยู่ได้นานหลายปีก่อนจะเสียชีวิต โดยจุดประสงค์หลักก็คือ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต บรรเทาความทุกข์ทั้งทางกายและใจตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของการเจ็บป่วยจนกระทั่งเสียชีวิต โดยครอบคลุมถึงครอบครัวของผู้ป่วยด้วย ดร.นพ.สกล สิงหะ แพทย์ที่วางหัวใจและจิตวิญญาณไว้กับงาน Palliative Care

“สิ่งสำคัญที่สุดของ Palliative Care คือการตระหนักรู้ว่าเราไม่ได้มีเวลาเหลือเฟือ ซึ่งคีย์เวิร์ด คือ คนไข้ต้องรู้ตัวว่าเวลาเหลือน้อย เขาจะได้เริ่มจัดลำดับความสำคัญใหม่ในเรื่องที่ต้องทำ เพราะปกติเราจะวางแผนโดยคิดไว้ว่าเรามีเวลาเหลือเฟือ เช่น เราวางแผนไว้ว่าอาทิตย์หน้าจะทำอะไรบ้าง แต่ถ้าเย็นนี้มีข่าวว่าอุกกาบาตจะชนโลก ทั้งโลกตายหมด ผมการันตีได้ว่าแผนเปลี่ยนทุกคน”

Palliative Care ที่ดีคือต้องมีเวลา เพราะการตายดีต้องมีการเตรียมตัวในหลายมิติ ทุกคนควรจะเริ่ม Palliative Care ก่อนตายอย่างน้อยที่สุด 3 เดือน แต่ตอนนี้บ้านเราทั่วไปประมาณ 2 สัปดาห์ ซึ่งส่วนใหญ่ทำอะไรไม่ได้มาก ถ้าเรามีชีวิตในแบบที่ตระหนักถึงการตายดี มีเป้าหมายว่าจะอยู่อย่างไรเพื่อให้ตายดี เราจะใช้ชีวิตอีกแบบหนึ่ง นี่เป็นเรื่องสุขภาวะทางปัญญา” ดร.นพ.สกล สิงหะ แพทย์ที่วางหัวใจและจิตวิญญาณไว้กับงาน Palliative Care

นอกจากการสอนเรื่อง Palliative Care ให้แก่นักศึกษาแพทย์แล้ว อาจารย์หมอสกลยังมีบทบาทสำคัญในการเป็นคณะกรรมการร่างศัพท์บัญญัตินิยามเชิงปฏิบัติการด้านนี้ของประเทศไทยด้วย

ดร.นพ.สกล สิงหะ แพทย์ที่วางหัวใจและจิตวิญญาณไว้กับงาน Palliative Care อาจารย์หมอแบ่งงาน Palliative Care เป็น 3 ระดับ คือ

ระดับที่ 1 Palliative Care Approach คือการบรรจุเรื่องนี้ไว้ในหลักสูตรการสอนการฝึกอบรมทั้งแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ทุกคนต้องสามารถทำได้ 

ระดับที่ 2 Palliative Care Service Unit คือการวางรากฐานโครงสร้างเชิงระบบ ปัจจุบันประเทศไทยได้กำหนดให้โรงพยาบาลตั้งแต่โรงพยาบาลมะเร็งขึ้นไปต้องมีหน่วย Palliative Care 

ระดับที่ 3 Palliative Care Training Center คือสถาบันหรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการสอน เช่นที่หน่วยชีวันตาภิบาลกำลังทำและพัฒนาอยู่

ปัจจุบันหน่วยชีวันตาภิบาลเป็นต้นแบบของการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่หลายคนต้องมาศึกษาดูงาน โดยอาจารย์หมอเปรียบให้เห็นภาพชัดขึ้นว่าเป็น “หัวเมืองของงานด้าน Palliative Care” ซึ่งหากในอนาคตประชาชนเข้าสู่บริการนี้มากขึ้น ความต้องการของผู้คนก็จะเป็นแรงผลักดันให้หน่วยงานส่วนกลางมองเห็นความสำคัญและนำไปสู่การกำหนดเป็นนโยบายระดับประเทศในที่สุด 

ติดตามแนวคิดการทำงานพัฒนาหัวใจความเป็นมนุษย์ในระบบบริการสาธารณสุขของ ดร.นพ.สกล สิงหะ ในฐานะวิทยากรหัวข้อ “บนเส้นทางของผู้ดูแล – The Caregivers’ Path” ในงานประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายความรู้สุขภาวะทางปัญญา ครั้งที่ 1 “สุขภาวะทางปัญญา: สุขภาพ จิตวิญญาณ และสังคม” วันที่ 17-18 สิงหาคม 2566 ที่อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน Soul Connect Fest มหกรรมพบเพื่อนใจ) ติดตามรายละเอียดงานได้ที่เพจ Soul Connect Fest

#SoulConnectFest #จิตวิวัฒน์ #สุขภาวะทางปัญญา #สสส